การทดลองเลี้ยงปลาทะเลในระบบปิดน้ำหมุนเวียนที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง(NICA)
สถาบัน ได้ทดลองเลี้ยงปลาทะเลในระบบปิดน้ำหมุนเวียนมาไม่ต่ำกว่า 10  ปี  ที่ผ่านมานั้นได้พัฒนาการเลี้ยงปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากะพงขาว ปลาตะกรับ ปลาช่อนทะเล ปลากะรังหน้างอน ปลาหมอทะเล ปลากุดสลาด ทั้งในระบบอนุบาล การเลี้ยงปลาเนื้อ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ถึงแม้นต้นทุนตอนเริ่มแรกจะสูงกว่าการเลี้ยงในกะชัง  แต่การเลี้ยงในกะชังปัจจุบันเริ่มมีปัญหากันมาก  เลี้ยงปลากัน 8-9 เดือน น้ำเสียมาชั่วโมงเดียวขาดทุนทันที เรียกได้ว่าพลาดไม่ได้แม้นแต่ชั่วโมงเดียว
วัสดุกรองสำคัญอย่างไร วัสดุกรองเป็นที่เกาะของแบคทีเรียพวก nitrifrying ที่จะเปลี่ยนสารแอมโมเนียที่ได้จากการขับถ่ายของสัตว์น้ำ  กากของเสีย อาหาร ให้กลายเป็นปุ๋ยไนเตรทที่พืชน้ำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ประสิทธิภาพของวัสดุกรองขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวจำเพาะของวัสดุ วัสดุกรองโดยทั่วไปมีพื้นที่ผิวจำเพาะอยู่ในช่วง 100-500 ตรม./ลบ.ม. จากที่ได้ปรับปรุงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเดิมที่ NICA หลังจากปรับปรุงเสร็จ ก็เริ่มสำรวจว่าจะเอาอะไรมาเป็นฟิลเตอร์ดีโดยพิจารณาจากข้อมูลดังนี้คือ พื้นที่ผิววัสดุกรอง ถ้าวัสดุกรองมีพื้นที่ผิวมาก สามารถกรองของเสียได้ประสิทธิภาพดี ก็สามารถเลี้ยงปลาได้ความหนาแน่นสูงน้ำที่ไหลผ่านระบบกรองสามารถกระจายตัว ได้อย่างทั่วถึง ตะกอนไม่อุดตันง่าย น้ำหนักเบา สามารถรื้อเอามาล้างทำความสะอาดได้ง่ายมีความคงทนดัดแปลงให้เข้ากับรูปทรง บ่อและราคาถูก
ในระยะเริ่มแรกของการเลี้ยงปลาในระบบน้ำหมุนเวียน ได้เคยทดลองใช้อิฐหัก เปลือกหอยนางรม ไบโอบอลชนิดกลม ไบโอฟิลเตอร์ชนิดทรงกระบอก ก็พบว่าอิฐหักและเปลือกหอยนางรม พื้นที่ผิวจำเพาะค่อนข้างน้อย ไม่น้อยสะดวกในการเคลื่อนย้ายเวลาล้างทำความสะอาด ส่วนไบโอบอลและไบโอฟิลเตอร์ชนิดทรงกระบอกค่อนข้างเบาแต่ราคาก็แพงเอาการอยู่ เหมือนกัน อวนเก่าวัสดุเหลือใช้จากเรือประมงคือวัสดุกรองที่ดี ลองไปเอาอวนชนิดต่าง ๆ มาหาพื้นที่ผิวจำเพาะของวัสดุกรองประเภทนี้ดู ก็พบว่าอวนเก่ามีคุณสมบัติที่ดีเหมาะสมสำหรับวัสดุกรองในระบบบำบัดน้ำจากการ เลี้ยงปลา ราคาก็ถูกมาก กิโลกรัมละ 10 บาท จากการที่ได้นำอวนหลากหลายขนาดมาหาพื้นที่ผิวจำเพาะ ก็พบว่าอวนมีพื้นที่ผิวจำเพาะตั้งแต่ 280-1300 ตรม./ลบ.ม โดยที่ปริมาตรของบ่อบำบัด 1 ลบ.ม สามารถบรรจุอวนเก่าได้ประมาณ 100 กก. ข้อดีของการใช้อวนเก่า มาเป็นวัสดุกรองน้ำหนักเบา หาได้ง่าย ราคาถูก  พื้นที่ผิวจำเพาะสู้ฟิลเตอร์ราคาแพง ๆ ได้ดี ทำความสะอาดง่าย มีความคงทน น้ำไหลผ่านได้ทั่วถึง จัดรูปทรงให้เข้าบ่อกรองได้ง่าย เป็นการนำวัสดุที่ไม่ใช้ทำอย่างอื่นแล้วกลับมาใช้ใหม่
การทดลองเลี้ยงปลา กะพงขาวครั้งแรกในบ่อกลมขนาด 15 ลบ.ม. แต่ใส่น้ำ 12 ลบ.ม..  เริ่มต้นเลี้ยงปลาขนาด 150 กรัม จำนวน 500 ตัว  ใช้เวลา  7 เดือน  ปลามีอัตรารอดตาย  87 %  ขนาดตัวเฉลี่ย 0.75 กิโลกรัม  มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ 3.1 : 1  ติดตั้งปั๊มให้อ๊อกซิเจนยี่ห้อ resun 4800 กำลัง 90 วัตต์ 2 ตัว  ให้อากาศตลอดเวลา  หัวทรายจากปั้มลมอีก 4 หัว  ที่น่าสังเกตคือ  อัตราการแลกเนื้อต่ำกว่าปกติเลี้ยงในกะชัง ประมาณ 6 หมายความว่า ต้นทุนค่าอาหารปลาลดไปครึ่งหนึ่ง  สำคัญต้องมีระบบไฟสำรองเมื่อไฟฟ้าขัดข้อง เครื่องสำรองต้องทำงานทันทีได้ผลผลิต  325  กก. ต้นทุน   56.98 บาท/กก.
การ ทดลองเลี้ยงปลากะพงขาวครั้งที่สอง ที่ความหนาแน่นสูงในระบบน้ำหมุนเวียน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเลี้ยงปลา เชิงพาณิชย์ ได้สาธิตการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อไฟเบอร์กลาสสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 5 ลูกบาศก์เมตร น้ำหนักปลาเริ่มต้น 65   กรัม หรือขนาด 5 นิ้ว ที่ความหนาแน่น 500 ตัว/บ่อ (125 ตัว/ลูกบาศก์เมตร บ่อใส่น้ำได้ 4 ลูกบาศก์เมตร ) จำนวน 2 บ่อให้อาหารปลาสดกินทุกวัน วันละครั้งจนอิ่ม พบว่า น้ำหนักปลาเฉลี่ย  830  กรัมต่อตัว ผลผลิตเฉลี่ย 407.78 กิโลกรัม/บ่อ อัตรารอด 98.5 เปอร์เซ็นต์ FCR 5.75 และเมื่อศึกษาความคุ้มทุนต่อระยะเวลาการเลี้ยง พบว่าผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลากะพงขาวที่ระยะเวลา 12 เดือน ได้ปลากะพงขาวเฉลี่ย 750 กรัม สามารถให้ผลตอบแทนที่คุ้มทุนสูงสุด คือ 20,158.74 บาทต่อบ่อ โดยที่ต้นทุนการผลิต เท่ากับ 30,430.98  บาทต่อบ่อ หรือ  81.90 บาทต่อกิโลกรัม
การทดลองเลี้ยงปลากะพงขาวครั้งที่สาม บ่อเลี้ยงที่ทดลองขนาดที่ 36 ลบ.ม. บ่อขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 5 เมตร ก้นบ่อเป็นทรงกรวย ลึก 2 เมตร ตรงกลางบ่อลึกกว่าขอบ 1 เมตร เพื่อวัตถุประสงค์ในการรวบรวมของเสียตะกอนต่างๆออกได้ง่าย ทำให้ลดการสะสมของตะกอนภายในบ่อเลี้ยง บ่อจะบุด้วยผ้าใบที่ซีลด้วยความร้อน ป้องกันการรั่วไหลของน้ำ  ตรงกลางก้นบ่อวางท่อขนาด 3 นึ้ว สำหรับให้น้ำทิ้งหมุนเวียนไปยังบ่อตกตะกอน
เนื่องจากโครงการนี้เน้น ประหยัดพลังงานเลยต้องออกแบบให้ระบบบำบัดอยู่ในระดับที่สูงสุด ระดับรองลงมาเป็นระดับบ่อเลี้ยง รางน้ำทิ้ง และบ่อตกตะกอนอยู่ในระดับต่ำสุด  การใช้บ่อที่บุด้วยผ้าใบภายในสามารถเก็บกักน้ำได้ดี ไม่มีรั่วซึม ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก(ค่าก่อสร้างบ่อ) การที่ให้บ่อครึ่งหนึ่งฝังอยู่ในดินก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำโครงเหล็กมา ค้ำยัน ในการเลี้ยงปลา งานที่หนักอย่งหนึ่งที่ทุกคนต้องยอมรับคือตะกอนเศษอาหาร ขี้ปลา ที่ชิ้นใหญ่บ้างเล็กบ้าง ในระบบน้ำหมุนเวียนที่เลี้ยงปลาหนาแน่นสูง เรามักต้องใส่เครื่องปั้มให้อ็อกซิเจนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มอ็อกซิเจนให้พอเพียง ที่ปลาอยู่อย่างสบายและโตดีพอสมควร พื้นบ่อจึงได้ดีไซด์ให้เป็นทรงกรวย โดยลึกจากระดับพื้นขอบบ่อประมาณ 1 เมตร เมื่อเวลาน้ำหมุน จะได้นำเอาตะกอนต่างลงสู่ก้นกรวย นำไปสู่บ่อตกตะกอนต่อไป  ทำให้คุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงดีขึ้น น้ำใสขึ้น
ในระบบน้ำหมุนเวียนโดยเริ่ม ต้นเลี้ยงปลาขนาด 250 กรัม  จำนวน 894 ตัว  เป็นเวลา 7 เดือน  เมื่อสิ้นสุดการทดลองได้ปลาขนาดเฉลี่ย 1.07 กก.จำนวน  800  ตัวคิดเป็นน้ำหนัก 854 กก. อัตรารอด 89.5 % อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ 4.99 สามารถให้ผลตอบแทนที่คุ้มทุนสูงสุด คือ 54,604 บาทต่อบ่อ ต้นทุนการผลิต 95 บาท/กิโลกรัมหรือ 81,396  บาทต่อบ่อ


* รูปภาพ1.jpg (27.25 KB, 365×274 – ดู 28 ครั้ง.)

* รูปภาพ2.jpg (21.88 KB, 361×271 – ดู 29 ครั้ง.)

* รูปภาพ3.jpg (47.16 KB, 506×380 – ดู 1 ครั้ง.)