เลี้ยงกุ้งหน้าฝน….พบเจอปัญหาเช่นไร?
เรียบเรียงโดย ตุลฮาบ หวังสุข
“ฤดูฝน” เป็นฤดูกาลที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งหวังให้มีน้ำ เป็นเสมือนสิ่งที่เขารอคอยกันมานานหลังจากผจญกับภัยแล้ง ผลผลิตของเกษตรกรบางรายต้องเสียหายกับภัยแล้ง บางรายประคับประคองมาได้ แต่เข้าฤดูฝนก็ใช่ว่าการเลี้ยงกุ้งจะไม่มีปรับตัว คนเลี้ยงอาจจะต้องปรับตัวบ้างเช่นกัน
เกษตรกรคงจะประสบปัญหาเรื่องความเค็มและอุณหภูมิที่ค่อนข้างจะแปรปรวนผิด ปกติในแทบทุกพื้นที่ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ทำความเสียหายให้กับเกษตรกรอย่างมาก ที่ไม่รุนแรงอาจพบปัญหากุ้งโตค่อนข้างช้า บางท้องที่มีปัญหากุ้งน็อค กุ้งเหงือกดำ หรือกล้ามเนื้อขุ่น ช่วงฤดูฝนชาวหน้ากุ้งส่วนใหญ่วางแผนการปล่อยกุ้งค่อนข้างจะพร้อมเพรียงกัน สามารถเลี้ยงกุ้งได้ง่ายกว่าหน้าแล้ง หรือหนาว แต่อย่าได้ประมาท เพราะการเลี้ยงกุ้งในช่วงฤดูฝนก็มีปัญหามากเหมือนกัน ดังนั้นการเลี้ยงกุ้งในช่วงฤดูฝน มีการวางแผนการเลี้ยง และการป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในแต่ละพื้นที่
ปัญหาเรื่องการเตรียมบ่อ
ในพื้นที่ดินกรด เกษตรกรตากบ่อไว้นานระหว่างช่วงหน้าแล้ง ฝนตกลงมาชะล้างหน้าดิน ก่อนการลงปูนที่พื้นบ่อ ปล่อยน้ำเข้าบ่อ ล้างพื้นบ่ออย่างน้อย 1 ครั้งก่อนจากนั้นจึงเติมน้ำเข้าบ่อตรวจเช็ค pH และค่าอัคคาไลน์ของน้ำ pH และค่าอัคคาไลน์สูงกว่า 80 ppm อาจจำเป็นต้องใช้ปูนเพื่อเพิ่มค่าอัคคาไลน์ ซึ่งปูนที่ใช้ควรเป็นปูนในกลุ่มคาร์บอเนต (ปูนมาร์ลหรือโดโลไมท์อัตราส่วน 100-200 กก. ต่อไร่) ไม่ทำให้ pH น้ำมีค่าสูงเกินไป ไม่นำเลนก้นบ่อขึ้นมาไว้บนคันบ่อ ใช้ปูนขาวหว่านให้ทั่ว เพื่อให้ค่า pH สูงขึ้นแก๊สไข่เน่าในดินจะลดลง ก่อนปล่อยลูกกุ้งควรตรวจเช็คว่า มีตัวอ่อนของแมลงปอเกิดขึ้นหรือไม่ อาจใช้อวนลากออก
ปัญหาฝนตกขณะปล่อยกุ้ง
ดินเป็นกรด หลังจากปล่อยลูกกุ้ง แล้งเกิดฝนตกขณะที่ลูกกุ้งยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพบ่อน้ำฝนที่ชะล้าง เอากรดบริเวณคันบ่อลงมาอาจทำให้ลูกกุ้งที่อ่อนแอตายได้ง่าย การใช้ปูนมาร์ลหว่านบริเวณชานบ่อจะช่วยลดปัญหาได้ค่อนข้างมาก
ปัญหากุ้งลอยหรือตายหลังจากฝนตก
ส่วน มากจะเกิดกับบ่อเก่า เลี้ยงกุ้งมานาน ไม่ค่อยได้ถ่ายน้ำ หรือบ่อที่ปูพลาสติกมานานและมีการฉีกขาด หรือบ่อที่ไม่ได้นำเลนก้นบ่อออกก่อนการปล่อยกุ้ง เมื่อฝนตกน้ำฝนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ จะไหลลงบ่อ โดยชะล้างเอากรดจากคันบ่อลงมา ทำให้ pH ของน้ำในบ่อต่ำ มีผลทำให้แก๊สไข่เน่ากระจายตัวมากขึ้น กุ้งจะลอยขึ้นมาที่ผิวน้ำหรือตายได้ วิธีการแก้ไขกำจัดแก๊สไข่เน่า ระบายน้ำก้นบ่อออกพร้อมกับใช้ปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อ เพื่อปรับให้ pH ของน้ำสูงกว่า 7.5 หลังจากนั้นควรงดหรือลดปริมาณอาหารลงตามสมควรโดยเฉพาะในมื้อเช้า และกลางคืนน้ำจะมีค่า pH และปริมาณออกซิเจนต่ำ จนกว่ากุ้งจะเริ่มเข้ายอมากินอาหารตามปกติ
น้ำเปลี่ยนสีหลังจากฝนตก
ดิน เป็นกรดหรือดินทรายเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นด่างปริมาณคาร์บอนไดออก ไซค์ในน้ำหลังฝนตกไม่มีแสงสว่างแพลงก์ตอนตายควรเพิ่มน้ำใหม่ลงไป ใช้ปูนมาร์ลในอัตรา 20-30 กก.ต่อไร่ จะทำให้แพลงก์ตอนเกิดเร็ว ช่วยทำให้สีน้ำคงที่ได้ หากสีน้ำไม่เกิด จำเป็นต้องใช้สีน้ำเทียม
การเกิดตะกอนแขวนลอยในบ่อ
หลังจากฝนตก จะเกิดตะกอนดินแขวนลอยอยู่ในน้ำควรถ่ายน้ำก้นบ่อออกให้มาก และใช้ปูนขาวใส่ในอัตราส่วน 10-20 กก.ต่อไร่ ต่อวันเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น งดใช้เครื่องตีอากาศ ช่วงกลางวันจะช่วยลดการฟุ้งกระจายของสารแขวนลอยได้ หากตะกอนยังไม่ลดลงภายใน 1-2 วันกุ้งอาจกินอาหารลดลงเนื่องจากออกซิเจนต่ำ หรือแก๊สไข่เน่าเป็นพิษมากขึ้น ควรลดอาหาร ในช่วงเช้าตามความเหมาะสม ส่วนใหญ่กุ้งมีอายุ2 เดือนขึ้นไป แพลงก์ตอนปกติ ช่วงกลางวันมักจะหยุดเครื่องตีน้ำ แต่เมื่อมีฝนตก ต้องตีน้ำเพื่อเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เข้ากัน ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำแบ่งชั้นก่อนฝนตกมีแดดออก ฝนตกไม่มาก เราไม่ตีน้ำก็ไม่เป็นไร ส่วนช่วงกลางคืน เราตีน้ำตลอดอยู่แล้ว ถ้าฝนตกหนักตรงมื้อาหาร ให้หยุดอาหารทันที ไม่ต้องให้อาหาร หลังจากฝนหยุดตกแล้วอาจจะให้อาหารลดลงบางส่วน
กุ้งลอกคราบไม่ออก ขาคดงอ หรือเปลือกแข็งช้า
โดยเฉพาะที่ใช้น้ำจากคลองและมีความเค็มต่ำ กุ้งจะอ่อนแอ เปลือกไม่แข็ง ลอกคราบไม่ออกอยังพบขาเดินขดงอ เนื่องจากปริมาณแร่ธาตุไม่สมดุล การใช้ปูนมาร์ลหรืโดโลไมล์ 20-30 กก.ต่อไร่ ทุก 1-2 วัน จะช่วยลดปัญหาได้ อาจจำเป็นต้องมีการเติมแร่ธาตุต่างๆ ในอาหารและในน้ำช่วย
สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่พบ แต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน เกษตรกรควรหมั่นตรวจดูและเฝ้าระวังตรวจเช็คคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ แก้ปัญหาให้ทันท่วงที สิ่งสำคัญที่ช่วยแก้ไขได้คือ การจัดเตรียมน้ำในบ่อพักน้ำให้เพียงพอต่อการใช้ เกษตรกรอาจใช้พื้นที่ของบ่อเลี้ยงออกเป็นสองส่วน โดยใช้หนึ่งส่วนเป็นบ่อพักน้ำ เก็บน้ำให้เพียงพอที่จะใช้เติมหรือถ่ายในระหว่างการเลี้ยง หากจำเป็นจะใช้ยาฆ่าเชื้อหรือสารเคมี ทำในบ่อพักก่อนที่จะนำน้ำไปใช้
สรุปได้ว่าหลายปัญหาที่พบเจอ ในระหว่างการเลี้ยงกุ้งในหน้าฝน
หากไม่มีแดด ออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ แพลงก์ตอนสังเคราะห์แสงน้อย อุณหภูมิของน้ำจะลดลง ตลอดจนความเค็ม pH ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่พอดี หาก pH ต่ำควรใส่ปูนเพื่อปรับระดับให้อยู่ในเกณฑ์ หรืออาจเติมน้ำให้มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิก็จะน้อยลง ควรระวังระดับแอมโมเนียในน้ำ ต้องพยายามถ่ายน้ำ เพื่อช่วยไม่ให้น้ำมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป
เอกสารอ้างอิง
http://www.shrimpcenter.com/shrimp00176.html
http://www.shrimpcenter.com/t-shrimp040.html
http://www.fisheries.go.th/DOF_THAI/Division/Health_new/aahri-new/thai/newsletter_th/Y_08_V_2.htm