-
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Aegypius monachus -
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดใหญ่มาก ขนาดลำตัวยาวประมาณ 102 – 104 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวมีลักษณะเหมือนกัน ทั่วตัวมีขนสีดำ ตรงบริเวณหัวถึงคอมีขนน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย บริเวณรอบ ๆ คอมีขนขึ้นฟูคล้ายพวงมาลัย นิ้วสีออกขาว ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยมีลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลอ่อนกว่า -
ถิ่นอาศัย, อาหาร : พบในไซบีเรีย จีน อินเดีย ไม่ใช่นกประจำถิ่นของไทย ย้ายมาหากินในฤดูหนาวเท่านั้น อีแร้งดำหิมาลัยกินซากของสัตว์ต่างๆ -
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ : ชอบอยู่ในที่โล่งและชอบอยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ชอบบินร่อนเป็นวงกลมในอากาศ หากินกลางวัน อีแร้งดำหิมาลัยมีฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน ทำรังตามยอดไม้สูง ๆ แถบภูเขา รังมีขนาดใหญ่ ทำด้วยกิ่งไม้ วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง แต่ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย -
สถานภาพปัจจุบัน : เป็นนกอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสม พันธุ์ หายากและมีปริมาณน้อยมาก เคยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 -
สถานที่ชม : สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์สงขลา -
ข้อมูลเพิ่มเติม : UNEP-WCMC Species Database