-
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Urocissa erythrorhyncha -
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะที่เหมือนกัน โดยมีบริเวณหัวถึงลำคอสีดำ ขนบริเวณลำตัวมีสีฟ้าแกมม่วง ส่วนโคนปีกมีสีฟ้าแกมม่วง ด้านปลายปีกสีขาว นกขุนแผนมีหางสวยงามและยาวมาก มีสีฟ้าแกมม่วงส่วนบริเวณปลายหางมีสีขาว มีขนหางคู่บนยาวกว่าคู่อื่น ๆ ปากสีแดง ขาสีแดงส้มและตาสีดำ -
ถิ่นอาศัย, อาหาร : พบในทวีปเอเชียแถบเทือกเขาหิมาลัย จีน พม่า อินโดจีน ในประเทศไทยพบทางภาคต่าง ๆ ยกเว้นภาคใต้ นกขุนแผนกินผลไม้ที่หล่นลงมาบนพื้นดิน หาแมลงและสัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ กินเป็นอาหาร รวมทั้งไข่นก ลูกนกด้วย บางครั้งกินนกที่มีขนาดเล็กหรืออ่อนแอกว่า -
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ : ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามป่าละเมาะ ป่าโปร่ง นกขุนแผนมักส่งเสียงร้องขณะที่มันเริ่มออกหากิน บางเวลามันอาจลงมาหากินตามพื้นดิน ซอกก้อนหิน ซอกไม้ผุๆ ฤดูผสมพันธุ์ของนกขุนแผนคือช่วงประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม จะทำรังโดยนำกิ่งไม้เล็ก ๆ มาขัดสานกันเป็นแอ่งตรงกลาง และรองพื้นด้วยรากไม้หรือใบไม้ที่มันพอจะหาได้ในบริเวณนั้น นกขุนแผนตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 3-6 ฟอง อยู่สูงจากพื้น 6-8 เมตร -
สถานภาพปัจจุบัน : เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 -
สถานที่ชม : สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์เชียงใหม่ -
ข้อมูลเพิ่มเติม : UNEP-WCMC Species Database