บรรจง จำนงศิตธรรม
สถานีประมงน้ำจืดอุทัยธานี
การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของดิพเทอร์เร็กซ์ ฟอร์มาลิน และมาลาไคร์กรีน โดยใช้วิธีชีววิเคราะห์ในน้ำนิ่งเพื่อทราบระดับความเข้มข้นและเปรียบเทียบความเป็นพิษของสารเคมีทั้ง 3 ฃนิด โดยใช้ลูกปลาแรดอายุ 15 และ 55 วัน ดำเนินการศึกษาที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดอุทับธานี ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2543 – ตุลาคม 2543 ที่อุณหภูมิระหว่าง 28.0-29.5 องศาเซลเซียส
ผลการทดสอบความเป็นพิษของดิพเทอร์เร็กซ์ ต่อลูกปลาแรดอายุ 15 และ 55 วัน มีค่า C50 ในเวลา 96 ชั่วโมง เท่ากับ 0.665 และ 0.682 ppm ตามลำดับ ส่วนฟอร์มาลินเทากับ 179.99 และ 193.79 ppm ตามลำดับ สำหรับมาลาไคท์กรีนเท่ากับ 0.456 แบะ 0.668 ppm ตามลำดับ ได้พบว่า ความเข้มข้นที่ปลอดภัยของดิพเทอร์เร็กซ์ ฟอร์มาลิน และมาลาไคท์กรีนต่อลูกปลาแรดอายุ 15 และ 55 วัน ในการแช่ระยะยาวเท่ากับ 0.07 และ 0.07 ppm , 17.99 c]t 19.68 ppm และ 0.015 และ0.067ppm ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้พบว่า สารเคมีทั้ง 3 ชนิดมีความเป็นพิษที่รุนแรงต่อลูกปลาแรดอายุ 55 วันมากกว่า 15 วัน แต่ลูกปลาแรดอายุ 15 วันมีการตอบสนองต่อความเป็นพิษอย่างรวดเร็วในเวลา 12-24 ชั่วโมงหลังจากได้สัมผัสสารเคมีทั้ง 3 ชนิด
ผลการตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำพบว่าดิพเทอร์เร็กซ์ ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำทั้งค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ และค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง โดยมีความสัมพันธ์กับระดับความเข้มข้นของสารเคมีทั้ง 2 ชนิด ในเวลา 96 และ 72 ชั่วโมงตามลำดับ