หมัดปลา (Isopod ) เป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มครัสเตเซัยนเช่นเดียวกับโคพีพอด, มีจำนวนเป็น 10,000 สปีชีส์ ทั่วโลก แม้กระทั่งในทะเลทราย มีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกัน นอกจากนั้น Isopod แต่ละชนิดมีนิสัยและพฤติกรรมต่างกัน คนส่วนใหญ่มักจะรู้จัก Isopod ในรูปแบบของแมลง พบได้ในพื้นที่มืดๆ หลายชนิดจะอยู่ในทะเล บางตัวจะมีขนาดใหญ่และมีหนาม มักจะอยู่ในบริเวณแถบทะเลลึกและบริเวณที่มีพืชในทะเลอยู่ แต่บางชนิดมีขนาดเล็ก เนื่องจากที่มันมีขนาดเล็ก ที่ชอบอาศัยเป็นพาราสิตของปลา
รูปร่างลักษณะ
Isopod นั้นแต่ละชนิดมีรูปร่างไม่เหมือนกัน แต่ทว่ามันมีบางสิ่งที่คล้ายกัน (มันเลยเรียกว่า Isopod) พวกมันไม่มีเปลือกแข็งหรือกระดองหุ้มตัว มีหัวขนาดเล็ก มีหนวด 2 คู่อยู่บริเวณหัว และมีตา 1 คู่ บริเวณปากของมันจะมี รยางค์เป็นคู่รยางค์นี้้เราเรียกว่า maxilliped บริเวณขาของมันนั้นจะมีจำนวน 7 คู่ บริเวณนั้น ในขาข้อแรกจะไม่มีหนามอยู่ สำหรับพวกที่อยู่ในทะเลส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตโดยการใช้ส่วนที่เรียกว่า pleopods ในการแลกเปลี่ยนก๊าซหรือหายใจ
วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของ Isopod แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป แต่ในโดยส่วนใหญ่มีวงจรชีวิตไม่ถึงปี การสืบพันธุ์เกิดขึ้นเมื่อเพศเมียทำการลอกคราบ โดยส่วนมากไอโซพอดเพศเมียจะได้รับการคุ้มครองจากเพศผู้โดยการแบกไอโซพอดเพศ เมียไว้จนว่าจะลอกคราบ ไอโซพอดบางชนิดจะมีการผสมพันธุ์เกิดขึ้นภายในร่างกาย และบางชนิดจะมีการผสมพันธุ์ภายนอกเช่นปล่อยไข่ไว้ในโพลง ไอโซพอดจะไม่ออกมาเป็นตัวอ่อนเหมือนอย่างพวกปูหรือกุ้ง แต่จะออกมาในลักษณะของรูปแบบเยาว์วัยเลย ซึ่งสังเกตได้จากขนาดของมัน
การกินอาหาร
สามารถแบ่งการกินอาหารออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการกินอาหารของไอโซพอด คือ
1. กินเศษซากพืชและซากสัตว์ (ปลา,หรือสัตว์จำพวกครัสเตเซียนที่ตายแล้ว) เป็นอาหาร
2. หาอาหารโดยเป็นผู้ล่า แต่โดยส่วนมากจะเป็นปรสิตที่เกาะแบบถาวรบริเวณเหงือกปลา , บริเวณลำตัวของปลา หรืออยู่ในปากของปลาเลยทีเดียว
ปรสิต
มีไอโซพอดบางสปีชีส์ที่อาศัยโดยการเป็นปรสิตบริเวณตัวปลา หนึ่งในกลุ่มนั้นจะเรียกว่า (cymothoid isopods) หรือที่เรียกว่า ‘tongue biters’ ซึ่งชื่อเรียกนี้ได้มาจากการที่มันมักจะอาศัยอยู่ในบริเวณปากของปลา ซึ่งจะดูเหมือนกันมันเปลี่ยนไปเป็นคล้ายๆ กับลิ้นของปลาเลยทีเดียว นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า พวก cymothoid isopods จะใช้ขาของมันยึดเกาะกับบริเวณลิ้นของปลา จนลิ้นของปลาที่มันเกาะอยู่นั้นได้หลุดออกไปเลยมันจึงเข้าไปแทนที่เป็นลิ้น แทน แต่ทว่าไอโซพอดกลับไม่ได้มีผลกับระยะชีวิตของปลาตัวนั้นเลยแม้แต่นิด เดียว (หมายถึงปลาไม่ได้มีอายุสั้นลง แต่ไม่รวมถึงสารอาหารที่ปลาจะได้รับอย่างเต็มที่ เปรียบเสมือบ เห็บที่อาศัยอยู่กับสุนัข) ไอโซพอดบางสปีชีส์จะอาศัยโดยการดูดเลือดจากตัวปลาผู้ถูกเกาะ ส่วนประเภทที่ชอบอยู่ในลิ้นจะคอยดักกินเศษอาหารปลาที่ปลากินเข้าไป
อาการของปลา
ปลาที่ถูกไอโพอดเกาะดูดเลือด จะมีอาการว่ายน้ำทุรนทุรายและพยายามเสียดสีลำตัว กับข้างบ่อ กระโดดขึ้นลงจากผิวน้ำ ถ้าสังเกตจะเห็นไอโซพอดเกาะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของตัวปลา ไอโซพอดชนิดนี้จะไม่เกาะอยู่บนตัวปลาแบบถาวร มันจะดูดเลือดปลากินเป็นอาหารแล้วทิ้งตัวลงไปอยู่ที่ พื้นก้นบ่อ เมื่ออาหารย่อยหมดแล้วก็จะกลับมาเกาะตัวปลาใหม่ ปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ถ้ามีไอโซฟอดเข้าเกาะ 3-4 ตัว ก็จะทำให้ปลาตายได้ภายในเวลา 3-4 ชั่วโมง ปลาที่ตายจะมีเหงือกสีซีดมาก ปลาที่พบว่าเป็นโรดนี้ได้แก่ ปลาสวาย บึก นิล เป็นต้น
การปัองกันและรักษา
1. ถ้าเป็นปลาที่เลื้ยงในกระชังทำการรักษาได้ยาก ควรนำปลาขึ้นมา พักในบ่อดินแล้วทำการรักษาตามข้อ 2
2. ถ้าเป็นกับปลาในบ่อเลี้ยง ใช้ดิพเทอเร็กซ์ จำนวน 0.25-0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่สัปดาห์ละครั้งติดต่อกัน 3-4 สัปดาห์ โดยควรทำการถ่ายน้ำบางส่วน ก่อนแช่ดิพเทอร์เร็กช์ ครั้งต่อไป