ปลาก็เหมือนกับสิ่งมี ชีวิตทั่วไปที่จะต้องมีการเจ็บป่วยไม่วันใดก็วันหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้ปลาเป็นโรคส่วนใหญ่มาจากสิ่งแวดล้อมและความเครียด ปลาจะมีความอ่อนไหวกกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากกว่าสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงในตู้ซึ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จำกัดมีสภาพไม่เหมือนใน ธรรมชาติ ทำให้ไม่มีอิสระที่จะว่ายน้ำ (ไปในที่กว้างขวางและไม่มีมลภาวะ) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ คุณภาพของน้ำที่ไม่ดีพอ และความหนาแน่นของปลาที่เลี้ยงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลาเครียด มีผลให้ความต้านทางโรคน้อยลง นักเลี้ยงปลาสมัครเล่นหรือเลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรกมักจะพบกับปัญหาปลาเป็นโรค บ่อยๆ จึงขอแนะนำให้เจ้าของสิ่งมีชีวิตน้อยๆ นี้ หมั่นดูแลเอาใจใส่ตู้ปลา เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคของปลาที่ท่านเลี้ยงในตู้ได้
ข้อแนะนำสำหรับสุขอนามัยที่ดีของปลาตู้
– ผู้เลี้ยงควรมีใจรักและมีเวลาให้กับปลาที่เลี้ยง
– พันธุ์ปลาต้องถูกใจผู้เลี้ยง
– พันธุ์ปลาที่เลี้ยงในตู้เดียวกันควรมีนิสัยการกินอาหารที่คล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน
– ปลาต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีการฉีกขาดของครีบ การว่ายน้ำทรงตัวดี เกล็ดแวววาว ไม่ผอมแห้ง เซื่องซึมไม่มีบาดแผล
– ขนาดของปลาที่เลี้ยงไม่ควรเป็นปลาขนาดใหญ่ หรือปลาที่โตเร็วมากๆ เพราะจะไม่เหมาะสมกับตู้ปลา
– ถ้าจะเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ร่วมกับปลาขนาดเล็ก ควรจัดให้มีที่หลบซ่อนตัวสำหรับปลาเล็ก
– จำนวนปลาในตู้ ชนิดและขนาดของปลาควรเหมาะสมกับขนาดของตู้ปลา
– ควรศึกษานิสับการกินอาหารของปลาที่เลี้ยงด้วย ไม่ควรเลี้ยงปลากินพืชรวมกับปลากินเนื้อ
– อาหารที่ให้ควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพ อย่าให้ขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งจะมีผลต่อความเจริญเติบโตหรือทำให้ปลาอ่อนแอจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ได้
– ถ้าอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาเป็นอาหารมีชีวิตเช่น ลูกไร ลูกน้ำ ไส้เดือนฝอยควรทำความสะอาดโดยการแช่ในสารละลายด่างทับทิมเข้มข้น 4 พีพีเอ็ม หรือ 0.4 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตรนาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาให้ปลากิน
– ไม่ควรให้อาหารปริมาณมากเกินไป เพราะถ้าปลากินไม่หมดจะทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียได้ ควรให้อาหารเป็นเวลาและไม่ต้องกลัวว่าปลาจะหิว
– ไม่ควรให้อาหารน้อยเกินไปจะทำให้ปลาอกอยาก มีภูมิคุ้มต้านทางโรคน้อย
– การนำพันธุปลามาปล่อยเลี้ยงเพิ่มเติม ควรป้องกันโรคปลาก่อน โดยนำไปแช่ในน้ำที่ผสมฟอร์มาลินในอัตรา 25-30 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร เป็นเวลา 1-2 วัน ก่อนนำไปปล่อยรวมกับปลาที่มีอยู่เดิม
– หมั่นทำความสะอาดชุดกรองน้ำ หิน กรวด ทราย และเปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ปลาอย่างสม่ำเสมอ
– ถ้าพบว่าปลาเป็นโรคต้องรีบแยกปลาที่เป็นโรคออกทันที
– ศึกษาวิธีการใช้ยาและสารเคมีให้ดีก่อนนำมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคปลา
คีรี กออนันตกุล