ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยเรื่อง “การประเมินสภาวะ ทรัพยากรปลาลังทางฝั่งอันดามันของประเทศไทย” พบว่า ปัจจุบันขนาดของปลาลังที่จับได้ เล็กกว่าขนาดแรกเริ่มเจริญพันธุ์ถึงร้อยละ 67.64 และมีระดับการลงแรงประมงที่เกินศักยภาพ การผลิตสูง ถึงร้อยละ 30 ซึ่งการทำอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชากรปลาลังในอนาคต เนื่องจากประชากรพ่อแม่พันธุ์ลดลง
นายมนตรี สุมณฑา นัิกวิชาการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลฝั่งอันดามัน หนึ่งในทีม ผู้ศึกษาวิจัย กล่าวว่า จากการประเมินสภาวะทรัพยากรปลาลังทางฝั่งอันดามันในพื้นที่ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล โดยสำรวจและรวบรวม ข้อมูลจากการทำประมง ด้วยเครื่องมืออวนล้อมจับ 6 ประเภท พบอัตราการจับปลาลังเฉลี่ยของแต่ละเครื่องมือมีดังนี้ 1.อวนตังเก เท่ากับ 10.40 กิโลกรัม/วัน 2.อวนล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร เท่ากับ 33.16 กิโลกรัม/วัน 3.อวนเขียว เท่ากับ 33.43 กิโลกรัม/วัน 4.อวนดำ เท่ากับ 150.18 กิโลกรัม/วัน 5.อวนล้อมจับปั่นไฟ เท่ากับ 507.44 กิโลกรัม/วัน และ 6.อวนล้อมซั้ง เท่ากับ 936.25 กิโลกรัม/วัน โดยปลาลังที่จับได้มีขนาดความยาวเหยียดระหว่าง 4.00-30.50 เซนติเมตร หรือ ความยาวเฉลี่ย 16.44 เซนติเมตร ซึ่งจัดว่าเป็นขนาดที่ต่ำกว่าวัยสืบพันธุ์ที่โดย ปกติเพศผู้ต้องมีึความยาวเท่ากับ 17.83 เซนติเมตร และเพศเมียเท่ากับ 18.92 เซนติเมตร อีก ทั้งยังมีการลงแรงประมงที่เกินศักยภาพการผลิตถึงร้อยละ 30 จากสถานการณ์ดังกล่าว กรม ประมงจึงมีการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาวะทรัพยากรปลาลังในเชิงปริมาณให้สอดคล้องกับ สภาวการณ์ปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยได้สรุปแนวทางในการบริหารจัดการ ทรัพยากรปลาลังทางฝั่งทะเลอันดามันไว้ โดยหากจะให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดและมีความ ยั่งยืนด้านผลผลิต จะต้องลดปริมาณการลงแรงประมงอย่างน้อยร้อยละ 30 ทั้งนี้เครื่องมืออวน ล้อมจับขนาดตาอวน 1.5 เซนติเมตร และอวนล้อมจับปั่นไฟ เป็นเครื่องมือที่ควรพิจารณา ใน การปรับลดการลงแรงประมงมากที่สุด เพราะปลาลังที่ได้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก