ฟลมแองเจิล…….สินสมุทรแคระ

เรียบเรียงโดยขวัญเรือน  สุวรรณรัตน์

ส่วนใหญ่เวลาแนะนำตัวเองหรือนำเสนองานต่างๆ ก็ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า สวัสดี ดิฉันก็เช่นกันขอ สวัสดีผู้อ่านทุกท่านดิฉันเคยเขียนบทความเรื่องปลาสินสมุทรมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ยังประทับใจกับความสวยที่แสนจะสะดุดตาของมันด้วยสีสันที่โดดเด่นก็เลยมี แรงจูงใจอยากจะเขียนอีกก็เลยค้นคว้าและรวบรวมแต่ฉบับนี้ดิฉันได้นำเสนอ เรื่องเฟลมแองเจิลหรือสินสมุทรแคระซึ่งมีความสวยไม่ต่างกับสินสมุทร
ใน บรรดาปลาสินสมุทรแคระทั้งหมด ต้องนับว่า เฟลมแองเจิล (Centropyge loriculus) เป็นแองเจิลแคระที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาปลากลุ่มเดียวกัน ปลาชนิดนี้เป็นปลาสินสมุทรขนาดเล็กที่โตเต็มที่ได้ราว  4 นิ้ว (10 เซนติเมตร) แต่น้อยมากที่จะได้เห็นปลาที่มีขนาดใหญ่เท่านี้โดยมากที่ขายกันอยู่จะมีขนาด ราว  2-2.5 นิ้วเสียเป็นส่วนมากและด้วยลีลาท่าทางเฉพาะตัว รวมถึงสีสันที่ไม่เป็นสองรองใคร จึงไม่น่าแปลกใจที่ใครๆ ต่างก็หมายจะเลี้ยงปลาชนิดนี้
เฟลมแองเจิลเป็นหนึ่งในปลาสินสมุทร เพียงไม่กี่ชนิดที่มีสีแดงเข้มยืนพื้น กลางลำตัวเจือไปด้วยสีเหลืองอ่อนและมีแถบสีดำขีดตามแนวยาวมากน้อยต่างกันไป เจือด้วยแต้มน้ำเงินสลับดำบริเวณปลายครีบบนและล่าง  และสีเหล่านี้เองที่เป็นที่มาของชื่อ Flame ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงสีบนลำตัวที่สดใสร้อนแรงดั่งเปลวเพลิง
ในเมืองไทยเอง นิยมเรียกปลาชนิดนี้สั้นๆ ว่า “ เฟลม”  เท่านั้น น้อยครั้งที่จะมีใครเรียกชื่อเต็มยศ   แต่ก็ไม่เห็นมีใครสับสนกับปลาชนิดอื่นๆ ที่มีคำขึ้นต้นเป็นคำเดียวกัน เช่น เฟลมฮอค (Flame  Hawkfish : Neocirrhites armatus) หรือ เฟลมฟิช (Flame Fish : Apogon  maculates ) เรียกได้ว่าถ้าพูดถึงเฟลมขึ้นมาโดยไม่มีคำอื่นๆ ต่อท้าย ก็มั่นใจได้ว่าเขากำลังพูดถึงเฟลมแองเจิลอยู่อย่างแน่นอน
เฟลม แองเจิลเป็นปลาที่มีการผสมข้ามสายพันธุ์กับแองเจิลแคระอีกหลายชนิด เช่น พ็อตเตอร์แองเจิล  และหมอม่วง โดยลูกผสมที่ได้ก็มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างทั้งพ่อและแม่ จนบางทีก็เป็นการยากที่จะชี้ชัดว่าเป็นปลาชนิดใดกันแน่ นอกจากการทดสอบทางดีเอ็นเอและตรวจสอบโครงสร้างทางกายวิภาคอย่างละเอียด แต่อย่างไรก็ตามปลาที่มีลักษณะก้ำกึ่งเช่นนี้ มักจะมีราคาสูงในตลาดปลาสวยงาม เพราะความหายากและแปลกตาของมัน
เฟลมแอ งเจิลถึงจะเป็นปลาที่หาจับได้หลายแหล่งแต่เฟลมแองเจิลจากหมู่เกาะฮาวายแท้ๆ นั้นเป็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยว่ากันว่า เฟลมแองเจิลที่พบรอบๆ หมู่เกาะแห่งนี้นั้นมีสีสันสดใสและมีลวดลายสวยงามว่าที่อื่นหลายเท่า แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเฟลมแองเจิลจากฮาวายแท้ๆ นั้นได้ลดจำนวนลงมากจากอดีตทำให้เฟลมที่ถูกส่งออกจากฮาวายในปัจจุบันนั้น เป็นปลาที่ถูกรวบรวมมาจากแนวปะการังอื่นๆ ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่ยังคงพุ่งสูงอยู่เสมอแทน
สำหรับตู้ ที่ใช้เลี้ยงเฟลมให้ได้ดีนั้นจะต้องเป็นตู้ที่ไม่เล็กเกินไป ควรมีขนาดขั้นต่ำ 150ลิตร และมีหินและซอกหลืบเป็นจำนวนมากเพื่อให้เจ้าเฟลมแองเจิลได้หลบซ่อนและมุดลอด ไปมา เนื่องจากตาม ธรรมชาติ แล้วปลาชนิดนี้จะอยู่ตามซอกหินและปะการัง และจะจิกเศษ สาหร่าย ตามหินและ ปะการัง และควรจะเป็นตู้ที่ตั้งมานานแล้วเพราะจะมีสาหร่ายขนาดเล็กๆ ให้ปลาได้ว่ายตอดกินตลอดทั้งวันเหมือนในธรรมชาติ ในช่วงแรกที่ได้ปลามานั้นจะเป็นการดีมากถ้าหากผู้เลี้ยงจะให้อาหารจำนวน น้อยๆ แต่มากครั้งในแต่ละวัน ก่อนจะลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียงวันละ 1-2 มื้อ ตามปกติ เพราะจะช่วยให้ปลาปรับตัวได้ง่ายและเร็วขึ้นเนื่องจากสุขภาพที่กลับมา สมบูรณ์แข็งแรงเหมือนเดิม
แต่โดยทั่วไปนั้น เฟลมแองเจิลถือว่าเป็นเฟลมแองเจิลแคระที่เลี้ยงได้ค่อนข้างง่าย  กินอาหารเก่ง อาหารหลัก ของเฟลมแองเจิล จะเป็นได้ทั้งจำพวก สาหร่ายทะเล และ เนื้อสัตว์ทะเลต่างๆ เฟลมแอลเจิลจะค่อนข้างดุร้ายต่อปลาในตระกูลเดียวกัน ดังนั้นควรที่จะเลี้ยงแอลเจิลขนาดเล็กได้แค่เพียงหนึ่งชนิดเท่านั้นภายในตู้ หรือในช่วงแรกอาจจะทดลองให้อาหารสดแล้วค่อยปรับเปลี่ยนเป็นการให้อาหาร สำหรับรูปในภายหลัง หรือว่าถ้าใครใจแข็งพอ จะฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปในคราวเดียวก็ได้เช่นกัน เพราะปลาชนิดนี้ถือว่าเป็นปลาที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในตู้ปลาได้ดี แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แล้วก็ตามเพราะหากลองสังเกตดูจะพบว่า แองเจิลแคระชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่นั้น มักจะมีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ยากมาก และมักจะตายลงในเวลาสั้นๆ แต่เฟลมกลับไม่มีปัญหานี้เท่าไหร่นัก
เฟลม แอลงจิลเป็นแองเจิลแคระที่สามารถแยกเพศได้ด้วยตาเปล่า ปลาตัวผู้จะมีสีสดเข้มและมีลายสีดำขีดอย่างชัดเจน รวมถึงมีแต้มสีน้ำเงินเข้มจัดบริเวณปลายครีบทั้งบนและล่างที่แหลมกว่า ในขณะที่ปลาเพศเมียจะมีปลายครีบค่อนข้างมน มีขนาดเล็กและขีดสีดำอ่อนกว่าปลาเพศผู้มาก แต่การจำแนกเพศด้วยลักษณะทางกายภาพภายนอกด้วยตาเปล่าก็อาจจะผิดพลาดได้ง่าย ถ้าเกิดผู้แยกไม่มีความชำนาญพอ แต่ปลาจำพวกนี้ก็เป็นปลาที่สามารถเปลี่ยนเพศได้เองอยู่ด้วยแล้ว โดยเฉพาะเมื่อนำปลาเพศเมียมาอยู่รวมกันหลายตัว ปลาที่เป็นจ่าฝูงจะค่อยๆ เปลี่ยนตัวเองให้เป็นปลาเพศผู้
ท้ายนี้ผู้เขียนหวังว่าเฟลมแองเจิล เป็นแองเจิลแคระที่มีความน่าเลี้ยงเป็นอย่างสูง เนื่องจาก ราคาที่ไม่เกินเอื้อมมากนัก เลี้ยงไม่ยากจนเกินไป และมี สีสันสดใสที่ สุดจะสะดุดดา อย่าง เฟลวไฟ ดั่งชื่อของมันใครหลายคนอยากจะทดลองเลี้ยงเป็นกลุ่มเล็กๆ ในตู้ดูซักครั้งเผื่อว่าบางที่อาจจะมีการผสมพันธุ์เกิดขึ้นให้เป็นที่ชื่นใจ เป็นการท้าทายที่ประสบความสำเร็จ แต่การเลี้ยงปลาชนิดนี้รวมกันหลายๆ ตัวผู้เลี้ยงควรจะมีตู้ที่มีขนาดใหญ่มากพอให้ปลาได้มีอาณาเขตเป็นของตัวเอง บ้าง และมีที่ให้หลบซ่อนอย่างเพียงพอ

เอกสารอ้างอิง

The  fish max.  June 2010 [vol.11]. ISSN 1906-6201 หน้า 128-129,132
ภวพล  ศุภนันทนานนท์(2549) .นิตยสาร อควา ปีที่ 5 ฉบับที่ 47 ธันวาคม .หน้า 100-101.
http://www.reefjungle.com
http://batkuza.exteen.com/page-3