กรรณิการ์ |
ชื่ออื่นๆ : |
กรณิการ์ กณิการ์ |
ชื่อสามัญ : |
Night glooming jasmine, Night flower jasmine, Night blooming jasmine, Tree of sadness |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : |
Nyctanthes arbor-tristis L. |
วงศ์ : |
Oleaceae |
ถิ่นกำเนิด : |
ประเทศอินเดีย |
ลักษณะทั่วไป : |
ไม้พุ่มเตี้ย รูปแบบทรงพุ่มไม่ค่อยแน่นอน แต่ค่อนข้างกลม |
ฤดูการออกดอก : |
ออกดอกตลอดปี แต่ออกมากช่วงปลายฝนต้นหนาว |
เวลาที่ดอกหอม : |
หอมอ่อนตั้งแต่เย็นแดดอ่อน – กลางคืน |
การขยายพันธุ์ : |
 |
การปักชำ ใช้กับกิ่งที่มียอดอ่อน เป็นวิธีการที่เหมาะสม ออกรากได้ไม่ยาก |
 |
การตอน ยังไม่ได้ทดลองปฏิบัติจริง |
|
ข้อดีของพันธุ์ไม้ : |
 |
ออกดอกให้ชมได้บ่อย |
 |
ดอกใน 1 ช่อจะทะยอยบาน จึงทำให้ได้ชมดอกหลายวัน |
 |
ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน |
|
ข้อแนะนำ : |
 |
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ควบคุมทรงพุ่มได้ค่อนข้างยาก มีการแตกของกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ |
 |
ต้องควบคุมทรงพุ่มโดยการตัดแต่งภายหลังการออกดอก |
 |
เมื่อปลูกไปได้ระยะหนึ่ง 2 – 3 ปี ควรมีการตัดแต่งครั้งใหญ่ (ทำสาว) ครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้กิ่งใหม่ |
 |
โดยธรรมชาติกรรณิการ์จะเจริญเติบโตในที่ได้รับแสงแดดประมาณครึ่งวัน (แดดเช้า) แต่ก็สามารถปลูกในที่มีแดดเต็มวันแต่ขนาดใบและดอกจะเล็กลง สีใบจะซีด |
 |
ใบค่อนข้างกระด้างอาจทำให้เกิดผื่นคันให้กับผิวหนังกับผู้ที่มีอาการแพ้ได้บ้าง |
|
ข้อมูลอื่นๆ : |
 |
ดอก ให้สารสีเหลือง ใช้ในการย้อมผ้าของคนโบราณ |
 |
ต้น แก้ปวดศีรษะ ใบ บำรุงน้ำดี |
 |
ดอก แก้ไข้และลมวิงเวียน |
 |
ราก แก้อุจจาระเป็นพรรดึก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ผมหงอก บำรุงผิวหนังให้สดชื่น |
 |
ต้นและราก ต้มรับประทานแก้ไอ |
|
เอกสารอ้างอิง : |
|
รวบรวมโดย : |
นพพล เกตุประสาท และไพร มัทธวรัตน์ หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม |