ปลากระดี่แคระ (Dwarf Gourami)
เป็นปลาน้ำจืดสวยงามชนิดหนึ่งที่มีบทบาทในประเทศไทย ซึ่งเป็นปลา
สวยงามที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมคือประเทศอินเดียตอนใต้ ลักษณะทั่วไปของปลากระดี่-
แคระ มีความยาวประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร จึงเรียกว่าปลากระดี่แคระ ลักษณะของเพศผู้จะมีความสวยงามกว่า
เพศเมีย สีของเพศผู้ จะมีสีออกเป็นโทนสีแดง และมีครีบหลัง ครีบหางยาว ลำตัวค่อนข้างเพรียวยาวกว่าเพศเมีย
ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีออกโทนสีครีมหรือสีมุก ลำตัวป้อมและค่อนข้างสั้นกว่าเพศผู้(Vierke,1988) ปัจจุบันได้รับ
ความสนใจจากนักเลี้ยงปลาสวยงามในประเทศไทย และมีความต้องการจากตลาดปลาสวยงามในประเทศและ
ต่างประเทศ ปลากระดี่แคระเมื่อปล่อยลงผสมพันธุ์กัน ปลาชนิดนี้ก่อหวอดวางไข่ เพศผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน เมื่อ
ผสมพันธุ์แล้วจะไล่เพศเมียไม่ยอมให้เข้าใกล้ ผู้เลี้ยงควรรีบย้ายเพศเมียออก ไข่ของปลากระดี่แคระค่อนข้างเล็กมาก
เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้ว ควรใส่พรรณไม้น้ำหรือที่หลบซ่อนให้ลูกปลา ทำให้ลูกปลามีอัตรารอดเพิ่มขึ้น การเลี้ยงปลา
กระดี่แคระไม่ควรจัดตู้ให้สว่างมากเกินไป ควรมีพรรณไม้น้ำ กิ่งไม้ ซอกหินให้ปลาได้หลบซ่อน ถ้าปลาคุ้นเคยแล้วสีจะ
สวยงามมาก ปลากระดี่แคระกินอาหารค่อนข้างน้อยแต่กินอาหารได้แทบทุกชนิด แม้กระทั่งอาหารสำเร็จรูปเม็ดเล็กๆ
โรคที่พบบ่อย ได้แก่ วัณโรค เชื้อรา ท้องบวม จุดขาว ปรสิตภายนอก(นิรัติศัย, 2535) และสปอร์โรซัว (คีรี, 2545)
ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับชีววิทยาการสืบพันธุ์บางประการ เช่น ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ ฤดูวางไข่ การ
พัฒนาการของปลากระดี่แคระจะนำไปสู่การพัฒนาการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ เพื่อการส่งออก สามารถจำหน่ายยัง
ต่างประเทศเพื่อนำรายได้เข้าประเทศต่อไป