“เกลือ” เค็ม แต่ดี

“เกลือ” เค็ม แต่ดี

สารเคมีเก่าแก่ที่เป็นที่รู้จักกันมานานนม ตั้งแต่คนรุ่นเก่า จนถึงคนรุ่นปัจจุบัน ตั้งแต่ปลาตัวแรกที่เริ่มเลี้ยง จนถึงปลาตัวล่าสุดที่ว่ายในบ่อ ล้วนแต่เกี่ยวพันกับ “เกลือ” กันทั้งนั้น
ความมหัศจรรย์ของ “เกลือ” หรือภาษาอังกฤษที่เรียกกันว่า “Salt” นั้น กำลังจะถูกเปิดเผยแก่ท่าน ณ ที่นี้แล้ว เกลือ หากเอ่ยชื่อมันเฉยๆ ให้หลายๆ คนฟัง ถ้าเราได้ยินคงนึกถึงเกลือบนโต๊ะ พอพูดถึงชาวบ้านธรรมดา บางคนก็นึกถึงเกลือเม็ด บางคนก็นึกถึงเกลือหน้าดินที่ชาวภาคอีสานเขาขุดหน้าดินมาต้ม หรือที่เรียกว่า เกลือสินเธาว์ หากคุยกับนักวิชาการสายวิทยาศาตร์ ก็คงนึกถึงว่า เป็นสารประกอบที่เกิดจากการเอากรดและด่างมาทำปฏิกิริยากัน
ผมจึงขอสรุปเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันครับว่า เกลือที่เราพูดถึงคือ Sea Salt ครับ ไม่ใช่เกลือที่ใช้ในครัว ไม่ใช่เกลือสินเธาว์ และไม่ใช่เกลือชนิดอื่นๆ ที่เราพอจะนึกถึง เป็นสารประกอบทางเคมีที่เราเรียกว่า โซเดียมคลอไรด์ NaCl ไงล่ะครับ ซึ่งพอมันละลายน้ำแล้ว จะเกิดการแตกตัว เป็นธาตุ 2 ตัว คือ Na+ และ Cl-
ทำไมจึงต้องเป็น “เกลือทะเล” เกลือตัวนี้หาได้ง่าย และคงสภาพในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่การเติม additive ต่างๆ ลงไปเหมือนเกลือปรุงอาหารที่เติมไอโอดีน ซึ่งอาจจะทำปฏิกิริยากับยาหรือสารเคมีตัวอื่นที่เราใช้ร่วมกันได้ เกลือทะเล ยังเป็นเกลือที่ละลายน้ำแล้ว ไม่ทำให้พีเอชของน้ำเปลี่ยนไป
เกลือเม็ด พยายามเลือกที่สะอาดๆ หน่อย

ก่อนเราจะเจาะลึกในขั้นต่อไป คงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานอีกนิดคือ เรื่องการออสโมซิส หมายถึง การเคลื่อนที่ของสารละลาย จากความหนาแน่นต่ำ ไปยังความหนาแน่นสูง โดยผ่านเนื้อเยื่อตัวกลางที่ยอมให้สารละลายดังกล่าวซึมผ่านได้ ซึ่งปกติปลาน้ำจืด รวมถึงปลาคาร์พด้วย จะมีระดับความเข้มข้นของสารละลายต่างๆ ในตัวปลาอยู่ที่ประมาณ 0.9 % แต่น้ำในบ่อหรือน้ำจืดทั่วไป 0.02 % (ขณะที่น้ำทะเล จะมีระดับความเข้มข้นของสารละลายประมาณ 3 %) น้ำในบ่อเลี้ยงจะพยายามไหลผ่านเข้าไปสู่ตัวปลา ผ่านทางเหงือกอยู่ตลอดเวลา จนกว่าระดับความเข้มข้นระหว่างภายในตัวปลาจะเท่ากับระดับความเข้มข้นของสารละลายภายนอกตัวปลา ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำส่วนเกินเหล่านี้ออกจากตัว และเกล็ดก็ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกไหลเข้าสู่ตัวปลาด้วยครับ การขับน้ำออกจากตัวปลา และการป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้ามามากเกินไป พวกนี้ทำให้ปลาต้องใช้พลังงานจากการเผาผลาญอาหาร วันหนึ่งๆ ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกจากตัวปลาประมาณว่า 20% ของน้ำหนักตัว ขณะที่เราปัสสาวะวันหนึ่งๆ ประมาณ 2 % เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว (เห็นไหมล่ะครับว่า ไตสำคัญแค่ไหน)
•    ประการที่ 1 เกลือ จึงเป็นสารประกอบที่ถูกเลือกให้มาทำหน้าที่ ลดแรงดันของสารละลายภายนอกที่จะพยายามเข้าสู่ตัวปลาตลอดเวลา ทำให้ปลามีพลังงานเหลือพอที่จะใช้ในการต่อสู้กับเชื้อโรค หรือภาวะเครียดต่างๆ ระดับความเข้มข้นของสารละลายที่ผมมักจะแนะนำให้ผู้เลี้ยงใช้กรณีปลาป่วย คือ 0.3 – 0.5 % (เกลือทะเล 300 – 500 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร) กรณีปลาป่วยหนัก เช่น โรครู เกล็ดตั้ง ที่น้ำภายนอกจะเข้าสู่ตัวปลาได้ง่าย การใช้เกลือในอัตราดังกล่าว จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น
•    ประการที่ 2 เกลือถูกใช้ในการกำจัดปรสิต กรณีที่มีปัญหาเรื่องปรสิต ฟาร์มปลามักจะใช้เกลือละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 2% กำจัดปรสิตในตัวปลา ประมาณ 10-20 นาที แล้วสังเกตอาการ หากปลาเริ่มมีปัญหาการทรงตัว ก็ต้องรีบปล่อยลงบ่อ วิธีนี้จะช่วยกำจัดปรสิตที่ติดมาประเภทโปรโตซัว เห็บปลาและหนอนสมอ กระบวนการในการทำลายปรสิตพวกนี้ ก็คือ ระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันของน้ำเกลือและสารละลายภายในตัวปรสิตนั่นเอง ทำให้ปรสิตเหล่านี้สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว วิธีนี้ครอบคลุมปรสิตได้ในระดับหนึ่งครับ กรณีเรากักโรคปลาใหม่ สามารถผสมผสานวิธีนี้ร่วมกับการกักแบบปกติได้ครับ
•    ประการที่ 3 เกลือช่วยลดระดับความเป็นพิษของไนไตรท์ เกลือที่ละลายน้ำแตกตัวเป็นประจุ Na+ จะซึมผ่านไปยังตัวปลา ป้องกันไม่ให้ไนไตรท์ NO2 – เข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กในเม็ดเลือดแดง ทำให้ความสามารถในการจับออกซิเจนลดลง
•    ประการที่ 4 เกลือยังเป็นสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นให้ปลามีการขับเมือกออกมามาก ๆ ปกป้องตัวเองจากปรสิตและเชื้อโรคต่างๆ (ในเมือก มีสารฆ่าเชื้อโรคผสมอยู่ หากใครที่ยังมีความเชื่อว่า ปลาป่วยเห็นเมือกมาก ๆแล้วขูดเมือกออก คิดผิดคิดใหม่ได้นะ)
•    ประการที่ 5 เกลือช่วยในการล้างซีโอไลท์ ทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยมันจะเข้าไปทำให้ซีโอไลท์คายแอมโมเนียออกมา ใช้แค่ 0.3 % ก็ช่วยยืดอายุซีโอไลท์ของคุณได้ยาวนาน
•    ประการที่ 6 เกลือเป็นสารเคมีที่ปลอดภัยต่อปลา คนและสัตว์เลี้ยงสูง และอาจจะกล่าวได้ว่า แทบจะไม่มีผลกระทบในแง่ลบต่อปลาเลย ต่างจากฟอร์มาลีน มาลาไครท์กรีนที่อาจจะยิ่งไปซ้ำเติมสภาพปลาให้ป่วยรุนแรงมากขึ้น
•    ประการที่ 7 เกลือ เป็นสารเคมีที่ค่อนข้างเสถียร ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อโดนแสงแดด หรือสารอินทรีย์ในน้ำ ทำให้มันสามารถคงประสิทธิภาพได้นาน
•    ประการที่ 8 การใช้เกลือในระดับความเข้มข้นดังกล่าว ไม่ทำอันตรายต่อจุลินทรีย์ในระบบกรองชีวภาพ ต่างจากมาลาไครท์กรีน ฟอร์มาลีน และด่างทับทิม ระบบกรองชีวภาพจึงไม่ถูกขัดจังหวะ
•    ประการที่ 9 เกลือเป็นสารเคมีที่มีราคาถูก หาได้ง่าย

เกลือที่มีสีแบบนี้ แสดงว่า
อาจจะมีแร่ธาตุตัวอื่นเจือปนไม่ควรใช้

เกลือปรุงอาหาร มักจะมีไอโอดีนผสมอยู่
ก็ไม่แนะนำให้ใช้ครับ

เกลือเม็ดหรือเกลือทะเลนี่แหละคือ คำตอบ

หากใครเคยจ่ายตลาด จะเห็นได้เลยครับว่า
ปลาตัวนี้เหงือกซีดจากการที่มีแอมโมเนียสูงเกินไป

เกลือเม็ดที่ผสมยาสำเร็จขายเป็นถุง จะเชื่อได้อย่างไรว่า ยาไม่โดนแสงไม่ถูกความร้อนจนเสื่อมแล้ว

Epistylis ปรสิตชนิดหนึ่งที่ทนเกลือไม่ได้

สำหรับคนชั่งไม่ค่อยเป็น การใช้เครื่องมือวัดระดับความเค็มอำนวยความสะดวกได้ดี แต่อย่าลืมทำความสะอาดหลังใช้แล้วทุกครั้ง และอย่าลืมเช็ค % ความผิดพลาดของเครื่องมือด้วยครับ        ข้อดี 9 ประการที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนจากการใช้เกลือเม็ด หรือเกลือทะเล ก่อนจบฝากไว้สักนิดว่า
1.    คนส่วนใหญ่มักจะใช้เกลือโดยไม่ได้ใส่ใจเรื่องอัตราส่วน ความจริงคือใช้น้อยไปก็ไม่ได้ผลอะไรมากนัก ใช้มากไปทิศทางการออสโมซิสจะย้อนศรเหมือนเอาปลาน้ำจืดไปเลี้ยงในน้ำเค็มผลก็คือปลาตาย
2.    เกลือก็เหมือนสารเคมีตัวอื่น เมื่อละลายน้ำแล้ว ทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำจะลดลง จำเป็นต้องเติมอากาศให้พอเพียง
3.    บางกรณี เกลือเปรียบเสมือนผลิตภัณฑ์อาหารเสริมครับ ไม่ได้แก้ปัญหาโดยตรง จำเป็นต้องค้นหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขหลักก่อน แล้วจึงใช้เกลือเป็นตัวเสริมด้วยครับ
4.    เกลือสำเร็จที่ผสมยาแล้ว ตระหนักสักนิดก่อนซื้อว่า ยาปลา ก็คล้าย ๆกับยาคนตรงที่ต้องเก็บให้ดี อยู่ในอากาศเย็น ไม่ให้โดนแสงสว่าง ไม่ให้โดนอากาศ อย่างนี้แล้วควรใช้หรือไม่ คิดดูเอา
5.    ยังไง ยังไงก็ไม่แนะนำให้เติมเกลือลงบ่อโดยตรง ไม่ว่าน้อยหรือมาก เพราะในน้ำปกติ ก็มีเกลือละลายอยู่แล้ว ใช้ไปนานๆ ไดโว่ผุ ไฟรั่ว ได้ไม่คุ้มเสีย
6.    เกลือจะมีผลต่อพืชน้ำพอควร พืชน้ำบางชนิดทนความเค็มไม่ได้ แม้เพียงแค่ 0.1 % ก็ตาม การแยกปลาออกมาแล้วค่อยใช้เกลือจึงจะถูกต้องมากกว่า
Pat Koilover Group 16/6/46

เกลือ” เค็ม แต่ดี

    สารเคมีเก่าแก่ที่เป็นที่รู้จักกันมานานนม ตั้งแต่คนรุ่นเก่าจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน ตั้งแต่ปลาตัวแรกที่เริ่มเลี้ยง จนถึงปลาตัวล่าสุดที่ว่ายในบ่อล้วนแต่เกี่ยวพันกับ “เกลือ” กันทั้งนั้น
ความมหัศจรรย์ของ “เกลือ”หรือภาษาอังกฤษที่เรียกกันว่า “Salt” นั้น กำลังจะถูกเปิดเผยแก่ท่าน ณ ที่นี้แล้วเกลือ หากเอ่ยชื่อมันเฉยๆ ให้หลายๆ คนฟัง ถ้าเราได้ยินคงนึกถึงเกลือบนโต๊ะพอพูดถึงชาวบ้านธรรมดา บางคนก็นึกถึงเกลือเม็ดบางคนก็นึกถึงเกลือหน้าดินที่ชาวภาคอีสานเขาขุดหน้าดินมาต้ม หรือที่เรียกว่าเกลือสินเธาว์ หากคุยกับนักวิชาการสายวิทยาศาตร์ ก็คงนึกถึงว่าเป็นสารประกอบที่เกิดจากการเอากรดและด่างมาทำปฏิกิริยากัน
ผมจึงขอสรุปเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันครับว่าเกลือที่เราพูดถึงคือ Sea Salt ครับ ไม่ใช่เกลือที่ใช้ในครัว ไม่ใช่เกลือสินเธาว์และไม่ใช่เกลือชนิดอื่นๆ ที่เราพอจะนึกถึง เป็นสารประกอบทางเคมีที่เราเรียกว่าโซเดียมคลอไรด์ NaCl ไงล่ะครับ ซึ่งพอมันละลายน้ำแล้ว จะเกิดการแตกตัว เป็นธาตุ 2 ตัว คือ Na+ และ Cl-
ทำไมจึงต้องเป็น “เกลือทะเล” เกลือตัวนี้หาได้ง่ายและคงสภาพในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่การเติม additive ต่างๆลงไปเหมือนเกลือปรุงอาหารที่เติมไอโอดีนซึ่งอาจจะทำปฏิกิริยากับยาหรือสารเคมีตัวอื่นที่เราใช้ร่วมกันได้ เกลือทะเลยังเป็นเกลือที่ละลายน้ำแล้ว ไม่ทำให้พีเอชของน้ำเปลี่ยนไป
เกลือเม็ด พยายามเลือกที่สะอาดๆหน่อย

 

    ก่อนเราจะเจาะลึกในขั้นต่อไปคงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานอีกนิดคือ เรื่องการออสโมซิส หมายถึงการเคลื่อนที่ของสารละลาย จากความหนาแน่นต่ำ ไปยังความหนาแน่นสูงโดยผ่านเนื้อเยื่อตัวกลางที่ยอมให้สารละลายดังกล่าวซึมผ่านได้ ซึ่งปกติปลาน้ำจืดรวมถึงปลาคาร์พด้วย จะมีระดับความเข้มข้นของสารละลายต่างๆ ในตัวปลาอยู่ที่ประมาณ 0.9 % แต่น้ำในบ่อหรือน้ำจืดทั่วไป 0.02 % (ขณะที่น้ำทะเลจะมีระดับความเข้มข้นของสารละลายประมาณ 3 %) น้ำในบ่อเลี้ยงจะพยายามไหลผ่านเข้าไปสู่ตัวปลา ผ่านทางเหงือกอยู่ตลอดเวลาจนกว่าระดับความเข้มข้นระหว่างภายในตัวปลาจะเท่ากับระดับความเข้มข้นของสารละลายภายนอกตัวปลาไตจะทำหน้าที่ขับน้ำส่วนเกินเหล่านี้ออกจากตัวและเกล็ดก็ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกไหลเข้าสู่ตัวปลาด้วยครับการขับน้ำออกจากตัวปลา และการป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้ามามากเกินไปพวกนี้ทำให้ปลาต้องใช้พลังงานจากการเผาผลาญอาหาร วันหนึ่งๆไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกจากตัวปลาประมาณว่า 20% ของน้ำหนักตัวขณะที่เราปัสสาวะวันหนึ่งๆ ประมาณ 2 % เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว (เห็นไหมล่ะครับว่าไตสำคัญแค่ไหน)

  • ประการที่ 1 เกลือ จึงเป็นสารประกอบที่ถูกเลือกให้มาทำหน้าที่ลดแรงดันของสารละลายภายนอกที่จะพยายามเข้าสู่ตัวปลาตลอดเวลาทำให้ปลามีพลังงานเหลือพอที่จะใช้ในการต่อสู้กับเชื้อโรค หรือภาวะเครียดต่างๆระดับความเข้มข้นของสารละลายที่ผมมักจะแนะนำให้ผู้เลี้ยงใช้กรณีปลาป่วย คือ 0.3 – 0.5 % (เกลือทะเล 300 – 500 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร) กรณีปลาป่วยหนัก เช่น โรครูเกล็ดตั้ง ที่น้ำภายนอกจะเข้าสู่ตัวปลาได้ง่าย การใช้เกลือในอัตราดังกล่าวจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น
  • ประการที่ 2 เกลือถูกใช้ในการกำจัดปรสิต กรณีที่มีปัญหาเรื่องปรสิตฟาร์มปลามักจะใช้เกลือละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 2% กำจัดปรสิตในตัวปลา ประมาณ 10-20 นาที แล้วสังเกตอาการ หากปลาเริ่มมีปัญหาการทรงตัว ก็ต้องรีบปล่อยลงบ่อวิธีนี้จะช่วยกำจัดปรสิตที่ติดมาประเภทโปรโตซัว เห็บปลาและหนอนสมอกระบวนการในการทำลายปรสิตพวกนี้ ก็คือระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันของน้ำเกลือและสารละลายภายในตัวปรสิตนั่นเองทำให้ปรสิตเหล่านี้สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว วิธีนี้ครอบคลุมปรสิตได้ในระดับหนึ่งครับกรณีเรากักโรคปลาใหม่ สามารถผสมผสานวิธีนี้ร่วมกับการกักแบบปกติได้ครับ
  • ประการที่ 3 เกลือช่วยลดระดับความเป็นพิษของไนไตรท์เกลือที่ละลายน้ำแตกตัวเป็นประจุ Na+ จะซึมผ่านไปยังตัวปลา ป้องกันไม่ให้ไนไตรท์ NO2 – เข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กในเม็ดเลือดแดงทำให้ความสามารถในการจับออกซิเจนลดลง
  • ประการที่ 4 เกลือยังเป็นสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นให้ปลามีการขับเมือกออกมามาก ๆปกป้องตัวเองจากปรสิตและเชื้อโรคต่างๆ (ในเมือก มีสารฆ่าเชื้อโรคผสมอยู่หากใครที่ยังมีความเชื่อว่า ปลาป่วยเห็นเมือกมาก ๆแล้วขูดเมือกออกคิดผิดคิดใหม่ได้นะ)
  • ประการที่ 5 เกลือช่วยในการล้างซีโอไลท์ ทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยมันจะเข้าไปทำให้ซีโอไลท์คายแอมโมเนียออกมา ใช้แค่ 0.3 % ก็ช่วยยืดอายุซีโอไลท์ของคุณได้ยาวนาน
  • ประการที่ 6 เกลือเป็นสารเคมีที่ปลอดภัยต่อปลา คนและสัตว์เลี้ยงสูงและอาจจะกล่าวได้ว่า แทบจะไม่มีผลกระทบในแง่ลบต่อปลาเลย ต่างจากฟอร์มาลีนมาลาไครท์กรีนที่อาจจะยิ่งไปซ้ำเติมสภาพปลาให้ป่วยรุนแรงมากขึ้น
  • ประการที่ 7 เกลือ เป็นสารเคมีที่ค่อนข้างเสถียร ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อโดนแสงแดดหรือสารอินทรีย์ในน้ำ ทำให้มันสามารถคงประสิทธิภาพได้นาน
  • ประการที่ 8 การใช้เกลือในระดับความเข้มข้นดังกล่าวไม่ทำอันตรายต่อจุลินทรีย์ในระบบกรองชีวภาพ ต่างจากมาลาไครท์กรีน ฟอร์มาลีนและด่างทับทิม ระบบกรองชีวภาพจึงไม่ถูกขัดจังหวะ
  • ประการที่ 9 เกลือเป็นสารเคมีที่มีราคาถูกหาได้ง่าย

 

เกลือที่มีสีแบบนี้แสดงว่า
อาจจะมีแร่ธาตุตัวอื่นเจือปนไม่ควรใช้

เกลือปรุงอาหารมักจะมีไอโอดีนผสมอยู่
ก็ไม่แนะนำให้ใช้ครับ

เกลือเม็ดหรือเกลือทะเลนี่แหละคือคำตอบ

 

หากใครเคยจ่ายตลาดจะเห็นได้เลยครับว่า
ปลาตัวนี้เหงือกซีดจากการที่มีแอมโมเนียสูงเกินไป

เกลือเม็ดที่ผสมยาสำเร็จขายเป็นถุง จะเชื่อได้อย่างไรว่ายาไม่โดนแสงไม่ถูกความร้อนจนเสื่อมแล้ว

Epistylis ปรสิตชนิดหนึ่งที่ทนเกลือไม่ได้

 

สำหรับคนชั่งไม่ค่อยเป็นการใช้เครื่องมือวัดระดับความเค็มอำนวยความสะดวกได้ดีแต่อย่าลืมทำความสะอาดหลังใช้แล้วทุกครั้ง และอย่าลืมเช็ค %ความผิดพลาดของเครื่องมือด้วยครับ

    ข้อดี 9 ประการที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนจากการใช้เกลือเม็ด หรือเกลือทะเลก่อนจบฝากไว้สักนิดว่า

1.        คนส่วนใหญ่มักจะใช้เกลือโดยไม่ได้ใส่ใจเรื่องอัตราส่วนความจริงคือใช้น้อยไปก็ไม่ได้ผลอะไรมากนักใช้มากไปทิศทางการออสโมซิสจะย้อนศรเหมือนเอาปลาน้ำจืดไปเลี้ยงในน้ำเค็มผลก็คือปลาตาย

2.        เกลือก็เหมือนสารเคมีตัวอื่น เมื่อละลายน้ำแล้ว ทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำจะลดลงจำเป็นต้องเติมอากาศให้พอเพียง

3.        บางกรณี เกลือเปรียบเสมือนผลิตภัณฑ์อาหารเสริมครับ ไม่ได้แก้ปัญหาโดยตรงจำเป็นต้องค้นหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขหลักก่อน แล้วจึงใช้เกลือเป็นตัวเสริมด้วยครับ

4.        เกลือสำเร็จที่ผสมยาแล้ว ตระหนักสักนิดก่อนซื้อว่า ยาปลา ก็คล้ายๆกับยาคนตรงที่ต้องเก็บให้ดี อยู่ในอากาศเย็น ไม่ให้โดนแสงสว่าง ไม่ให้โดนอากาศอย่างนี้แล้วควรใช้หรือไม่ คิดดูเอา

5.        ยังไง ยังไงก็ไม่แนะนำให้เติมเกลือลงบ่อโดยตรง ไม่ว่าน้อยหรือมากเพราะในน้ำปกติ ก็มีเกลือละลายอยู่แล้ว ใช้ไปนานๆ ไดโว่ผุ ไฟรั่ว ได้ไม่คุ้มเสีย

6.        เกลือจะมีผลต่อพืชน้ำพอควร พืชน้ำบางชนิดทนความเค็มไม่ได้ แม้เพียงแค่ 0.1 % ก็ตาม การแยกปลาออกมาแล้วค่อยใช้เกลือจึงจะถูกต้องมากกว่า

Pat Koilover Group 16/6/46