ยามปลาป่วย หลายคนคงจะหัวเสียเพราะกลัวจะเสีย “หัวแก้วหัวแหวน” ที่เรารักเราชอบไป จนบางท่านสติเสีย สิ่งที่รู้มาว่า ควรตรวจสอบก่อนเบื้องต้น ก็ไม่ได้ทำ ยิ่งไปกว่านั้น ยาอะไรใครว่าดี ก็ใส่เข้าไป จนบางทีอาจจะเรียกว่า “เสียสติ” ไปเลย แทนที่ปลาจะหายป่วย กลายเป็นป่วยหนักกว่าเดิม เพราะนอกจากอาการป่วยดั้งเดิมแล้ว ยังต้องมาเจอกับอาการ Overdose จากยาหรือสารเคมีตัวใหม่ที่ใส่เพิ่มลงมาอีก
Check List ศัพท์คำนี้ หากเป็นผู้บริหารหรือคนทำงานในสายบริหารธุรกิจ คงจะรู้จักดีว่า มันคืออะไร นอกจากจะช่วยตรวจสอบจุดต่างๆ เบื้องต้นแล้ว ยังใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาปลาป่วยได้ในเบื้องต้น หรือเป็นการเตรียม Information เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาแก่สัตวแพทย์ หรือพวก Koi Health Advisor เช่นผมได้
เกริ่นกันพอควรแล้ว เรามาดูกันหน่อยครับว่า มีอะไรบ้างใน Check List ที่ผมคิดว่า คุณจำเป็นต้องเช็คก่อนส่งปลาถึงมือหมอ หรือก่อนคุยกันเกี่ยวกับปัญหาปลาป่วย และหลายปัญหาคุณแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองครับ
1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบ่อและระบบการกรอง
1.1 ขนาดบ่อเลี้ยง (คิว,ลบ.ม.)
1.2 ขนาดบ่อกรอง (คิว,ลบ.ม.)
1.3 ความลึกของบ่อ ณ จุดตื้นที่สุด และจุดลึกที่สุด
1.4 ชนิดของมีเดียที่ใช้ในบ่อกรอง
– หินพัมมิส
– มาตาลา
– ปะการัง
– เปลือกหอยนางรม
– ฟิวเตอร์แมท
– ใยแก้ว
– ไบโอบอล
1.5 ลักษณะสะดือบ่อ
– สะดือก้นบ่อ
– สะดือกลางน้ำ
– สะดือหรือท่อน้ำล้น
1.6 สถานที่ตั้งของบ่อ
– กลางแจ้ง
– แนวชายคาบ้าน
– ใต้ชายคาบ้าน
– โดนฝนหรือไม่
– โดนแดดหรือไม่
– ทำเลที่ตั้งบ่อ อยู่ใกล้กับจุดอันตรายหรือไม่ เช่น อยู่ใกล้โกดัง
เก็บสารเคมี ใกล้ทุ่งนา น้ำท่วมง่ายหรือไม่
1.7 จำนวนและขนาดปั้มน้ำที่ใช้
1.8 จำนวนรอบการกรอง
1.9 จำนวนและขนาดปั้มลมที่ใช้
1.10 ลักษณะการเติมอากาศในบ่อเลี้ยงและบ่อกรอง
– ใช้หัวทรายกี่หัว
– ใช้ออกซิเจนริงขนาดใด
– มีการเติมอากาศในบ่อกรองหรือไม่
1.11 จำนวนปลาที่เลี้ยง
1.12 ขนาดปลาที่เลี้ยง
2. ค่าชี้วัดคุณภาพน้ำทั่วไป
2.1 ค่าความเป็นกรด ด่าง (พีเอช) – ค่าที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 7.0 – 8.0 แต่ปลาอาจจะทนได้ตั้งแต่ 6.5 – 9.0
แต่หากมีค่าสูงมาก ความเป็นพิษของแอมโมเนียจะสูงขึ้นด้วย
2.2 ค่าความเข้มข้นของแอมโมเนีย – ค่าที่เหมาะสมควรเป็น ศูนย์ และควรตรวจวัดหลายช่วงเวลา
2.3 ค่าความเข้มข้นของไนไตรท์ – ค่าที่เหมาะสม จะต้องไม่เกิน 0.1 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
2.4 ค่าความเข้มข้นของไนเตรท – ค่าที่เหมาะสม จะต้องไม่เกิน 50 พีพีเอ็ม (มิลลิกรัมต่อลิตร)
2.5 ระดับอุณหภูมิของน้ำ (องศาเซลเซียส) – ค่าที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 28 องศาเซลเซียส
2.6 ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ พีพีเอ็ม) – ค่าที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระดับอุณหภูมิของน้ำ ระบบการเติม
อากาศ ความเข้มข้นของสารละลายต่างๆ ในน้ำ ความหนาแน่นของปลา
2.7 ลักษณะสภาพน้ำทั่วไป – ลักษณะที่ดีที่เราสังเกตเห็นได้ คือ ต้อง ใสไม่มีสี ไม่มีตะกอน กลิ่นเหม็น ไม่มีฟอง
หรือคราบไขมัน