หอยแครง เป็นสินค้าสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศอีกชนิดหนึ่งเป็นที่นิยมบริโภคกันโดยทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูงไม่แพ้อาหารโปรตีนชนิดอื่น และมีราคาถูก แหล่งที่มี
การเลี้ยงหอยแครงกันมากได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สตูล และปัตตานี แต่ผลผลิตหอยแครงยังมีปริมาณน้อย ไม่สม่ำเสมอและไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในประเทศขณะที่ความต้องการบริโภคหอยแครงอยู่ในระดับสูง จึงจำเป็นต้องนำเข้าหอยแครงจากต่างประเทศเพื่อบริโภคทุกปี ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีพื้นที่เหมาะสมที่จะขยายการเลี้ยงหอยแครงได้อีกมาก ในอนาคตประเทศไทยจะสามารถเพิ่มผลผลิตหอยแครงให้เพียงพอบริโภคในประเทศ โดยไม่ต้องมีการนำเข้าและมีลู่ทางพัฒนาเพื่อการส่งออกได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นการช่วยลดการขาดดุล ดังนั้นการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงหอยแครงจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแครง และเพิ่มแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูกให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป อีกทั้งเป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งได้เป็นอย่างดี
ควรจะเลือกทำเลชายฝั่งทะเล ในช่วงบริเวณปากแม่น้ำหรืออ่าวและข้อสำคัญคือเป็นแหล่งที่มีหอยแครงเกิดอยู่แล้วในธรรมชาติ หรือสามารถจัดหาพันธุ์หอยเพื่อหว่านเลี้ยงได้สะดวก
การเลือกลักษณะพื้นที่ ต้องเป็นหาดโคลนเรียบ มีความลาดเอียงน้อย (ไม่ควรเกิน 15 องศา) และเป็นอ่าวที่บังคลื่นลมได้ดี กระแสน้ำไม่ไหลแรงเกินไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันกระแสน้ำ หรือคลื่นลมพัดพาหอยแครงไปกองรวมกัน
ดินควรเป็นดินเลนหรือดินโคลนละเอียด หรือดินเหนียวปนโคลน และควรมีความหนาของผิวหน้าดินเลนไม่ต่ำกว่า 40-50 เซนติเมตร และชั้นของเลนเหลวทุกระดับ ไม่ควรมีกลิ่นเหม็น เช่น กลิ่นจากการเน่าสลายของเศษใบไม้จากป่าชายเลน
ช่วงความลึกของน้ำในแหล่งเลี้ยงควรลึกประมาณ 0.5-1 เมตร (ระดับทะเลปานกลาง) ทั้งนี้ไม่ควรให้หอยมีโอกาสตากแดดอยู่ในที่แห้ง (ตอนน้ำลงที่ต่ำสุด เกินกว่า 2-3 ชั่วโมง)
ความเค็มของน้ำทะเลบริเวณแหล่งเลี้ยงเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 10-31 ส่วนในพัน
เป็นแหล่งที่ห่างไกลหรือไม่มีอิทธิพลของน้ำเสียจากโรงงานอุตสหกรรม และแหล่งอาศัยของ
ชุมชน ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้หอยมีอัตราตายสูง เนื้อหอยมีคุณภาพต่ำและไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
การเลี้ยงหอยแครง แบ่งออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้
การเลี้ยงระบบดั้งเดิม
เนื้อที่เลี้ยงตั้งแต่ 5-30 ไร่ โดยจะกั้นคอกด้วยเฝือกไม้ไผ่ล้อมแปลงเลี้ยงเตรียมเผือกไม้ไผ่ให้มีความกว้าง 1 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดของคอก โดยต้องให้เฝือกฝังลงไปในผิวดินประมาณ
50 เซนติเมตร แล้วนำลูกหอยมาหว่าน ขนาดที่นิยมหว่านเลี้ยงมีขนาดประมาณ 450-1,600 ตัว/กิโลกรัม อัตราการหว่านประมาณ 800-1,500 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อหว่านลูกหอยไปแล้วประมาณ 2-3 เดือน จะ ต้องคอยตรวจสอบความหนาแน่นเพื่อเกลี่ยกระจายลูกหอยเป็นประจำทุกเดือน มิฉะนั้นลูกหอยจะเจริญ
เติบโตช้า และกองทับกันทำให้เกิดการตาย หลังจากเลี้ยงไปได้ประมาณ 1-2 ปี ก็จะได้หอยขนาดที่ตลาดต้องการประมาณ 70-80 ตัว/กิโลกรัม สามารถทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยใช้กระดานถีบเลนเก็บหอยด้วยมือหรือใช้คราดมือช่วยเก็บหอย ส่วนผลผลิตของการเลี้ยงจะได้ประมาณ2,000-3,000 กิโลกรัม/ไร่/รุ่น
การเลี้ยงระบบพัฒนา
เป็นการเลี้ยงหอยแครงในเนื้อที่ประมาณ 200-1,000 ไร่/ราย ใช้ไม้เสาปักบอกอาณาเขตห่างกันประมาณ 2 เมตร/1 ต้น ล้อมรอบแปลงหอยลูกหอยที่นำหว่าน ขนาดที่ประมาณ 3,000-5,000 ตัว/กิโลกรัม อัตราการหว่าน 600-700 กิโลกรัม/ไร่ จะหว่านให้หนาแน่น และแยกกระจายให้ลูกหอยมีอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมเป็นประจำทุกเดือนหรือทุกสองเดือน เมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 1-2 ปี ก็จะได้ผลผลิตหอยแครงตามที่ตลาดต้องการ ขนาด 60-70 ตัว/กิโลกรัม ทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้เรือยนต์คราดหอย
และบรรจุกระสอบเพื่อนำผลผลิตส่งให้ผู้รับต่อไป ผลผลิตที่ได้รับอยู่ในช่วงระหว่าง 4,000-5,000 กิโลกรัม/ไร่/รุ
เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตของหอยแครง ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของการ
หว่านหอยและการกระจายอย่างสม่ำเสมอของหอยที่หว่าน หอยที่ปล่อยลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นสูงอาจจะโตดีในช่วงต้น ๆ แต่หลังจากเดือนที่ 1 และ 2 ไปแล้วหอยจะโตช้าเช่นเดียวกันถ้าหว่านหอยให้อยู่กองรวมกันเป็นกระจุก หอยที่อยู่ห่างกระจุกนั้นออกไปจะโตเร็วกว่า ดังนั้นในการหว่านลูกหอยลงเลี้ยงต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทั้งสองนี้อยู่เสมอ
เมื่อลำเลียงลูกหอยมาถึงท่าเทียบเรือที่จะนำหอยไปหว่านในแปลงเลี้ยงนั้น ต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
ชั่งน้ำหนักหอยแต่ละกระสอบ สุ่มตัวอย่างหอยเพื่อจะได้ทราบว่าหอยแต่ละกระสอบมีจำนวนกี่ตัวจะต้องดำเนินการชั่งและคำนวณอย่างเร็วที่สุดเพื่อมิให้หอยอ่อนแอซึ่งจะทำให้เมื่อเลี้ยงแล้วมีอัตราการตายสูง
ลำเลียงหอยไปสู่แปลงเลี้ยง แปลงเลี้ยงควรแบ่งพื้นที่เป็นแปลงเล็กๆ ขนาด 400 ตารางเมตรไว้ก่อน แล้วทำการหว่านหอยโดยใช่จานสังกะสี (ท้องแบน) ตักลูกหอยหว่านให้ลูกหอยกระจายไปทั่วแปลงเลี้ยง
อัตราการหว่านหอย
หอยขนาดเล็ก 1,500 ตัว/กิโลกรัม ขึ้นไป หว่านในอัตรา 600 ตัว/ตารางเมตร
หอยที่ขนาดโตกว่านี้หว่านในอัตรา 300-500 ตัว/ตารางเมตร
เมื่อหว่านหอยเต็มพื้นที่ 400 ตารางเมตรแล้วให้เคลื่อนเรือไปหว่านในแปลงเล็กอื่นต่อไปโดยวิธีเดียวกั
การคำนวณพันธุ์หอยเพื่อหว่านเลี้ยง
1. ชั่งน้ำหนักหอยทั้งกระสอบ (ตัวอย่างเช่น น้ำหนักทั้งกระสอบ = 60 กก.)
2. นำหอยออกมา ชั่งให้ได้น้ำหนัก 1 กิโลกรัม แล้วนับจำนวนลูกหอย (สมมุติได้ 400 ตัว)
3. คำนวณจำนวนหอยในแต่ละกระสอบ (60×400 = 24,000 ตัว)
4. จดขนาดแปลงที่แบ่งไว้ (สมมุติมีขนาด 400 ตารางเมตร)
5. ทราบความต้องการหว่านหอยในอัตราความหนาแน่น ตัว/ตารางเมตร (ต้องการ 400 ตัว / ตารางเมตร)
คำนวณการใช้หอยต่อแปลง (40×400 = 160,000 ตัว หรือ 6.6 กระสอบ) =160,000 24,000
สรุปแล้วจะต้องใช้หอยทั้งหมด 6 กระสอบกับ 36 กิโลกรัม หรือ 6.6 กระสอบ
การจัดการและดูแลรักษา
หมั่นตรวจสอบดูว่าหอยที่เลี้ยงอยู่มีการกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในแปลงเลี้ยงหรือไม่ ถ้าพบว่าหอยในคอกไปรวมกลุ่มกันอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากพื้นเป็นแอ่งซึ่งเกิดจากคลื่นลม การตีแปลงของพวกปลา หรือเกิดจากการไปไหลของผิวหน้าดินเลนพาหอยมากองทับถมกันอยู่ริมคอกด้านน้ำลึก ซึ่งมักจะเกิดในฤดูฝน ก็จะต้องทำการคราดหอยขึ้นมาหว่านใหม่หรืออาจใช้พลั่วตักสาดให้หอยที่เลี้ยงกระจายกันอยู่อย่างสม่ำเสมอตามเดิม นอกจากนี้แล้วควรตรวจดูสัตว์น้ำที่เป็นศัตรูของหอยแครงซึ่งอาศัยอยู่ในแปลงเลี้ยง เช่น ปลาดาว ซึ่งถ้ามีเป็นจำนวนมากจะสามารถทำลายหอยแครงได้ นอกจากนี้ศัตรูหอยแครงยังมีหอยชนิดอื่นๆ อีก หอยหมู หอยตะกาย หอยเจาะ ฯลฯ ถ้าพบสัตว์น้ำดังกล่าว ต้องทำลายโดยเก็บขึ้นไปฝัง หรือเผาเสีย
ต้นทุน สำหรับแปลงเลี้ยงหอย ขนาด 1 ไร่
ค่าพันธุ์หอยแครง ขนาด 3,000 ตัว/กิโลกรัม ราคา 14 บาท/กิโลกรัมหว่าน 700 กิโลกรัม/ไร่
เป็นเงิน 9,800 บาท (ค่าพันธุ์หอยจากมาเลเซีย กิโลกรัมละ 20 บาท)
ค่าแรงงาน 2,000 บาท
ค่าวัสดุและอุปกรณ์อื่นๆ 1,500 บาท
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 1,500 บาท
รวมเป็นเงิน 14,800 บาท
ผลตอบแทน
จะได้ผลผลิต 4,000 – 5,000 กิโลกรัม/ไร่ (กิโลกรัมละ 16 บาท) เป็นเงิน 64,000 บาท