การเปลี่ยนน้ำปลา

ควรให้อาหารอย่างน้อยที่สุด 2 มื้อ แต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน 10 นาที

ตักเศษอาหารหรือเศษใบไม้ ต้นไม้ที่ตายออก สังเกตปลาในตู้ถ้ามีปลาป่วยให้แยกออกมาดูแล นับจำนวนปลาด้วยว่าอยู่ครบหรือไม่

ทุกสัปดาห์ ควรตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ทำความสะอาดกระจกตู้ด้านใน เปลี่ยนน้ำประมาณ 10-20 % ของปริมาตรน้ำทั้งหมด ทำความสะอาดระบบกรองน้ำภายนอกตู้ และตรวจคุณภาพน้ำ

ทุกเดือน เปลี่ยนน้ำประมาณ 50 % ของตู้ โดยเน้นดูดน้ำบริเวณหินหรือกรวดรองพื้น

ทุก 3 เดือน ควรจัดและตกแต่งภายในตู้ใหม่ ทำความสะอาดหิน กรวด ทราย และระบบกรองน้ำทั้งหมด

กิจกรรมดังกล่าวเป็นแค่เพียงตัวย่าง ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถปรับ ดัดแปลงให้เข้ากับการเลี้ยงของตนเองได้

การปรับค่า pH ของน้ำในการเลี้ยงปลา

หลายคนอาจเคยสงสัยเมื่ออ่านหนังสือคู่มือแนะนำการเลี้ยงปลา ต่าง ๆ ว่าทำไมน้ำที่ใช้เลี้ยงปลานั้น ต้องกำหนดค่า pH ที่ต่าง ๆ กัน แล้วเราจะมีวิธีการปรับค่า pH ให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้อย่างไร

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ค่า pH นี้ก็คือ ค่าที่ใช้ในการวัดระดับ ความเป็น กรด-ด่าง ของน้ำและของเหลวต่าง ๆ ซึ่งเราจะรู้ได้โดยการใช้ พีเอชมิเตอร์ หรือ กระดาษวัดพีเอช วัดดู ( ค่าที่ได้ จะมีตั้งแต่ 0 – 14 )

pH ที่ 7 แสดงว่า เป็นกลาง

pH ต่ำกว่า 7 แสดงว่า เป็นกรด

pH สูงกว่า 7 แสดงว่า เป็นด่าง

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเรามีวิธีการปรับค่า pH ของน้ำให้เป็นไปตามที่เราต้องการมาฝากกัน …

– ถ้าน้ำเราเตรียมไว้มีค่า pH ต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพันธุ์ปลาของเรา ( คือมีความเป็นกรดสูงกว่าที่เราต้องการ ) ให้แก้โดยการใส่ปูนขาว หรือสารละลายพวกโปรแตสเซียมไฮดรอกไซด์

– ถ้าในกรณีตรงกันข้าม น้ำที่เตรียมไว้กลับมี ค่า pH สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ( คือเป็นด่าง ) ให้แก้โดยการ ใส่กรดไฮโดรคลอริก หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต

สำหรับการวัดค่า pH ของน้ำนั้น มักจะใช้กับการเลี้ยงปลาเป็นจำนวนมาก ๆ และต้องการปรับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะแก่การเจริญพันธุ์ของปลา เพราะฉะนั้นถ้าใครเลี้ยงเป็นงานอดิเรก หรือรักที่เลี้ยงเป็นเพื่อนคลายเหงาเฉย ๆ ก็ไม่ต้องซีเรียสกันในจุดนี้ก็ได้นะ ขอบอกไว้ก่อน