รคของปลาชนิดหนึ่งซึ่งสามารถติดต่อถึงคนได้ คือ “วัณโรคปลา” โดยจะทำให้เกิดแผลที่มีลักษณะเป็นนตุ่มแข็งสีแดงปนดำบริเวณผิวหนังของคน ส่วนใหญ่จะพบบริเวณ มือ เท้า ข้อศอก หัวเข่า ตาตุ่ม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีบาดแผลที่ผิวหนังอยู่ก่อนแล้ว เมื่อมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อวัณโรคปลาก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้

ท่านผู้อ่านที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปลา ลองสังเกตตามตัวของท่านดูว่ามีอาการดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามีท่านอาจเป็นผู้หนึ่งที่ติดเชื้อวัณโรคปลา ซึ่งควรรีบปรึกษาแพทย์โรคผิวหนังโดยด่วน

จากการศึกษาวัณโรคปลาของทางสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์ น้ำ ตรวจพบว่าวัณโรคปลา ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium sp. มีการระบาดในปลาช่อน ปลากัด ปลากระดี่ ปลาปอมปาดัว ปลาออสก้า ปลาเทวดา และปลาตะพัด ปลาที่ติดเชื้อโรคนี้ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการให้เห็นโดยเฉพาะปลาที่ติดเชื้อ ในระยะแรก ปลาที่ป่วยมากจึงแสดงอาการ เช่น ท้องบวม ตาโปน เกล็ดหลุด สีซีดลงหรือเข้มขึ้น ครีบกร่อน ไม่ค่อยกินอาหาร ไม่ค่อยว่ายน้ำ เป็นต้น

ดังนั้นในการตรวจสอบว่าปลาป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่จึง จำเป็นต้องใช้วิธีการฆ่าปลาก่อน จากนั้นจึงทำการแยกเชื้อ Mycobacterium sp. โดยวิธีทางแบคทีเรียวิทยา และศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อโดยดองตัวอย่างปลาในน้ำยา ฟอร์มาลินเข้มข้น10% แล้วจึงนำอวัยวะที่ต้องการศึกษามาตัดแต่งให้ได้ขนาดที่ต้องการเพื่อผ่านขั้น ตอนการทำเนื้อเยื่อ โดยฝังตัวอย่างลงในพาราฟินแข็ง จากนั้นตัดตัวอย่างให้มีความหนาประมาณ 4-5 ไมครอน แล้วนำไปย้อมสีพิเศษ เพื่อทำเป็นสไลด์ถาวร สำหรับการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์แสง ซึ่งวิธีการดังกล่าวมาแล้วนี้ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบนานกว่าจะทราบผลว่าปลา ติดเชื้อหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีทางแบคทีเรียวิทยานั้น เชื้อ Mycobacterium sp. บางสายพันธุ์ ใช้เวลาในการเจริญเติบโตช้ามากประมาณ 2-3 เดือน จึงจะทราบผลและความถูกต้องในการตรวจสอบการติดเชื้อวัณโรคโดยวิธีนี้ให้ผลต่ำ มาก เนื่องจากการแยกเชื้อชนิดนี้ทำได้ค่อนข้างยาก

เมื่อเปรียบเทียบกับการแยกเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ดังนั้นบางครั้งแม้ว่าปลาจะมีการติดเชื้อวัณโรค ก็ไม่สามารถแยกเชื้อได้ ส่วนวิธีการศึกษาทางพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อใช้เวลาในการตรวจสอบนานประมาณ 1 สัปดาห์ และถ้าปลาติดเชื้อถึงขั้นรุนแรงที่ปลาจะแสดงอาการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อ ก็จะไม่สามารถตรวจสอบได้

ดังนั้นทางสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจึงได้พัฒนาวิธี การตรวจสอบปลาติดเชื้อวัณโรคให้ได้ผลที่รวดเร็วขึ้น และมีความถูกต้องมากขึ้นโดยวิธีที่เรียกว่า แซนวิช อีไลซ่า (Sandwich ELISA) คือ การนำเชื้อ Mycobacterium sp. ที่แยกได้จากปลามาฉีดเข้ากระต่าย เพื่อให้กระต่ายสร้างภูมิคุ้มกัน (antibody) ต่อเชื้อวัณโรค (antigen) เมื่อกระต่ายสร้างแอนติบอดี้ได้ในระดับที่สูงพอ จึงเจาะเลือดกระต่ายมาแยกซีรั่ม เพื่อใช้ในการตรวจสอบการติดเชื้อวัณโรคปลา ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ ในการตรวจสอบจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ เมื่อต้องการจะตรวจสอบการติดเชื้อวัณโรคในปลา ก็สามารถทำได้โดยนำปลามาเจาะเลือดปริมาณเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 0.2-0.5 มิลลิลิตร) มาทดสอบ ซึ่งจะทราบผลการทดสอบภายในเวลาเพียง 6 ชั่วโมง เท่านั้น ซึ่งในขณะนี้สามารถตรวจสอบได้ละเอียดถึงระดับที่มีเชื้อวัณโรคประมาณ 100 เซล/มิลลิลิตร และกำลังพัฒนาให้ตรวจสอบได้ละเอียดขึ้นไปกว่านี้โดยการใช้วิธี monoclonal

วัณโรคปลาในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวิธีในการรักษาที่ให้ผลแน่นอน เนื่องจากปลาที่พบว่าป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นที่รุนแรงยากแก่การรักษา นอกจากนี้การรักษาต้องใช้ระยะเวลานานหลายเดือน เช่นเดียวกับการรักษาวัณโรคในคน จึงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการรักษา ฉนั้นวิธีที่ดีที่สุดในเวลานี้คือการป้องกันการระบาดของโรค การตรวจสอบการติดเชื้อวัณโรคโดยวิธีที่รวดเร็วนี้จะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคได้ โดยเมื่อตรวจสอบพบว่าปลาในแหล่งใดมีการติดเชื้อวัณโรค ก็ไม่ควรนำปลาจากที่นั้นไปเลี้ยง สำหรับในวงการส่งออกปลาสวยงาม ปลาที่ส่งออกบางส่วนโดยเฉพาะปลากัดมีการติดเชื้อวัณโรค ซึ่งในอนาคตเมื่อทางต่างประเทศตรวจพบ ก็อาจจะให้ทางสถาบันฯตรวจสอบวัณโรคก่อนส่งออก ซึ่งวิธีการตรวจสอบวิธีนี้จะสามารถช่วยให้การดำเนินการในการส่งออกเป็นไปได้อย่างปกติไม่ล่าช้า