ที่มา : ไทยวัฒนาพานิช. ปลาสวยงามเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2543. (อัดสำเนา)
ปลาสอดดำมีสายพันธุ์ดั้งเดิมมาจากเม็กซิโกจนถึงเวเนซูเอล่า เป็นปลา
ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เป็นสายพันธุ์ผสมระหว่างสายพันธุ์ธรรมชาติซึ่งมีสีน้ำเงินทึมๆ
กับสีเขียววาว ๆ ซึ่งมักจะมีปลาในลักษณะดั้งเดิมเหล่านี้ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ
ปลาสอดเป็นชื่อเรียกรวม ๆ แท้ที่จริงปลาสอดเป็นชื่อปลากลุ่มหนึ่ง ได้แก่
ปลามูนฟิช(Moonfish) ปลามอลลี่ (Mollies) ปลาสอดใหญ่หรือปลามิดไนท์ (Midnight)
ปลามูนฟิช (Moonfish) เป็นปลาเม็กซิโก เมื่อปี ค.ศ.1907 ได้มีคนสั่งซื้อ
เข้าไปเลี้ยงในประเทศเยอรมัน อีกสามปีต่อมาจึงได้แพร่จากเยอรมันเข้าไปยัง
สหรัฐอเมริกา เมื่อเข้าไปในประเทศอเมริกาแล้ว ในช่วงไม่กี่ปีต่อมาได้มีการผสมพันธุ์
ได้พันธุ์ใหม่ ๆ มากกว่า 6 ชนิด แต่ละชนิดสวยงามยิ่งกว่าพันธุ์เดิมทั้งเป็นที่นิยมแพร่
หลายมากกรรมวิธีผสมพันธุ์ปลามูนฟิช (Moonfish) ต้องใช้เวลาและแรงงานมาก
แต่ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้อง มีเวลา และสถานที่เพียงพอเราก็อาจผสมพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้ผล
ตามที่คาดหวัง
ปลามูนฟิช (Moonfish) ที่นำมาผสมพันธุ์จนเกิดพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย
มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น สีทองทั้งตัวเรียกว่า เพลตี้ (Platy) สีอื่นที่ไม่ใช่สีทอง
จะเรียกมูนฟิช และการที่เรียกเช่นนี้ก็เนื่องจากว่าที่โคนหางของมันจะมีจุดลักษณะ
คล้ายครึ่งวงพระจันทร์
ในช่วงระยะตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 ถึง ค.ศ.1965 ปลาสอดได้รับการผสม
เพื่อให้ได้พันธุ์แปลก ๆ จากเดิมที่มีลักษณะคล้ายปลาหางดาบตัวเมีย ก็มาได้ปลาชนิด
ที่มีกระโดงใหญ่คล้ายใบเรือ และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน คือ เซลฟิน เพลตี้ (Sailfin platy)
ทอปเซล เพลตี้ (Topsail platy) ไฮฟิน เพลตี้ (Hifin platy)
ปลาสอดเซลฟิน มีกระโดงหลังใหญ่เหมือนใบเรือ เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก
แต่ลูกที่ออกมานั้นจะไม่ค่อยเหมือนพ่อแม่ กลับไปเหมือนบรรพบุรุษดั้งเดิมของมันคือ
กระโดงสั้นและเล็กเป็นส่วนมาก ทั้งนี้เพราะปลาสอดเซลฟินไม่ใช่พันธุ์แท้ แต่เป็นพันธุ์
ผสมหรือพันธุ์ทาง อย่างไรก็ตามปลาสอดเซลฟินคู่ที่ดี อาจจะให้ลูกพันธุ์แท้คือมีกระโดง
ใหญ่เหมือนพ่อแม่ ได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ไม่เคยมีใครเลี้ยงปลา
สอดเซลฟินแล้วให้ลูกออกมาเป็นพันธุ์แท้ 100 เปอร์เซ็นต์ เลยความแตกต่างระหว่างปลาตัวผู้กับปลาตัวเมีย สังเกตได้ชัดคือ ตัวผู้ลำตัว
จะสั้นกว่าและเพรียวกว่าตัวเมีย นอกจากดูลักษณะตัวแล้วยังพิจารณาที่ครีบทวารได้
อีกวิธีหนึ่ง ตัวเมียครีบทวารจะบานเหมือนพัด แต่ครีบทวารของตัวผู้จะแหลมเรียวและ
อยู่แนบลำตัวมากกว่าของตัวเมีย ปลามูนฟิชตัวผู้ใช้ครีบทวารนี้ผสมพันธุ์เช่นเดียวกับ
ปลาตัวผู้ชนิดอื่น ๆ
การเลี้ยงปลาสอดต้องให้อุณหภูมิคงที่ ปลาพวกนี้ไวต่อการเปลี่ยนแปลง
ของอุณหภูมิมาก ทางที่ดีใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิด้วยจะดียิ่ง ระดับอุณหภูมิอย่างต่ำ
ที่สุด 22 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่ 24 องศาเซลเซียส ปลาจะให้ลูกได้ดีที่สุดวิธีเลี้ยงที่ถูกต้องคืออย่าเลี้ยงปนกับปลาอื่น ปลาสอดไม่เคยกินลูกอ่อน
ตัวเมียจะออกลูกทุก 4 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับขนาด สุขภาพ และสภาพการ
ผสมพันธุ์ของปลาด้วย ปกติจะออกลูกคราวละ 2-200 ตัว แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะออกลูก
คราวละ 20 ตัว
ปลาสอดตัวเมียเมื่อท้องจะอ่อนแอมาก ผู้เลี้ยงจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ขณะท้องอย่าให้ตกใจและห้ามเคลื่อนย้าย ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายต้องทำก่อนเวลา
ปลาท้องแก่ มิเช่นนั้นแม่ปลาจะตายพร้อมกับลูกในท้อง
อาหารของปลาสอดมีหลายชนิด หลายประเภท เช่น อาหารแห้ง ไรน้ำ
ลูกน้ำ หนอนแดง ปลาสอดชอบกินตะไคร่น้ำด้วย
ปลาสอดทุกชนิดสามารถนำมาผสมพันธุ์กันได้และผลที่ได้จะชัดเจน
ปลาสอดเพลตี้มักจะถูกนำไปผสมพันธุ์กับปลาหางดาบเสมอ ปลาสอดและปลา
หางดาบที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดเวลานี้คือปลาลูกผสมที่ผสมกันมานานแล้ว ชนิดพันธุ์
แท้ ๆ เป็นของที่หายากยิ่งปลาสอดมอลลี่ เป็นปลาสอดที่นิยมเลี้ยงกันมากในยุโรป ชื่อมอลลี่
เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อของชาวฝรั่งเศส มอลเลี่ยน(Mollien)เป็นปลาสวยงามสำหรับ
นักเลี้ยงปลาที่มีความชำนาญพอสมควร เพราะปลาชนิดนี้เลี้ยงยากกว่าปลาอื่น ๆ
ปลาสอดมอลลี่ชอบอยู่ในน้ำกร่อย น้ำในตู้เลี้ยงจะต้องเติมเกลือ 1 ช้อนชา
ต่อน้ำ 4 ลิตร ดังนั้นจึงเลี้ยงรวมกับปลาอื่นไม่ดี ปลาสอดมอลลี่ไม่กินลูกอ่อนถ้าหาก
ผู้เลี้ยงให้อาหารเพียงพอ ไม่ควรเปลี่ยนน้ำ นอกจากความจำเป็นจริง ๆ
ปลาสอดมอลลี่มีหลายชนิด หลายสี ครีบ กระโดงก็มีต่าง ๆ กัน นับได้
ว่าเป็นปลาสวยงามที่สวยงามชนิดหนึ่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ลักษณะคล้ายกันมากแต่สี
ของตัวผู้จะสดสวยกว่าตัวเมียเล็กน้อย
ปลาสอดมอลลี่ชอบกินตะไคร่น้ำ สาหร่าย ผักกาดหอมหั่นฝอยละเอียด
ไม่มีกลเม็ดในการเลี้ยงเป็นพิเศษแต่อย่างใด เป็นปลาออกลูกเก่งและออกลูกง่ายเมื่อลูก
แพร่พันธุ์จนมีจำนวนมากในฝูงแล้วมันก็จะหยุดออกลูก หรือออกน้อยลง ทางที่ดีผู้เลี้ยง
จะต้องแยกปลาออกจากฝูงบ้างปลาสอดมอลลี่ชอบน้ำ ที่อุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส ในการออกลูก
ครอกหนึ่ง ๆ ปลาสอดมอลลี่อาจออกลูกได้ถึง 100 ตัว ลูกปลาชอบกินเนื้อกุ้งและไรน้ำ
ปลาสอดมอลลี่ชนิดเซลฟิน มีกระโดงหลังใหญ่เท่า ๆ กับตัวของมัน
ตัวสีเขียวมีจุดดำพราวไปทั้งตัว ปลาสอดมอลลี่ชนิดนี้ออกลูกดกกว่าชนิดอื่น และเมื่อ
นำไปผสมกับชนิดอื่น ลูกที่ได้ก็จะมีกระโดงใหญ่ เช่น ผสมกับปลาหางนกยูงก็จะได้
ปลาหางนกยูงที่มีครีบหางและกระโดงใหญ่สวยงาม
ปลาสอดใหญ่ หรือปลามิดไนท์ (Midnight) เป็นปลาสอดชนิดมอลลี่นั่นเอง
ตัวมีสีดำเหมือนกำมะหยี่ เลี้ยงง่าย ออกลูกง่าย กรรมวิธีการเลี้ยงเหมือนกับปลาสอด
มอลลี่
ปลาสอดมอลลี่ สีแดงไม่มี มีแต่มอลลี่เผือกนัยน์ตาแดง แต่ปลาสอดเพลตี้
กับปลาหางดาบชนิดสีแดงทั้งตัวนั้นมี
ปลาสอดมอลลี่และปลาสอดใหญ่ต้องกินอาหารตามหลักของมัน จึงจะ
เติบโตอย่างรวดเร็ว คือกินเนื้อกุ้ง หนอน ลูกน้ำและผัก เช่น ตะไคร่น้ำ สลับกันไป