กุ้งทะเลเป็นสินค้าอาหารทะเลที่ตลาดโลกมีความ ต้องการบริโภคสูงและเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นกุ้งทะเลที่ได้จากการจับจากธรรมชาติที่นับวันจะลด ปริมาณลงตามลำดับ ดังนั้นปริมาณของกุ้งทะเลที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ล้วนมาจากการเพาะเลี้ยงทั้งสิ้น
ป็นกุ้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเซีย มีสีน้ำตาลเข้มและมีแถบสีเข้มกับสีจางพาดขวางลำตัว ถิ่นอาศัยของกุ้งกุลาดำได้แก่ น่านน้ำแถบใต้ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และที่พบมากได้แก่ ไทย ออสเตรเลีย และอินเดีย
กุ้งชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน สามารถทนได้ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงและความเค็มสูง ชอบอยู่ในที่ซึ่งเป็นดินโคลน กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เป็นกุ้งที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงมาก เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์มีความทนทานต่อการขนส่งได้ดี มีขนาดใหญ่ ไข่ดก เลี้ยงง่ายจึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
กุ้งแชบ๊วย (Fenneropenaeus merguiensis)
กุ้งแชบ๊วยขาว มีสีขาวครีม พบทั่วไปในแถบอินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับไทยกุ้งชนิดนี้พบมากในนากุ้ง และมีราคาสูง เป็นกุ้งที่น่าให้ความสนใจนำมาเพาะเลี้ยงให้มากเป็นพิเศษ เพราะกุ้งชนิดนี้หาแม่พันธุ์ได้ง่ายทั้งในนากุ้ง ชายฝั่ง และป่าชายเลนของไทย
การเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเล
1. การเตรียมโรงเพาะฟัก การทำความสะอาดบ่อและอุปกรณ์
2. การเตรียมน้ำและการตรวจสอบคุณภาพน้ำ การเตรียมน้ำทะเลที่จะใช้ในการเพาะฟักและอนุบาลลูกกุ้งวัยอ่อน ควรเป็นน้ำสะอาด โดยการนำน้ำทะเลที่มีความเค็มระหว่าง 28-32 ppt มาพักให้ตกตะกอน แล้วนำมาฆ่าเชื้อโดยใส่คลอรีน 20-30 ppm หรือในกรณีที่ไม่มีบ่อตกตะกอน สามารถนำน้ำมาฆ่าเชื้อโดยใส่คลอรีน 50-100 ppm ให้อากาศอย่างน้อย 1 วัน
คุณภาพของน้ำที่เหมาะสมต่อการเพาะและอนุบาลลูกกุ้งทะเลมีดังนี้
– ความเค็ม 28-32 ppt
-อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส
-พีเอช (pH) 7.8-8.3
-อัลคาไลน์ ไม่ควรต่ำกว่า 100 mg/l as CaCO3
-แอมโมเนีย ไม่เกิน 0.4 มิลลิกรัม/ลิตร
-ไนไตรท์ ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/ลิตร
3. การเตรียมอาหารลูกกุ้งทะเลวัยอ่อน อาหารที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกกุ้งทะเลวัยอ่อนช่วงแรก ได้แก่ แพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดอะตอม เช่น Chaetoceros spp. หรือ Skeletonema sp. สำหรับอาหารลูกกุ้งทะเลวัยอ่อนอีกช่วงที่ควรเตรียมได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ พวกโรติเฟอร์ ไรน้ำกร่อย ไรแดง เป็นต้น
4. การฆ่าเชื้อแม่กุ้งและการวางไข่ นำแม่กุ้งไข่แก่ (ระยะที่ 4) มาแช่ในฟอร์มาลิน 100 ppm นาน 10 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคและโปรโตซัวที่ติดมากับแม่กุ้ง จากนั้นนำแม่กุ้งมาแช่ยาปฏิชีวนะออกซิเต ตร้าไชคลิน (Oxytetracyclin) 50 ppm นาน 2-3 ชั่วโมง เพื่อลดการติดเชื้อของแม่กุ้ง หลังจากนั้นนำแม่กุ้งปล่อยลงสู่ถังวางไข่
5. การล้างไข่ วิธีการล้างไข่กุ้งมี 2 วิธีคือ ล้างด้วยน้ำทะเลสะอาด หรือล้างด้วยสารเคมี (ฟอร์มาลิน 100 ppm) เมื่อแม่กุ้งวางไข่แล้ว ให้แยกแม่กุ้งออกและดูดไข่ออกจากถังวางไข่ โดยการลักน้ำออกและใช้สวิงที่มีขนาดตา เล็กกว่า 250 ไมครอน รองรับไข่กุ้ง โดยมีสวิงที่มีขนาดตาใหญ่กว่า 350 ไมครอน อยู่ข้างบน เพื่อรองรับคราบไขมันและขี้กุ้งไม่ให้ปะปนมากับไข่กุ้ง (ไข่กุ้งกุลาดำมีขนาดประมาณ 300-320 ไมครอน) จากนั้นนำไข่กุ้งมาล้างทำความสะอาด
6. การอนุบาลลูกกุ้ง เมื่อแม่กุ้งวางไข่แล้ว ประมาณ 12-14 ชั่วโมง ก็จะฟักเป็นตัวอ่อนระยะแรก (Nauplius) ซึ่งระยะนี้ยังไม่กินอาหาร เตรียมย้ายลูกกุ้งลงบ่ออนุบาล โดยควรปล่อยที่อัตราความหนาแน่นประมาณ 100,000 ตัว/น้ำ 1 ตัน หลังจากนั้นก่อนที่ลุกกุ้งจะเข้าสู่ตัวอ่อนระยะที่ 2 (Zoea) เป็นระยะที่เริ่มกินอาหาร ให้แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม ได้แก่ Chaetoceros spp. หรือ Skeletonema sp. ให้อาหารทุกๆ 4-6 ชั่วโมงต่อครั้ง ลูกกุ้งระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 (Mysis) ลูกกุ้งระยะนี้ยังคงให้แพลงก์ตอนพืชอยู่ แต่จะเสริมแพลงก์ตอนสัตว์ลงไปด้วย ได้แก่ โรติเฟอร์ หรืออาร์ทีเมียแรกฟัก ลูกกุ้งระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน และก็จะเข้าสู่ระยะสุดท้าย (Post larva) ลูกกุ้งระยะนี้จะกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นหลักได้แก่ อาร์ทีเมีย โคพีพอด ไรน้ำกร่อย เป็นต้น ใช้เวลาอนุบาลประมาณ 15 วัน (Post larva 15 หรือ P15) ก็จะนำไปเลี้ยงต่อในบ่อดิน หรือเพื่อจำหน่ายต่อไป