• ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Trimeresurus spp.
  • ลักษณะทั่วไป : งูเขียวหางไหม้มีหลายชนิด หัวยาวมนใหญ่ คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น ปลายหางมีสีแดงชัดเจน ลำตัวมีสีเขียวอมเหลืองสด บางตัวมีสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงสด บางตัวมีหางสีแดงคล้ำเกือบเป็นสีน้ำตาล เป็นงูพิษอ่อน เมื่อถูกกัดจะปวดมาก บวมอยู่หลายวัน แต่ไม่ถึงกับเสียชีวิต นอกจากว่ามีโรคแทรก
  • ถิ่นอาศัย, อาหาร : มีชุกชุมในจังหวัดภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี และชลบุรี นอกจากประเทศไทยแล้วยังพบใน อินเดีย จีน พม่า ศรีลังกา งูเขียวหางไหม้กินลูกกิ้งก่า จิ้งจก ตุ๊กแก ลูกนก แมลง หนู กบ เขียด
  • พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ : ปกติเลื้อยช้า ๆ ไม่รวดเร็ว ดุและ ฉกกัดเมื่อเข้าใกล้ ชอบอาศัยตามซอกชายคา ตามกองไม้ กระถางต้นไม้ กอหญ้า ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งบนต้นไม้ และตามพื้นดินที่มีหญ้ารก ๆ ขณะเกาะนอนบนกิ่งไม้ มันจะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ งูเขียวหางไหม้ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 8-12 ตัว แต่ก็มีงูเขียวหางไหม้บางชนิดเหมือนกันที่ออกลูกเป็นไข่