การดูแลสุขภาพสุนัข

การหมั่นสังเกต พฤติกรรมและอาการผิดปกติของสุนัขเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเจ้าของเนื่องจากสุนัข ไม่สามารถบอกได้ว่ากำลังเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ข้อมูลจากการบอกเล่าของผู้เป็นเจ้าของสุนัขจะช่วยให้สัตวแพทย์รักษาได้ถูก ทางหรือตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคได้ง่ายขึ้น เมื่อนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ การตรวจร่างกายจะเริ่มจากเรื่องดังต่อไปนี้

ตา โรคตาและความผิดปกติของตา อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆรวมทั้งกรรมพันธุ์นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตามักบ่งบอกว่า สุนัขกำลังมีปัญหาสุขภาพ เช่นแววตาเซื่องซึมหรือมีขี้ตามากดังนั้นสัตวแพทย์จะตรวจดูตาสุนัขเสมอเพื่อ หาทางวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

จมูก ควรจะชุ่มชื้นและเย็นเสมอแต่บางครั้งอาจแห้งหรือร้อนกว่าปกติซึ่งอาจเกิดจากสุนัขกำลังมีอารมณ์แปรปรวนหรือ อยู่ในวัยชรา

หู เป็นอวัยวะที่ติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะสุนัขที่มีใบหูใหญ่ห้อยปรกลง เช่นพันธุ์คอกเกอร์ สแปเนียล มักมีปัญหาโรคหูมากกว่าพันธุ์อื่น ๆเนื่องจากความอับชื้นในรูหู สัตวแพทย์จะตรวจดูว่ามีกลิ่นเหม็นและมีหนองหรือไม่ รวมทั้งดูว่าขนในรูหูขึ้นมากเกินไป และมีสิ่งแปลกปลอมมีการอักเสบหรือมีแผล ตลอดจนสีของใบหูด้านในด้วย

ปาก การตรวจสุขภาพในช่องปาก จะตรวจการอักเสบของเหงือก การสึกกร่อนของฟัน สัตวแพทย์มักใช้นิ้วกดลงบนเหงือกแล้วคลายเพื่อตรวจความดันเลือด หากเหงือกมีสีซีดแสดงว่าโลหิตจาง แต่ถ้ามีสีเหลืองอาจจะแสดงว่ามีปัญหาเกี่ยวกับตับ
เล็บ เมื่อสุนัขเลียเล็บบ่อย ๆ หรือขารับน้ำหนักไม่ได้ปกติ สัตวแพทย์จะตรวจดูเล็บ เช่นการสึกของเล็บเท้าทั้งสอง ข้างไม่เสมอกัน อาจบอกถึงการวางน้ำหนักเท้าไม่เท่ากัน หรือเล็บหลุดเป็นชั้น ๆ แสดงว่าระบบการใช้สารอาหารในร่างการผิดปกติ
ทวารหนัก การตรวจทวารหนักจะช่วยวินิจฉัยเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระและอาจพบปล้องของพยาธิตัวแบนติดอยู่
ผิวหนังและขน ขนที่หยาบกร้านจะบ่งบอกว่าสุนัขมีสภาพขาดอาหาร ผิวหนังมีพยาธิภายนอกหรือการติดเชื้ออาจมีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยภายในร่าง กาย
อวัยวะเพศ ลักษณะของสิ่งขับถ่ายที่ออกมาจากช่องคลอดหรือการอักเสบของบริเวณนี้ อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบขับถ่ายปัสสาวะหรือระบบสืบพันธุ์ เช่นเดียวกับอวัยวะเพศของสุนัขเพศผู้อาจมีการบวมอักเสบหรือมีสิ่งขับถ่ายผิด ปกติออกมา
การวัดอุณหภูมิ อุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่าปกติอาจบ่งบอกถึงสภาวะการติดเชื้อ ความเจ็บปวด อารมณ์เครียดหรือสุนัขกำลังตื่นเต้นก็ได้แต่ถ้าอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ มักบ่งบอกว่าสุนัขอยู่ในสภาพที่อ่อนเพลียและไม่สบาย
การตรวจชีพขจร จังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจ รวมทั้งความดันเลือด ตรวจโดยการใช้นิ้วกดชีพจรที่บริเวณเส้นโลหิตแดงของขาหลังด้านใน ความดันโลหิตต่ำจะบ่งบอกว่าสุนัขมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจหรืออยู่ในสภาวะ ช็อค
การคลำตรวจต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อสู้เชื้อโรค ถ้าต่อมน้ำเหลืองบวมขยายใหญ่ขึ้นในบริเวณใดก็จะบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อใน บริเวณต่อมน้ำเหลืองนั้น
การตรวจท้อง ถ้าพบความผิดปกติบริเวณช่องท้อง สัตวแพทย์จะหาสาเหตุว่าเกิดจากก้อนเนื้อหรืออวัยวะในช่องท้องขยายใหญ่ผิด ปกติ เช่น ตับ ไต ม้าน กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้

การฟังเสียงหัวใจและปอด สัตวแพทย์จะฟังเสียงหัวใจและปอดด้วยหูฟัง แต่การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติมากอาจรู้สึกได้จากการ สัมผัสที่ทรวงอก และการหายใจลำบาก อาจสังเกตจากการเคลื่อนไหวของทรวงอกในขณะหายใจเข้าและออก
การ ตรวจข้อต่อ อาจพับข้อต่อเพื่อดูปฏิกิริยาของสุนัข เช่น ความเจ็บปวด ในกรณีที่สุนัขต่อต้านการตรวจ เช่น การเกร็งตัวก็จะทำให้การวินิจฉัยยากลำบาก

การให้ยา
ยา ที่จะให้สุนัขกินส่วนใหญ่ต้องใช้วิธีป้อน ซึ่งอาจมีบางตัวเจ้าเล่ห์อมยาไว้แล้วคายออกมาเมื่อเจ้าของไม่เห็นสำหรับการ ป้อนยาให้สุนัขเจ้าของควรเดินไปหาเองเนื่องจากถ้าเรียกสุนัขมาหาเพื่อป้อนยา ในโอกาสต่อไป เมื่อเรียกสุนัขมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นสุนัขอาจไม่ยอมมาหาอีก

การป้อนยา
1.สั่งให้สุนัขนั่งลงแล้วใช้มืออ้าปากสุนัข วางยาเม็ดบนลิ้นให้ลึกที่สุดเท่าที่จะสอดถึง
2.ใช้มือข้างหนึ่งปิดปากสุนัขไว้ จับหน้าสุนัขแหงนขึ้นเล็กน้อย ใช้มืออีกข้างลูบลำคอจากบนลงล่าง
3.กรณี สุนัขที่กินยายากให้ใช้ขาหนีบบริเวณหัวไหล่ของสุนัขไว้เพื่อป้องกันการหลบ หนี ใช้มือข้างหนึ่งจับช่วงจมูกอีกข้างหนึ่งจับขากรรไกรล่าง(วิธีนี้ไม่ควรใช้ กับสุนัขดุหรือไม่เชื่อง)หลังจากนั้นหย่อนยาเม็ดให้ลึกที่สุดแล้วจึงใช้มือ ข้างหนึ่งรวบปากสุนัขให้ปิดไว้ จับหน้า สุนัขแหงนขึ้นเล็กน้อยใช้มืออีกข้างลูบลำคอลงกระทั่งสุนัขแลบลิ้นออกมาเลีย ริมฝีปากแสดงว่าได้กลืนยาลงไปแล้ว และอย่าลืมกล่าวชมสุนัขทุกครั้งที่ยอมกลืนยา
4.บางครั้งอาจต้องซ่อนยาเม็ดในอาหาร โดยแบ่งเป็นชิ้นพอดีคำแล้วป้อนให้ เช่นใส่ในชิ้นเนื้อหรือห่อด้วยขนมปังหรือขนมที่สุนัขชอบ
5.กรณี สุนัขไม่ยอมกินยาเม็ดอาจให้ยาน้ำหรือบดยาให้ละเอียดแล้วผสมน้ำเชื่อมป้อน ด้วยกระบอกฉีดยาโดยสอดเข้าด้านข้างของช่องปากหรือฉีดเข้ากระพุ้งแก้ม

การให้ยาฉีด
1.การฉีดยาให้ สุนัขควรทำที่บ้านหลังจากปรึกษาขั้นตอนกับสัตวแพทย์แล้ว โดยเตรียมหลอดฉีดยาและสั่งให้สุนัขนั่งลง ดึงผิวหนังบริเวณต้นคอขึ้น
2.แทง เข็มตรงสันผิวหนังที่ดึงขึ้นมาให้เข็มทะลุเข้าชั้นใต้ผิวหนังขนานกับลำคอไม่ แทงเข้ากล้ามเนื้อหรือทะลุออกนอกผิวหนัง จากนั้นจึงเดินยาช้า ๆ จนหมดแล้วดึงเข็มออก

การรักษาหูและตา
การติดเชื้อ บาดแผล และอาการแพ้ มักเป็นสาเหตุของโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่หูหรือตาซึ่งมักจะรักษา ด้วยการให้ยาหยอดตาหรือยาหยอดตาแบบน้ำหรือครีม แต่หากสุนัขมีปัญหาเรื่องหูและตาอีกครั้งไม่ควรใช้ยาเดิมหรือยาเก่าโดยไม่ ปรึกษาแพทย์ ถึงแม้จะมีอาการใกล้เคียงกับอาการเดิม เพราะการใช้ยาผิดจะทำให้โรคลุกลามมากขึ้น เช่น ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์จะให้ผลการรักษาดีมากในกรณีเกิดการอักเสบของ เยื่อบุตาแต่ถ้ามีบาดแผลเล็กๆที่กระจกตาอยู่ก่อนแล้วยาดังกล่าวอาจทำให้บาด แผลลึกและมีวงกว้างมากขึ้น ระยะเวลาในการรักษาโรคหูและตาค่อนข้างใช้เวลานานดังนั้นเมื่อเห็นว่าตาหรือ หูหายเป็นปกติแล้วก็ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนหยุดใช้ยาเนื่องจากอาจจำเป็นต้องให้ยาต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อป้องกันการ กลับมาของโรคอีก

การใส่ยาหยอดหู
1.การป้องกัน โรคหูด้วยการทำความสะอาดหูอย่างสม่ำเสมอโดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่นหรือน้ำยาเช็ด หูซึ่งมีคุณสมบัติละลายไขมันและขี้หูได้ดีเช็ดใบหูด้านในและในช่องหู จะเป็นการดีและป้องกันปัญหาหูอักเสบหรือการติดเชื้อได้มาก
2.จับหูสุนัขให้นิ่งและพับใบหูไปด้านหลังสอดปลายขวดยาหยอดหูเข้าไปในช่องหูโดยชี้ไปทางปลายจมูก บีบยาให้ยาออกมาตามจำนวนที่พอเหมาะ
3.จับ หัวสุนัขให้นิ่งเพื่อป้องกันสุนัขสะบัดหัวเอาขวดยาออกและพับใบหูกลับตามเดิม นวดคลึงใบหูบริเวณที่ตรงกับปากช่องหูเพื่อให้ยากระจายทั่วช่องหู
4.กรณี ใช้สำลีพันปลายไม้ทำความสะอาดช่องหูให้ทำเฉพาะช่องหูชั้นนอกที่มองเห็น ห้ามสอดเข้าไปลึกเพราะอาจดันให้ขี้หูลึกไปกว่าเดิมและสิ่งแปลกปลอมอื่นๆอาจ หลุดเข้าไปได้

การใส่ยาหยอดตา
1.ควรใช้สำลี ชุบน้ำเช็ดขี้ตาและคราบน้ำตาออกก่อน แล้วล้างตาสุนัขโดยใช้น้ำอุ่นหรือน้ำยาล้างตาให้สะอาด ระวัง อย่าให้มีเศษสำลีตกค้างบนตา ไม่ควรใช้ยาหยอดตาสำหรับคนมาใช้กับสุนัขโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
2.ประคอง หัวสุนัขให้นิ่งใช้มืออีกข้างถือยาหยอดตาเข้าทางด้าน บนและด้านหลังเพื่อไม่ให้สุนัขตื่นตกใจหยดยาลงบนตาและรอสัก ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อให้ยากระจายทั่งถึงจึงปล่อยสุนัขไป
3.กรณีใส่ยาป้ายตาควรบีบ ยาให้เป็นเส้นตามความยาวของเปลือกตาล่างและระวังอย่าให้ปลายหลอดยาโดนตา สุนัขแล้วจึงปิดเปลือก ตาไว้ประมาณ 2-3 วินาที เมื่อสุนัขลืมตาอาจมียาค้างอยู่สักพักก็จะหายหมดไปเอง