องค์ประกอบสำคัญที่สุดสำหรับการเลี้ยงปลาคือ “น้ำ” เพราะปลาคือ สัตว์น้ำ มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องอยู่ในน้ำ ซึ่งจะดูปลาให้สวยชัดเจนน้ำก็ต้องมีความใส ยิ่งใสมากปราศจากฝุ่นตะกอนยิ่งเป็นที่ชื่นชอบของคนดู เพราะความจริงแล้วการทำให้น้ำในตู้เลี้ยงปลาใสปิ๊งไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ และไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องเสียสตางค์ซื้อหาน้ำยาหรืออุปกรณ์กรองน้ำมาเพิ่ม แต่อย่างใด เพียงแค่ผู้เลี้ยงหันมาทำความเข้าใจเรื่องของน้ำและระบบกรองเพิ่มอีกนิด หน่อยเท่านั้นเอง
การทำให้น้ำในตู้ใสแจ๋วมีองค์ประกอบง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
1. มีระบบกรองที่มีขนาดเหมาะสม
นึก ภาพสมมุติว่าเราอยู่ในห้องแคบต้องกินและขับถ่ายออกมา หากไม่มีระบบกำจัดของเสีย ไม่มีระบบย่อยของเสียแล้ว ไม่นานสิ่งที่ขับถ่ายจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มห้อง สุดท้ายก็ทำให้ไม่สบาย เจ็บป่วยได้ ย้อนมาดูตู้ปลา หากไม่มีระบบกรองที่ดี วัสดุกรองที่มีประสิทธิภาพ ระบบที่เพียงพอต่อการบำบัดน้ำในตู้อย่างเหมาะสมกับจำนวนและ ชนิดของปลาแล้ว ก็อาจทำให้ปลาของท่านไม่สดชื่น มีอาการเครียดและป่วยบ่อยดังนั้นระบบกรองน้ำที่เล็กเกินไปย่อมไม่สามารถทำ ให้น้ำใสสะอาดได้ยาวนานแน่นอน แต่การสร้างระบบกรองให้ใหญ่โตน้ำใสสะอาดมากก็จริง แต่อาจทำให้เกะกะเทอะทะ ดูไม่สวยงาม ฉะนั้นควรเลือกซื้อตู้หรือหาซื้อเครื่องกรองที่มีขนาดเหมาะสม
ตู้ ที่สร้างระบบกรองภายในไว้ด้านข้างหรือมุมตู้ด้านใดด้านหนึ่งจะไม่ค่อยมี ปัญหาเรื่องขนาดของกรอง เพราะผู้ซื้อจะได้มันไปพร้อมกับตัวตู้อยู่แล้ว แต่หากมีตู้เปล่าๆ อยู่แต่เดิม แล้วอยากหาเครื่องกรองไปติดตั้งเอง ตรงนี้ต้องคำนวณให้ดีหรือสอบถามกับร้านค้าเสียก่อน จนแน่ใจว่าจะได้เครื่องกรองที่มีขนาดเหมาะสมไปใช้งาน
2. ใช้วัสดุกรองอย่างถูกต้อง
การ กรองน้ำให้ใสสะอาดจะต้องผ่าน 2 ขั้นตอนสำคัญ คือ กรองแบบกายภาพ ( mechanical filter) และกรองแบบชีวภาพ (biological filter) เมื่อน้ำไหลเข้าสู่ระบบกรอง วัสดุกรองประเภทใยแก้วหรือฟองน้ำต่างๆ จะทำหน้าที่กรองแบบกายภาพคือดักจับตะกอนและสารแขวนลอยต่างๆ ในน้ำ หลังจากนั้นเมื่อน้ำไหลลงผ่านวัสดุกรองแบบชีวภาพ จุลินทรีย์ที่อาศัยในระบบกรองจะทำหน้าที่เปลี่ยนของเสียในรูปแอมโมเนียไป เป็นไนไตรท์และจากไนไตรท์เป็นไนเตรท ซึ่งแต่ละตัวมีความเป็นพิษน้อยลงตามลำดับ วัสดุกรองประเภทนี้ ได้แก่ ปะการัง หินภูเขาไฟ เซรามิคริง หรือลูกไบโอบอล (ที่ทำจากพลาสติก) พวกนี้ทำหน้าที่เป็น “บ้าน” ให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เข้ามาอยู่อาศัยและแพร่ขยายพันธุ์ ยิ่งมีปริมาณจุลินทรีย์มาก ความสามารถในการบำบัดน้ำก็จะยิ่งดี แต่เมื่อการเลี้ยงปลาในตู้หรือบ่อนั้นมีพื้นที่จำกัด เราจึงต้องหาวัสดุกรองที่มีพื้นผิวมากในปริมาตรที่น้อยมาใช้ ดังเช่น ชนิดของวัสดุที่กล่าวถึงไปนี่แหละค่ะ
3. สร้างระบบนิเวศในน้ำ
การ เลี้ยงปลาหากมีแต่ปลาว่ายเคว้งคว้างในตู้อย่างเดียวก็คงดูแห้งแล้งจืดชืด นักเลี้ยงปลาส่วนใหญ่มักนิยมชมชอบการจัดแต่งตู้ปลาด้วยเพื่อสร้างสภาพแวด ล้อมในดูให้สวยงามและดูเป็นธรรมชาติ เช่น ปูพื้นตู้ด้วยกรวดหรือดิน ปลูกพืชน้ำ ให้แสงสว่างและอากาศอย่างเหมาะสมเพียงพอ สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่คิดอะไรมากก็เป็นเรื่องของการประดับตกแต่งธรรมดาๆ ทว่าเมื่อมองให้ลึกลงไป มันคือการสร้างระบบนิเวศในน้ำนั่นเองเมื่อมีพื้นกรวดก็จะเป็นการซับตะกอนที่ ลอยเคว้งในตู้ได้ในระดับหนึ่ง พร้อมกันนั้นก็สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ เช่น เดียวกับวัสดุกรองในระบบกรองได้อีกด้วยส่วนต้นไม้น้ำนั้น นอกจากสร้างความเขียวชอุ่มเป็นธรรมชาติกับตู้แล้ว ยังมีหน้าที่ดูดซับไนเตรทและเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำได้อีกด้วย เมื่อมีสิ่งเหล่านี้ คุณภาพของน้ำในตู้ก็จะยิ่งดีโดยที่เราไม่ต้องไปยุ่งวุ่นวายกับมันนัก ที่สำคัญ ปลาจะสวยยิ่งกว่าอยู่ในตู้ที่ไม่ได้จัดตกแต่งอะไรเลยอีกด้วยค่ะ
4. ไม่เลี้ยงปลาหนาแน่นจนเกินไป
ถ้า อยากให้น้ำในตู้ปลาใสปิ๊ง อย่าเลี้ยงปลาให้แน่นเกินไป เลี้ยงน้อยๆ ดูหลวมๆ อย่าไปเลียนแบบร้านขายปลา อย่าซื้อปลาเพลิน เนื่องจากยิ่งมีประชากรปลามาก ของเสียในตู้ก็ยิ่งทวีคูณแถมปลายังมีความเครียดสูงอันเนื่องมาจากพื้นที่ต่อ ตัวน้อยเกินไป คุณภาพของน้ำในตู้ที่เลี้ยงปลาหนาแน่นจะเสื่อมเร็วมากระบบกรองและระบบบำบัด ไม่สามารถทำงานได้ทันที น้ำจึงขุ่น
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอในปริมาณไม่มากนัก
ยา บำรุงที่ดีที่สุดสำหรับการเลี้ยงปลาไม่ต้องไปหาซื้อที่ไหน แค่เปลี่ยนถ่ายน้ำให้มันอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณราว 20-25% เท่านั้นเอง การเปลี่ยนถ่ายน้ำช่วยลดปริมาณของเสียจากตู้โดยตรง แถมยังช่วยเพิ่มความสดชื่นให้ตัวปลา และทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังการเปลี่ยนถ่าย ข้อควรระวังสำหรับสารเปลี่ยนถ่ายน้ำคือเรื่องของคลอรีน (ในกรณีที่ใช้น้ำประปาโดยตรง) และอุณหภูมิ หากใช้น้ำประปาควรพักน้ำนั้นไว้ก่อนสัก 24 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อยหรือเปิดน้ำไหลผ่านเครื่องกรองคลอรีนก่อนปล่อยลงตู้ ระมัดระวังอุณหภูมิที่แตกต่างมากเกินไป จะเป็นเหตุให้ปลาเจ็บป่วยได้โดยตรง และเมื่อปลาป่วยไม่ว่าจะด้วยฤทธิ์ของคลอรีนหรืออุณหภูมิที่แตกต่าง ปลาก็จะมีการขับเมือกออกมามากเพื่อปกป้องตัวมันเอง เมือกนี้ก็จะทำให้น้ำขุ่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย อีกทั้งคลอรีนเองหากมีความเข้มมากพอ มันก็จะเข้าไปทำลายจุลินทรีย์ในระบบกรอง ทำให้ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสื่อมลงไปอีก
6. ไม่ใช้เคมีภัณฑ์หรือยาประเภทต่างๆ โดยไม่จำเป็น
หลาย ท่านอาจได้รับคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์หรือร้านขายปลาบางร้าน ว่าให้ใส่ยาประเภทต่างๆ ลงไปในตู้หลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำแล้ว เช่น น้ำยาลดคลอรีน ยาทำน้ำใส ยาฆ่าเชื้อโรค
ยาฆ่าพยาธิ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเปลืองสตางค์ ยังทำให้ความใสของน้ำลดลงไปอีก นั่นเพราะเคมีภัณฑ์เหล่านี้มีคุณสมบัติในการทำลายจุลชีพต่างๆ รวมไปถึงจุลินทรีย์ที่เราอุตส่าห์ปล่อยให้มันแพร่พันธุ์ในระบบกรองเพื่อย่อย สลายของเสียเพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในภาวะปกติ จะใช้ก็ต่อเมื่อมีเหตุจำเป็นจริงๆ เท่านั้น เช่นรักษาโรค เป็นต้น
น้ำ ใสสะอาดมีคุณภาพดีทำให้ตู้ปลาน่ามองอยู่เสมอ ตู้ปลาที่ไร้ระบบกรอง น้ำมีสีเหลืองขุ่นคลั่ก ตะไคร่น้ำสีเขียวคล้ำเกาะทั่วตู้ มองไปที่ไหนก็เจอแต่ขี้ปลา คราบเมือกคราบสกปรกเต็มไปหมด ถ้าเป็นแบบนี้ต่อให้ต่อให้เลี้ยงปลามีราคาหรือสีจะสวยโดดเด่นแค่ไหนว่ายน้ำ สง่างามเพียงใดก็ ไม่น่าดู ที่ถูกต้องคือควรจะมีระบบกรองที่ดีเพื่อกรองสิ่งสกปรกภายในให้ดูสะอาดตา เกลี้ยงเกลาน่ามอง เพียงแค่ 6 วิธีง่ายๆ ที่ดิฉันนำเสนอเพียงแค่นี้ น้ำในตู้ปลาของคุณก็จะใสปิ๊งได้โดยง่ายแล้วค่ะ
เอกสารอ้างอิง
มติชน เทคโนโลยีชาวบ้าน.ปีที่ 22 ฉบับที่ 487. 15 กันยายน 2553 หน้า 100.
http://www.nisashon.com/knowledge
http://th.discuscommunity.com/index.php?topic=27.0
www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?.