ชื่อไทย : ปลาหมูข้างลาย
ชื่อสามัญ : Tiger loach
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Syncrossus helodes (Sauvage, 1876)
อาหาร : การตรวจสอบอาหารในกระเพาะอาหารพบว่าปลาหมูข้างลาย เป็นปลากินเนื้อ มีความยาวลำไส้ต่อความยาวลำตัวเท่ากับ 1:2.21 ซึ่งประกอบด้วย ตัวอ่อนแมลงร้อยละ 68.0 หนอนตัวกลมร้อยละ 5.6 หอยฝาเดียวร้อยละ 1.2 กุ้งร้อยละ 1.1 และ อื่น ๆ ร้อยละ 24.1
ถิ่นอาศัย วันเพ็ญ (2528) รายงานว่าปลาหมูข้างลายอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล แม่น้ำ ลำคลองชอบซุกซ่อนตามตอไม้ ซอกหิน และพื้นดินโคลน สอดคล้องกับรายงานของ Rainboth (1996) ซึ่งพบปลาหมูข้างลายบริเวณที่มีน้ำไหลในแม่น้ำโขง และแม่น้ำเจ้าพระยา ทะเลสาบ ชอบอาศัยอยู่ใต้ก้อนหิน ตอไม้ และตอม่อสะพาน
ลักษณะทั่วไป ปลาหมูข้างลายมีรูปร่างยาวเรียวแบบ elongate ด้าน ข้างและช่องท้องแบน ส่วนหลังโค้ง ส่วนหัวยาวและแหลม ครีบหางเว้าลึก ด้านท้องซีดขาว ลำตัวด้านข้างแบน มีสีน้ำตาลอ่อนมีแถบสีเขียวบนหลังและด้านข้าง และมีเส้นสีดำที่มีลักษณะเป็นแถบกว้าง 11 แถบ โดย 4 แถบแรกจะอยู่ส่วนห น้าของครีบหลัง 4 แถบอยู่ใต้ครีบหลัง และอีก 3 แถบอยู่หลังส่วนของครีบหลังครีบหลังไม่มีจุดดำ เป็นแถวของจุด 3 – 4 แถว มีจุดสีดำบนส่วนบนของฐานครีบ
การสืบพันธุ์ลักษณะ ความแตกต่างระหว่างเพศภายนอก พบว่าเมื่อยังไม่ถึงฤดูผสมพันธุ์จะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเพศได้ เพราะปลาหมูข้างลายมีลักษณะติ่งเพศ (urogenital papillae) ล้าย คลึงกันมากทั้งเพศผู้และเพศเมีย แต่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะพบว่าปลาหมูข้างลายเพศเมียจะมี ท้องอูมเป่งนิ่ม ผนังท้องบางกว่าปลาหมูข้างลายเพศผู้สัดส่วนเพศของปลาหมูข้างลายเพศผู้ต่อปลาหมู ข้างลายเพศเมียพบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1:0.96 การวิเคราะห์ทางสถิติไม่มีความแตกต่างระหว่างสัดส่วนเพศทั้งในแต่ละเดือนและในรอบปีที่ศึกษาการ ศึกษาฤดูวางไข่จากระยะพัฒนาการของอวัยวะสืบพันธุ์ในรอบปีมีแนวโน้มบ่งชี้ว่า ปลาหมูข้างลายมีฤดูวางไข่อยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ปริมาณความดกไข่ของปลาหมูข้างลายเพศเมียมีค่าอยู่ระหว่าง 4,887-13,320 ฟอง โดยมีค่าเฉลี่ย 8,288+3,111 ฟอง แม่ปลาขนาดความยาว 26.0 เซนติเมตร มีความดกไข่มากกว่าแม่ปลาขนาดความยาว 12.0เซนติเมตร ถึงประมาณ 2.7 เท่า ไข่ปลามีลักษณะเป็นเม็ดกลม ไข่ที่แก่จัดจะมีสีเทาอมเขียว จัดเป็น ไข่ประเภทครึ่งจมครึ่งลอยปริมาณ ความดกไข่ของปลาหมูข้างลายจากการรวบรวมในแม่น้ำยมจังหวัดแพร่พบมีความ สัมพันธ์กับปริมาณน้ำหนักปลามากกว่าความยาวปลา โดยมีสมการความสัมพันธ์ระหว่าง ความดกไข่ต่อน้ำหนักปลาเป็น F=2.3490 W 2.4279; R2=0.9612 และมีสมการควาสัมพันธ์ดกไข่ต่อความยาวปลาเป็น F=81.8276 L 1.6713; R2=0.6527
ประวิทย์ ลออบุตร. ชีววิทยาบางประการของปลาหมูข้างลายในแม่น้ำยม จังหวัดแพร่. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิจิตร อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร