ปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันนั้นส่วนใหญ่จะเป็นปลาในแถบเมืองร้อน ปลาเหล่านี้
จะมีอิสระอยู่ในท้องทะเล หรือ ห้วยหนองคลองบึงอันกว้างใหญ่ไพศาล พวกมันต้องต่อสู้
กับภัยธรรมชาติรอบด้านเพื่อให้มีชีวิตรอดอยู่ได้ และการดิ้นรนเพื่อให้ตนเองรอดพ้นจาก
การเป็นเหยื่อจากปลาที่ใหญ่กว่า จึงทำให้ปลาเหล่านี้มีความแข็งแรงว่องไวปราดเปรียว
อยู่เสมอ แต่เมื่อถูกนำมาเลี้ยงในตู้ที่มีอาณาเขตอันจำกัด ทำให้พวกปลาเหล่านี้ต้อง
ปรับตัวให้ชินกับสภาพแวดล้อม ความว่องไวปราดเปรียวก็ลดน้อยลง และสิ่งสำคัญที่จะ
ตามมาก็คือโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนั้นถ้าหากผู้เลี้ยงปลาสวยงามมีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับชนิดและสาเหตุของโรคปลาที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิธีการป้องกันและรักษาก็จะช่วยให้
การเลี้ยงปลาบรรลุเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
ลักษณะของปลาที่กำลังป่วย
ปลาสวยงามที่มีอาการเจ็บป่วยมีข้อสังเกตง่าย ๆ ดังนี้
1) สีของปลาเผือดซีด บางครั้งปลาตัวดำ ๆ กลับกลายเป็นสีขาวไปเลยก็มี
2) หางและครีบมักจะลีบ ไม่ค่อยคลี่กางออกอย่างปลาที่สมบูรณ์แข็งแรง
3) ตัวปลาลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ หรือจมลงก้นตู้ แม้พยายามจะว่ายก็ว่าย
ไม่ค่อยจะไหว หรือซุกตัวอยู่ซอกมุมตู้ หลบหลีกจากเพื่อน ๆ
4) ท้องอืดโตผิดปกติ หรืออาจเรียกว่าเป็นท้องมานก็ได้ ซึ่งอาการเช่นนี้
บางทีก็เป็นเพราะปลากินอาหารมากเกินไป แล้วไม่ถ่ายออกมาตามสมควร
5) เกล็ดลุกชัน โดยมากมักจะเกิดกับปลาที่เป็นท้องมาน ซึ่งเมื่อผ่าท้อง
ออกมาดูแล้วก็มักจะไม่พบเห็นอะไร
6) เหงือกมีลักษณะหายใจถี่และกว้าง กับมีสีแดงคล้ำตามริม ๆ เหงือก
7) มีเลือดออกตามเกล็ด
8) มีเม็ดโปนออกตามลำตัว
9) ตาถลนออกมากผิดปกติ
10) ลอยอยู่เฉย ๆ แล้วบางทีค่อย ๆ จมลง และนาน ๆ ก็พยายามว่ายขึ้นมา
แต่แล้วก็กลับจมลงไปอีก
การรักษาปลาสวยงามที่กำลังป่วย
. เมื่อปลามีอาการป่วยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ให้ผู้เลี้ยงคอยสังเกตดูอาการ
สัก 2–3 วัน ถ้าอาการยังคงเป็นอยู่เช่นเดิมหรือรุนแรงกว่าเดิม ต้องรีบแยกปลาตัวที่มี
อาการดังกล่าวออกจากตู้ปลาเสียก่อนที่มันจะแพร่เชื้อไปติดตัวอื่น ๆ ไว้ต่างหาก เมื่อตอน
ตักตัวปลาแยกออกมาควรตักอย่างทะนุถนอมเพื่อป้องกันปลาบอบช้ำกว่าเดิม
นำปลาที่ป่วยไปแช่ในน้ำที่มีความเค็มพอสมควร (อย่าให้เค็มจัดเพราะปลา
จะตายแทนที่จะรักษาปลาให้หายกลับไปเร่งให้ปลาตายเร็วยิ่งขึ้น) เพื่อกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ
เช่น พยาธิเห็บ พยาธิปลิงใส เชื้อปรสิตเซลล์เดียว เป็นต้น เพราะความเค็มของน้ำจะฆ่า
พวกเชื้อโรคเหล่านี้ได้ การผสมน้ำที่พอเหมาะแก่ปลาคือใช้เกลือป่น 2-3 มิลลิกรัม
ละลายน้ำ 1 ลิตร ลงไปในอ่างแล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ๆ จนกระทั่ง ถึง 4 เท่าของอัตราที่ใช้
ครั้งแรก คือจากเดิม 2-3 มิลลิกรัม เพิ่มเป็น 8-12 มิลลิกรัม ภายในเวลา 24 ชั่วโมง หรือน้ำ
ทะเล 1 ส่วนผสมกับน้ำจืด 5 ส่วน นำปลาป่วยไปไว้ในอ่างตื้น ๆ ที่มีดินปนทรายผสมน้ำ
เกลือไว้เรียบร้อยแล้ว วางอ่างในที่มีแสงสว่างน้อย ๆ อยู่ในอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
เปลี่ยนน้ำเค็มวันละครั้ง เพื่อป้องกันน้ำไม่ให้มีกลิ่นเหม็น เมื่อแช่ปลาผ่านไปถึงวันที่ 4
ปลายังมีอาการไม่ดีขึ้นก็ให้เพิ่มความเค็มในน้ำอีกเล็กน้อย แล้วคอยดูอาการต่ออีกสัก 3
วัน พอล่วงเข้าวันที่ 3 ปลามีอาการดีขึ้น ก็ค่อยลดความเค็มลงตามเดิมจนกว่าปลาจะหาย
ป่วย นอกจากนี้แล้วแอมโมเนียยังใช้เป็นยารักษาปลาที่กำลังป่วยได้เช่นเดียวกัน โดย
เอาแอมโมเนีย 2-3 หยด ผสมกับน้ำ 1 ลิตร
ปลาที่ได้รับการรักษาด้วยเกลือผสมน้ำ หรือแอมโมเนีย มาใหม่ๆ ให้นำปลาตัวนั้น
ไปพักผ่อนในอ่างที่ตะไคร่น้ำสีเขียว ๆ ใต้อ่างมีดินปนทราย จะทำให้ปลากลับคืนสู่สภาพ
ปกติอีกครั้งในเวลาอันสั้น