1. การปรับตัวเพื่อว่ายน้ำ ปลาบางชนิดว่ายน้ำได้เร็วมาก ปลาเทราท
์และปลาขนาดเล็กส่วนใหญ่สามารถว่ายน้ำได้ในอัตราความเร็ว 10 เท่าของ
ความยาวลำตัวต่อวินาที ปลาเทราท์มีลำตัวยาว 30 ซม. จะว่ายน้ำได้ในอัตราเร็ว
ประมาณ 10.4 กม.
ต่อชั่วโมง ปลาขนาดใหญ่จะว่ายน้ำได้เร็วขึ้น ปลาแซลมอนที่มีลำตัวยาว 60 ซม.
สามารถว่ายน้ำอย่างรวดเร็วได้ถึง 22.5 กม.ต่อ ชม. และปลาน้ำดอกไม้ (barracuda )
ซึ่งว่ายน้ำได้เร็วที่สุดมีอัตราเร็ว 43 กม.ต่อ ชม. ปลาว่ายน้ำได้รวดเร็วในเวลาเพียงสั้นๆ
เท่านั้น กลไกที่ผลักดันให้ปลาว่ายน้ำคือกล้ามเนื้อลำตัวและหางลักษณะของกล้ามเนื้อ
หยักเป็นรูปตัว W อยู่ทางด้านข้างของลำตัวกล้ามเนื้อเกาะอยู่กับแผ่นเยื่อของเนื้อ
เกี่ยวพันซึ่งจะไปเกาะกับกระดูกสันหลัง
วิธีการว่ายน้ำของปลาจะเห็นได้ชัดเจนในปลาที่โบราณ เช่น ปลาฉลาม
ตัวของปลาฉลามจะก่อให้เกิดคลื่นบนกล้ามเนื้อ คลื่นหดตัวจากด้านหน้าทางด้านข้าง
ไปยังหางเมื่อคลื่นเคลื่อนไปได้นิดหน่อยก็จะมีคลื่นกล้ามเนื้อเกิดขึ้นใหม่อีกทาง
อีกข้างหนึ่งดังนั้นคลื่นเคลื่อนที่ไปทางท้ายตัวอย่างต่อเนื่องสลับกันอีกข้างหนึ่ง
ของลำตัว ในปลากระดูกแข็งที่พัฒนามากขึ้น การโบกหางจะมีบทบาทสำคัญในการ
ว่ายน้ำมากกว่าการใช้กล้ามเนื้อที่ลำตัวปลาว่ายน้ำได้เนื่องจากความหนาแน่นและ
แรงกดดันของน้ำจะช่วยให้เกิดแรงดันไปข้างหน้านอกจากนี้น้ำยังให้ประโยชน์อื่นๆ
คือการที่น้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตเพียงเล็กน้อยน้ำจึงช่วยพยุงตัวสัตว์น้ำ
ทำให้ใช้พลังงานในการต้านแรงดึงดูดโลกน้อยลง ดังนั้นการว่ายน้ำจึงเป็นการเคลื่อนท
ี่อย่างมีประสิทธิภาพ
ปลาบางชนิดพยายามเคลื่อนที่บนพื้นดินและหายใจบนบกได้นานหลายชั่วโมง
เช่น ปลาหมอไทย(climbingperch) กลุ่มปลาแขยง เทโพ สวาย(catfishes)ปลาบู่และ
กลุ่มปลาตีน(mudskipper)ปลาตีนขยับออกจากที่ฝังตัวตามโคลนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดย
อาศัยการเคลื่อนไหวของครีบอกคล้ายคนใช้ไม้เท้าค้ำยันขณะเดิน มันจะกลืนน้ำเข้าไปใน
เหงือกชื้นตลอดเวลาเมื่อยามอยู่บนบก การขึ้นบกได้ทำให้มีพฤติกรรมการกินอาหาร
ต่างจากปลาทั่วไป เช่น ปลาหมอไทย ใช้หัว ครีบอก และการเคลื่อนไหวของลำตัวใน
การเคลื่อนที่บนบก นอกจากนี้จะมีเหงือกที่มีลักษณะคล้ายปอดช่วยอุ้มน้ำไว้ขณะอยู่บนบก
2. การลอยตัวและถุงลม ปลาทุกชนิดจะมีความหนาแน่นของตัวมากกว่าน้ำ
เล็กน้อย เนื่องจากปลามีโครงร่างและเนื้อเยื้อ ต่างๆ ที่ประกอบด้วยธาตุต่างๆ ซึ่งในน้ำ
จะมีแร่ธาตุเหล่านี้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นเพื่อไม่ให้ตัวจม ปลาจึงต้องมีทุ่นลายหรือวิธีการ
บางอย่าง เช่น ปลาฉลามจะเครื่อนที่อยู่ตลอดเวลาและช่วยการลอยตัวด้วยการ
มีตับขนาดใหญ่ ซึ่งมีไขมันชนิดพิเศษประเภท fatty hydrocarbon เรียกว่า สคัวลิน ( sgualene )
ซึ่งมีความหนาแน่นเพียง 0.86 ดังนั้น ตับจึงเป็นเหมือนถุงน้ำมันขนาดใหญ่ที่ช่วยพยุงลำตัว
ของปลาฉลาม
การลอยตัวที่ดีที่สุดคือ การมีถุงบรรจุแก๊ส หรือถุงลม ( gas bladder, swimm bladder ) เช่น ที่พบอยู่ในปลาโบราณในยุคดีโวเนียนซึ่งมีอากาศแห้งแล้งสลับกับฝน ปลาจึงต้องมี
โครงสร้างบางอย่างช่วยในการหายใจ ปลากระดูกแข็งในทะเลที่ลอยตัวว่ายน้ำจะมีถุงลม
แต่พวกที่อยู่ตามพื้นท้องน้ำจะไม่มีถุงลมเป็นส่วนใหญ่การปรับปริมาตรแก๊สในถุงลมทำให้
้ปลาสามารถลอยตัวอยู่นิ่ง ( neutral buioyancy ) ในความลึกที่ต้องการ เมื่อปลาจมลงไปใน
ที่ลึกมากขึ้นถุงลมจะแฟบ ตัวปลาหนักขึ้น และจมลงปลาจะสร้างแก๊สเข้าไปในถุงลมเพื่อ
ให้สมดุลใหม่ถ้าปลาว่ายน้ำแก๊สในถุงลมจะขยายตัวทำให้ตัวปลาเบาแม้ว่าปลาจะสามารถ
ปล่อยแก๊สออกจากถุงลมได้ แต่ปริมาณแก๊สจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการลอยตัวซึ่งถ้าถุงลมไม่
สามารถควบคุมปริมาณเเก๊สได้ ปลาจะลอยขึ้นและลอยพ้นน้ำ เช่นปลาที่ตายจะลอย
ในลักษณะหงายท้องขึ้น
การปรับปริมาณแก็สของปลามี 2 แบบ
1. การมีท่อนิวมาติค ( pneumatic duct ) พบในปลาที่มีความถ่วงจำเพาะน้อย
เช่นปลาเทราท์ ท่อนิวมาติคเชื่อมระหว่างถุงลมกับหลอดอาหาร ปลากลุ่มนี้สามารถ
ขึ้นมาที่ผิวน้ำและสูดอากาศเข้าไปในถุงลม และเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณผิวน้ำ
2. เกิดแก๊สในเลือดแล้วส่งไปยังถุงลม การแลกเปลี่ยนแก๊สจะเกิดขึ้น
ในบริเวณเฉพาะสองแห่ง คือ ต่อมแก๊ส ( gas gland ) อยู่ในถุงลมและทำหน้าที่สร้าง
แก๊สเข้าถุงลม และบริเวณดูดซึม ( resorptive area ) จะดูดซึมแก๊สออกจากถุงลม
ต่อมแก๊สประกอบด้วยเส้นเลือด ยาวสานกันเป็นตาข่าย ( rete mirabile ) มีเส้นเลือดฝอยจาดเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำเข้าออกคนละทางตรงข้าม