จากการส่งออกปลาสวยงาม และพรรณไม้น้ำนับเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดการดำเนินงานเป็นธุรกิจ โดยมีมูลคู่หลายพันล้านบาทในแต่ละปี ปัจจุบันนี้ประเภทสินค้าส่งออก นอกจากปลา สวยงามแล้ว ยังมีพรรณไม้น้ำ อาหารปลา เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ ตู้ปลา และเครื่องประดับตกแต่งตู้ปลา เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย มีศักยภาพสูงในการส่งออกสินค้าดังกล่าว เนื่องจากมีปัจจัยเอื้ออำนวย หลายอย่าง อาทิ สภาพ ภูมิอากาศ คุณภาพน้ำ แหล่งอาหาร แรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยง และผู้ส่งออก ปลาสวยงามมีความสามารถ ซึ่งมีส่วนสร้างเสริมให้ธุรกิจ การส่งออกปลาสวยงาม พรรณไม้น้ำ และอื่นๆ ได้พัฒนาล้ำหน้ามีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุดกรมประมงได้ตระหนัก ถึงความสำคัญในการพัฒนา ธุรกิจนี้ให้มีการขยาย ตัวและเพิ่มฐานความมั่นคงยิ่งๆ ขึ้น จึงได้จัดให้มีการอภิปราย และบรรยาย ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของงาน วันประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 14 ณ ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เมืองทองธานีเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545 เป็นการอภิปรายในหัวข้อเรื่อง ทำอย่างไรไทยจะครอง “ตลาดปลาสวยงามโลก”

ไทยจัดทำเป็นอันดับที่ 3 ในธุรกิจส่งออกปลาสวยงาม การส่งออกปลาสวยงามในต่างประเทศ ส่งออกทางอากาศเป็นส่วนใหญ่ ประเทศที่ส่งออกปลาสวยงามมากที่สุด คือ สิงคโปร์ รองลงมาคือ มาเลเซีย และไทย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีพื้นที่แผ่นดินกว้าง เกษตรกรมีความสามารถมาก

สิ่งที่ทำให้ไทย เป็นรองสิงค์โปร์ และมาเลเซีย ที่เห็นชัด ก็ในด้านการขนส่งและขาดความรู้ ความสามารถทางด้านตลาด การค้าระหว่างประเทศสิ่งที่ปรากฏชัด ก็คือ 2-3 ปีมานี้ ประเทศไทยแซงสิงค์โปร์มาแล้วแต่โดยจำนวนรวม ยังเป็นรองในตลาดยุโรป ขณะนี้ปลาสวยงามส่งเข้ายุโรปนั้น สิงค์โปร์ครองตลาดอยู่ 80% ไทย 20% สาเหตุหลักคือ ค่าขนส่งราคาถูกกว่าไทย 25% ค่าระวางจากสิงค์โปร์ไปยุโรป 1 กล่อง ประมาณ 35-40 เหรียญ สหรัฐ แต่สำหรับไทยไปยุโรป 48-55 เหรียญสหรัฐ ผลต่างจึงมีผลกระทบ ต่อราคาและต้นทุนเป็นอย่างมาก