บัญญัติ 10 ประการที่ควรรู้ก่อนออกไปซื้อปลา
ช่วงเวลาแห่งการนำเข้าปลาคาร์พตามฤดูกาลได้ผ่านพ้นไปพร้อมๆ กับเงินในกระเป๋าของอีกหลายๆ คนได้แปรสภาพกลายเป็นอัญมณีที่มีชีวิตแหวกว่ายในบ่อทำหน้าที่ดั่งน้ำทิพย์ชะโลมใจผู้ที่เป็นทั้งเจ้าของและผู้ไขว่คว้าหาฝันในเวลาเดียวกัน จวบจนวันนี้ หมดเทศกาลของการล่าปลาในฝันของแต่ละคนแล้ว วันนี้นาย Kevin ขออนุญาตินอกเรื่อง (อีกครั้ง) จากงานเขียนประจำเกี่ยวกับเรื่องระบบกรอง มาอ่านทัศนะส่วนตัวของผมบ้างดีกว่าเกี่ยวกับ “บัญญัติ10ประการที่ควรรู้ก่อนออกไปซื้อปลา” แล้วมามองตัวเองดูสิว่า ตัวเราหรือคนข้างๆ ตัวเราเข้าข่ายข้อไหนบ้างหรือเปล่า เผื่อว่าในฤดูกาลหน้าจะได้มีโอกาสแก้ตัวไงล่ะ
ข้อ 1. อย่ามุ่งมั่นว่าวันนี้/คืนนี้ จะเอาปลากลับบ้านให้ได้ กรณีนี้มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยๆ กับ Koilover มือใหม่ หรือกระทั่งมือเก่าที่เพิ่งจะสร้างบ่อใหม่เสร็จ ประมาณว่าเมื่อเห็นว่าบ่อเลี้ยงที่มีอยู่มันดูว่างอย่างไรพิกล ทันทีที่ได้รับข่าวสารว่าปลาใหม่จะเข้าวันไหน หรือคืนไหน ก็จะทำใจไป “เสียเงิน” ทันที บางรายถึงกับกำหนดไว้เสียด้วยซ้ำว่า ต้องการปลาสายพันธุ์นั้นสายพันธุ์นี้จำนวนกี่ตัวภายในวันนี้ การไปดูปลาด้วยความรู้สึกเช่นนี้จะทำให้ความสามารถในการพิจารณาคุณภาพของปลาลดลงอย่างเห็นได้ชัด และตามมาด้วยความเสียดายเงินเมื่อพบว่าปลาที่รีบตัดสินใจเลือกมาในวันนั้น ดูไม่สวยเท่าไหร่เลย ดังนั้นการออกไปดูปลาล๊อตใหม่ที่เพิ่งเข้ามา แล้วกลับเข้าบ้านมือเปล่าให้ถือว่าไม่เป็นการเสียเที่ยวที่ไปดูแต่อย่างใด ตรงกันข้ามให้ถือว่าเรากลับได้ฝึกทักษะในการดูปลาให้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อหาต่างหากล่ะ
ข้อ 2. อย่ายึดติดกับปลาจากฟาร์มดัง ปัจจุบันปลาคาร์พจากแดนอาทิตย์อุทัยแบบมีสกุลรุนชาติรู้ที่มาที่ไปกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นจากมือเก่าหรือมือใหม่ เนื่องจากทุกฟาร์มนำเข้าในไทยล้วนมีการตลาดที่ดีเยี่ยมส่งผลให้ปลาจากฟาร์มนั้นก็ดี จากฟาร์มนี้ก็เด่นไปเสียหมด หรืออาจเป็นเพราะชื่อเสียงของฟาร์มผู้ทำการเพาะพันธุ์ที่ดีจะสร้างจินตนาการและความหวังให้แก่ผู้เลือกปลาได้ว่า “ปลาตัวนี้อนาคตไกลเป็นแน่แท้” แต่ในขณะที่ชื่อของฟาร์มบรีดเดอร์ระดับโลกสามารถสร้างความหวังให้กับผู้ซื้อและความน่าเป็นเจ้าของให้กับปลาตัวนั้นๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยสร้างและเพิ่มราคาค่าตัวให้แก่ปลาตัวนั้นๆ ได้สูงพอๆ กับความหวังนั่นแหละ ที่เขียนบัญญัติข้อนี้ขึ้นมาเพราะนาย Kevin คนนี้อยากจะเตือนให้คนรักปลาคาร์พด้วยกันรับรู้และท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจว่า “ปลาคาร์พเป็นปลาที่มีผลผลิตเทียบได้เป็นเปอร์เซ็นต์ ” ดังนั้นลูกปลาในครอกเดียวกันนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นปลาคุณภาพดีเท่าเทียมกันไปทั้งหมด แต่จะมีทั้งปลาที่ด้อยคุณภาพและปลาระดับ “stage of the art” ปะปนอยู่ในครอกเดียวกัน นอกจากนี้สำหรับฟาร์มปลาดังๆ ใหญ่ๆ โดยทั่วไปแล้ว มักจะมีพ่อแม่ปลา (Oya Koi) หลายคู่ จึงเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าปลาจากฟาร์มดังจะมีคุณภาพไม่เท่ากันเสมอไป ดังนั้นเวลาไปเลือกซื้อปลาจากฟาร์มดัง พึงเตือนตัวเองไว้ว่า เราไม่ได้ต้องการเพียงปลาจากฟาร์มดัง แต่ต้องดูอย่างละเอียดว่า “เป็นปลาคุณภาพดีจากฟาร์มดังหรือเปล่า?” อย่างนี้ถึงจะคุ้มค่าเงินที่จ่ายไปล่ะครับ แล้วหากว่าพบว่าปลาจากฟาร์มดัง มีคุณภาพไม่คุ้มค่าเงินที่จะจ่าย ผมว่าเก็บเงินของเราไปซื้อปลาจากฟาร์มที่ดังน้อยกว่าแต่สูงด้วยคุณภาพจะดีกว่า เข้าทำนอง “หัวหมา ย่อมดีกว่า หางสิงห์”
ข้อ 3. จงอย่าประนีประนอมต่อความอยาก (สำหรับปลาคุณภาพ) หากต้องการปลาคุณภาพสูงสักตัว จงอย่ายอมควักกระเป๋าซื้อปลาคุณภาพพื้นๆ แม้สักตัวเดียวเพียงเพราะว่าราคาที่ถูกกว่าโดยเด็ดขาด แต่จงเก็บเงินสะสมไว้ให้กระเป๋าตุงเป็นที่สุด เพื่อปลาในฝันของคุณที่อยากได้จริงๆ จะดีกว่า แจ่มชัดดีไหมครับสำหรับหัวข้อนี้
ข้อ 4. ราคาดีมักมาทีหลัง บ่อยครั้งที่เราเพิ่งซื้อปลาตัวชอบตัวโปรดมาหมาดๆ แต่อีกไม่กี่วันให้หลัง เราอาจพบปลาตัวที่ (คิดว่า) สวยกว่า แถมมาในราคาที่น่าพากลับบ้านมากกว่า ให้คิดเสียว่านี่คือเรื่องธรรมดาของการซื้อปลาที่อยู่ในกฏเกณฑ์ว่า “ปลาทุกตัวมีตัวเดียวในโลก” ดังนั้นจงอย่านำเอาประเด็นเรื่องราคามาเปรียบเทียบหลังการตัดสินใจซื้อไปแล้วให้เสียอารมณ์เลยจะดีกว่า เดี๋ยวพาลจะไม่รักปลาตัวที่ซื้อมาก่อนหน้านี้ไปเปล่าๆ ปลี้ๆ
ข้อ 5. อย่าให้ใครมาตัดสินใจแทนตัวคุณเอง ผมเชื่อแน่ว่า Koilover หลายคนมักแสดงอาการลังเลแทบทุกครั้ง ที่เจอะเจอปลาสวยราคาสูงมาปรากฏกายอยู่ในกาละมังสีฟ้าตรงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่พึ่งยามสับสนก็เห็นทีจะไม่พ้นเพื่อนร่วมก๊วนที่ไปเลือกปลาด้วยกัน หรือกระทั่งเจ้าของฟาร์มซึ่งจะช่วยคุณตัดสินใจได้ไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตามผมอยากจะแนะนำว่า คนที่รู้ว่าคุณชอบปลาตัวนั้นจริงหรือไม่? หรือปลาตัวนั้นสมควรที่จะถูกแอบซ่อนเอาเข้าทางหลังบ้านหรือไม่? หรือปลาตัวนั้นมีคุณค่าสมควรแก่ราคานั้นหรือไม่? กลับไม่ใช่ใครอื่นนอกจากตัวคุณเอง และหากคุณกำลังถามตัวเองว่าเจ้าปลาตัวนี้จำเป็นต้องซื้อหรือไม่ นาย Kevin คนนี้ ขออนุญาติตอบแทนใจคุณได้เลยว่า “ปลาตัวนี้มันไม่ใช่ความจำเป็น มันเป็นเพียงความต้องการ และที่แน่นอนมากไปกว่านั้น ปลาตัวนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยเสียด้วย” (แต่อย่าลืมย้อนกลับไปดูข้อ 3.อีกครั้งล่ะ)
ข้อ 6. อย่าคาดหวังว่าซื้อปลาตัวนี้แล้วหลังจากเลี้ยงไปสักพักจะนำไปขายต่อได้ราคาที่สูงขึ้น เพราะการที่คิดอย่างนั้น จะทำให้จิตวิญญาณแห่งการชื่นชมความงามของปลาในตัวคุณถูกรบกวนไปด้วยความหวัง (หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ความโลภ” นั่นแหละ) ทำให้การเลือกปลาของคุณเป็นไปอย่างไม่อิสระแต่จะคำนึงถึงปลาที่ไม่เพียงแต่ถูกใจคุณ แต่กลับต้องคำนึงถึงว่าจะถูกใจคนส่วนใหญ่หรือเปล่า ยิ่งไปกว่านั้น หากความหวังที่ตั้งไว้ไม่เป็นไปตามที่หวัง (ซึ่งมีโอกาสเป็นไปอย่างนั้น) บางครั้งมันอาจทำให้การเลี้ยงปลาคาร์พซึ่งน่าจะเป็นงานอดิเรกอันน่าอภิรมย์กลายเป็นยาขมของคุณไปก็ได้
ข้อ 7. ปลาตัวสวยมักเป็นของคนอื่น ผมเชื่อว่ามนุษย์ทุกผู้ มักจะตั้งอยู่บนพื้นฐานความอยากอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นอย่าแปลกใจนะครับ หากในวันปลาแรกเข้า คุณอาจจะแอบมองปลาที่ถูกเลือกแล้วหรือกำลังถูกเลือกในกระชังของ Koilover ท่านอื่นแล้วคิดว่า สวยกว่าปลาที่เราตักได้ นอกจากนี้ ไม่ควรปล่อยให้ความรู้สึกนั้นเข้ามาครอบงำถึงขั้นที่จะเสียมารยาทถามว่า “ตัวนี้คุณเอาไหม ถ้าไม่เอา ผมเอา” แต่ควรชำเลืองดูอยู่เนืองๆ จนมั่นใจว่า Koilover ผู้พบปลาตัวนั้น กำลังสละสิทธิ์ในปลาตัวนั้นแล้วจึงค่อยนำมาพิจารณาในกระชังของเราน่าจะดีกว่า
ข้อ 8. อย่าวิจารณ์ปลาของผู้อื่นนอกจากได้รับการร้องขอ สำหรับข้อนี้เป็นความคิดเห็นส่วนของผมซึ่งบางท่านอาจไม่ซีเรียสกับเรื่องนี้มากก็ได้ ทั้งนี้เพราะผมเชื่อและเคารพในความนิยมชมชอบส่วนบุคคลเป็นอย่างยิ่ง ไม่จำเป็นเป็นที่ภาพเขียนของศิลปินชื่อก้องโลกจะเป็นที่ต้องตานักเสพย์งานศิลป์เสียทุกคนไป แน่นอนว่าปลาสวยทุกตัวก็ไม่จำเป็นต้องได้รับคำชื่นชมจากคนรักปลาทุกคนเช่นกัน นอกจากการวิจารณ์ปลาของผู้อื่นโดยไม่ได้รับการร้องขอ จะทำให้คนซื้อปลา ผู้นั้นเกิดความไม่มั่นใจหรือกระทั่งไม่สบอารมณ์แล้ว มีอีกบุคคลหนึ่งที่อาจแอบมองคุณอยู่อย่างไม่พอใจก็ได้นั่นคือ”เจ้าของฟาร์ม” ดังนั้น คิดให้ดีทุกครั้งก่อนที่จะวิจารณ์ของผู้อื่นที่เพิ่งตัดสินใจซื้อและยังไม่ได้เอากลับบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจะวิจารณ์ในแง่ลบ
ข้อ 9. อย่านำปลาป่วยกลับบ้านหรือเอาปลามาป่วยที่บ้าน ปลานำเข้ามักจะอ่อนเพลียจากการเดินทางไกลและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างกระทันหัน ตลอดจนความเครียดที่รุมเร้า จึงไม่แปลกเลยที่ว่าจะมีปลาบางตัวแสดงอาการไม่สบายหรืออาการแปลกๆ ตั้งแต่ถูกแกะออกจากถุง ผมแนะนำว่าถึงแม้ว่าปลาตัวนั้นจะสวยเลิศเลอสักเพียงใดขอเพียง แต่แสดงอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อย ผมไม่ขอแนะนำให้เอาปลาตัวนั้นกลับบ้านในคืนนั้น การจองปลาไว้และวางมัดจำไว้พอเป็นพิธีแล้วค่อยมารับหลังจากเวลาผ่านไปสักหนึ่งอาทิตย์ ถือเป็นกติกามารยาท ที่ถือปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ปลาที่แสดงอาการป่วยเท่านั้น แต่สำหรับปลาทุกตัวที่เพิ่งถูกนำเข้ามาใหม่ๆ ผมก็ขอแนะนำให้ Koilover ปฏิบัติเช่นนี้เหมือนกัน
ข้อ 10. คำนึงไว้เสมอว่า “การเพิ่มจำนวนปลาในบ่อนั้น ง่ายกว่าการลดจำนวนปลาในบ่อ” ข้อนี้เป็นสิ่งที่นักเลี้ยงปลาทุกคนมักจะลืมหรือลืมไปชั่วขณะ โดยเฉพาะตอนที่เดินดูปลาอยู่ในฟาร์ม ผมไม่ขัดข้องประการใดหรอก กับคำกล่าวที่ว่า “ปลาดีมีจำนวนน้อยแล้วเมื่อมีโอกาสนั้นมาถึงก็ไม่ควรพลาดการเป็นเจ้าของ” แต่สิ่งที่ทุกคนมักจะลืมไปว่า บ่อเลี้ยงที่บ้านของตนเองนั้น ย่อมมีพื้นที่เพียงพอสำหรับปลาจำนวนหนึ่งเท่านั้น มารู้สึกตัวอีกทีปลาก็แน่นบ่อเสียจนเลี้ยงปลาแบบเน้นคุณภาพไม่ได้แล้ว และปลาเล็กในวันนี้ ย่อมถูกหวังให้เติบโตเป็นปลาใหญ่ในอนาคต ดังนั้นหากอยากให้ปลาที่คุณบรรจงเลือกมาอย่างตั้งใจเติบโตได้อย่างมีคุณภาพแล้วล่ะก็อย่าลืมข้อนี้เป็นอันขาด นอกจากนี้ผมยังอยากจะย้ำเตือนว่า มากกว่า 80% ของ Koilover ตัดใจขายปลาหรือจำใจยกปลาตัวที่สวยน้อยที่สุดในบ่อออกไปด้วยความอาลัย หรือไม่ได้ค่าตัวปลาที่ดีนัก แต่ที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพราะไม่มีทางเลือกจริงๆ
สำหรับ 10 ข้อ ที่เรียบเรียงมาให้ได้อ่านกัน ไม่ทราบว่าคนรักปลาท่านใด เข้าข่ายข้อใดกันบ้าง แต่อย่างไรก็ตามนะครับ เรื่องที่ผมเขียนให้มาให้อ่านครั้งนี้ไม่ใช่วิชาการที่เคร่งเครียดแต่อย่างใด บางท่านอาจกำลังมีความสุขกับการทำอย่างที่ผมบอกก็เป็นได้ ก็อย่างว่าแหละครับ ทุกคนย่อมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ขอให้สนุกกับการหาปลาคาร์พสวยๆ เข้าบ่อนะครับ
Good Koikeeping
Kevin Koilover Group
บัญญัติ 10 ประการที่ควรรู้ก่อนออกไปซื้อปลา
ช่วงเวลาแห่งการนำเข้าปลาคาร์พตามฤดูกาลได้ผ่านพ้นไปพร้อมๆ กับเงินในกระเป๋าของอีกหลายๆ คนได้แปรสภาพกลายเป็นอัญมณีที่มีชีวิตแหวกว่ายในบ่อทำหน้าที่ดั่งน้ำทิพย์ชะโลมใจผู้ที่เป็นทั้งเจ้าของและผู้ไขว่คว้าหาฝันในเวลาเดียวกัน จวบจนวันนี้ หมดเทศกาลของการล่าปลาในฝันของแต่ละคนแล้ว วันนี้นาย Kevin ขออนุญาตินอกเรื่อง (อีกครั้ง) จากงานเขียนประจำเกี่ยวกับเรื่องระบบกรอง มาอ่านทัศนะส่วนตัวของผมบ้างดีกว่าเกี่ยวกับ “บัญญัติ10ประการที่ควรรู้ก่อนออกไปซื้อปลา” แล้วมามองตัวเองดูสิว่า ตัวเราหรือคนข้างๆ ตัวเราเข้าข่ายข้อไหนบ้างหรือเปล่า เผื่อว่าในฤดูกาลหน้าจะได้มีโอกาสแก้ตัวไงล่ะ
ข้อ 1. อย่ามุ่งมั่นว่าวันนี้/คืนนี้ จะเอาปลากลับบ้านให้ได้ กรณีนี้มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยๆ กับ Koilover มือใหม่ หรือกระทั่งมือเก่าที่เพิ่งจะสร้างบ่อใหม่เสร็จ ประมาณว่าเมื่อเห็นว่าบ่อเลี้ยงที่มีอยู่มันดูว่างอย่างไรพิกล ทันทีที่ได้รับข่าวสารว่าปลาใหม่จะเข้าวันไหน หรือคืนไหน ก็จะทำใจไป “เสียเงิน” ทันที บางรายถึงกับกำหนดไว้เสียด้วยซ้ำว่า ต้องการปลาสายพันธุ์นั้นสายพันธุ์นี้จำนวนกี่ตัวภายในวันนี้ การไปดูปลาด้วยความรู้สึกเช่นนี้จะทำให้ความสามารถในการพิจารณาคุณภาพของปลาลดลงอย่างเห็นได้ชัด และตามมาด้วยความเสียดายเงินเมื่อพบว่าปลาที่รีบตัดสินใจเลือกมาในวันนั้น ดูไม่สวยเท่าไหร่เลย ดังนั้นการออกไปดูปลาล๊อตใหม่ที่เพิ่งเข้ามา แล้วกลับเข้าบ้านมือเปล่าให้ถือว่าไม่เป็นการเสียเที่ยวที่ไปดูแต่อย่างใด ตรงกันข้ามให้ถือว่าเรากลับได้ฝึกทักษะในการดูปลาให้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อหาต่างหากล่ะ
ข้อ 2. อย่ายึดติดกับปลาจากฟาร์มดัง ปัจจุบันปลาคาร์พจากแดนอาทิตย์อุทัยแบบมีสกุลรุนชาติรู้ที่มาที่ไปกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นจากมือเก่าหรือมือใหม่ เนื่องจากทุกฟาร์มนำเข้าในไทยล้วนมีการตลาดที่ดีเยี่ยมส่งผลให้ปลาจากฟาร์มนั้นก็ดี จากฟาร์มนี้ก็เด่นไปเสียหมด หรืออาจเป็นเพราะชื่อเสียงของฟาร์มผู้ทำการเพาะพันธุ์ที่ดีจะสร้างจินตนาการและความหวังให้แก่ผู้เลือกปลาได้ว่า “ปลาตัวนี้อนาคตไกลเป็นแน่แท้” แต่ในขณะที่ชื่อของฟาร์มบรีดเดอร์ระดับโลกสามารถสร้างความหวังให้กับผู้ซื้อและความน่าเป็นเจ้าของให้กับปลาตัวนั้นๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยสร้างและเพิ่มราคาค่าตัวให้แก่ปลาตัวนั้นๆ ได้สูงพอๆ กับความหวังนั่นแหละ ที่เขียนบัญญัติข้อนี้ขึ้นมาเพราะนาย Kevin คนนี้อยากจะเตือนให้คนรักปลาคาร์พด้วยกันรับรู้และท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจว่า “ปลาคาร์พเป็นปลาที่มีผลผลิตเทียบได้เป็นเปอร์เซ็นต์ ” ดังนั้นลูกปลาในครอกเดียวกันนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นปลาคุณภาพดีเท่าเทียมกันไปทั้งหมด แต่จะมีทั้งปลาที่ด้อยคุณภาพและปลาระดับ “stage of the art” ปะปนอยู่ในครอกเดียวกัน นอกจากนี้สำหรับฟาร์มปลาดังๆ ใหญ่ๆ โดยทั่วไปแล้ว มักจะมีพ่อแม่ปลา (Oya Koi) หลายคู่ จึงเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าปลาจากฟาร์มดังจะมีคุณภาพไม่เท่ากันเสมอไป ดังนั้นเวลาไปเลือกซื้อปลาจากฟาร์มดัง พึงเตือนตัวเองไว้ว่า เราไม่ได้ต้องการเพียงปลาจากฟาร์มดัง แต่ต้องดูอย่างละเอียดว่า “เป็นปลาคุณภาพดีจากฟาร์มดังหรือเปล่า?” อย่างนี้ถึงจะคุ้มค่าเงินที่จ่ายไปล่ะครับ แล้วหากว่าพบว่าปลาจากฟาร์มดัง มีคุณภาพไม่คุ้มค่าเงินที่จะจ่าย ผมว่าเก็บเงินของเราไปซื้อปลาจากฟาร์มที่ดังน้อยกว่าแต่สูงด้วยคุณภาพจะดีกว่า เข้าทำนอง “หัวหมา ย่อมดีกว่า หางสิงห์”
ข้อ 3. จงอย่าประนีประนอมต่อความอยาก (สำหรับปลาคุณภาพ) หากต้องการปลาคุณภาพสูงสักตัว จงอย่ายอมควักกระเป๋าซื้อปลาคุณภาพพื้นๆ แม้สักตัวเดียวเพียงเพราะว่าราคาที่ถูกกว่าโดยเด็ดขาด แต่จงเก็บเงินสะสมไว้ให้กระเป๋าตุงเป็นที่สุด เพื่อปลาในฝันของคุณที่อยากได้จริงๆ จะดีกว่า แจ่มชัดดีไหมครับสำหรับหัวข้อนี้
ข้อ 4. ราคาดีมักมาทีหลัง บ่อยครั้งที่เราเพิ่งซื้อปลาตัวชอบตัวโปรดมาหมาดๆ แต่อีกไม่กี่วันให้หลัง เราอาจพบปลาตัวที่ (คิดว่า) สวยกว่า แถมมาในราคาที่น่าพากลับบ้านมากกว่า ให้คิดเสียว่านี่คือเรื่องธรรมดาของการซื้อปลาที่อยู่ในกฏเกณฑ์ว่า “ปลาทุกตัวมีตัวเดียวในโลก” ดังนั้นจงอย่านำเอาประเด็นเรื่องราคามาเปรียบเทียบหลังการตัดสินใจซื้อไปแล้วให้เสียอารมณ์เลยจะดีกว่า เดี๋ยวพาลจะไม่รักปลาตัวที่ซื้อมาก่อนหน้านี้ไปเปล่าๆ ปลี้ๆ
ข้อ 5. อย่าให้ใครมาตัดสินใจแทนตัวคุณเอง ผมเชื่อแน่ว่า Koilover หลายคนมักแสดงอาการลังเลแทบทุกครั้ง ที่เจอะเจอปลาสวยราคาสูงมาปรากฏกายอยู่ในกาละมังสีฟ้าตรงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่พึ่งยามสับสนก็เห็นทีจะไม่พ้นเพื่อนร่วมก๊วนที่ไปเลือกปลาด้วยกัน หรือกระทั่งเจ้าของฟาร์มซึ่งจะช่วยคุณตัดสินใจได้ไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตามผมอยากจะแนะนำว่า คนที่รู้ว่าคุณชอบปลาตัวนั้นจริงหรือไม่? หรือปลาตัวนั้นสมควรที่จะถูกแอบซ่อนเอาเข้าทางหลังบ้านหรือไม่? หรือปลาตัวนั้นมีคุณค่าสมควรแก่ราคานั้นหรือไม่? กลับไม่ใช่ใครอื่นนอกจากตัวคุณเอง และหากคุณกำลังถามตัวเองว่าเจ้าปลาตัวนี้จำเป็นต้องซื้อหรือไม่ นาย Kevin คนนี้ ขออนุญาติตอบแทนใจคุณได้เลยว่า “ปลาตัวนี้มันไม่ใช่ความจำเป็น มันเป็นเพียงความต้องการ และที่แน่นอนมากไปกว่านั้น ปลาตัวนี้ถูกจัดอยู่ในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยเสียด้วย” (แต่อย่าลืมย้อนกลับไปดูข้อ 3.อีกครั้งล่ะ)
ข้อ 6. อย่าคาดหวังว่าซื้อปลาตัวนี้แล้วหลังจากเลี้ยงไปสักพักจะนำไปขายต่อได้ราคาที่สูงขึ้น เพราะการที่คิดอย่างนั้น จะทำให้จิตวิญญาณแห่งการชื่นชมความงามของปลาในตัวคุณถูกรบกวนไปด้วยความหวัง (หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ความโลภ” นั่นแหละ) ทำให้การเลือกปลาของคุณเป็นไปอย่างไม่อิสระแต่จะคำนึงถึงปลาที่ไม่เพียงแต่ถูกใจคุณ แต่กลับต้องคำนึงถึงว่าจะถูกใจคนส่วนใหญ่หรือเปล่า ยิ่งไปกว่านั้น หากความหวังที่ตั้งไว้ไม่เป็นไปตามที่หวัง (ซึ่งมีโอกาสเป็นไปอย่างนั้น) บางครั้งมันอาจทำให้การเลี้ยงปลาคาร์พซึ่งน่าจะเป็นงานอดิเรกอันน่าอภิรมย์กลายเป็นยาขมของคุณไปก็ได้
ข้อ 7. ปลาตัวสวยมักเป็นของคนอื่น ผมเชื่อว่ามนุษย์ทุกผู้ มักจะตั้งอยู่บนพื้นฐานความอยากอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นอย่าแปลกใจนะครับ หากในวันปลาแรกเข้า คุณอาจจะแอบมองปลาที่ถูกเลือกแล้วหรือกำลังถูกเลือกในกระชังของ Koilover ท่านอื่นแล้วคิดว่า สวยกว่าปลาที่เราตักได้ นอกจากนี้ ไม่ควรปล่อยให้ความรู้สึกนั้นเข้ามาครอบงำถึงขั้นที่จะเสียมารยาทถามว่า “ตัวนี้คุณเอาไหม ถ้าไม่เอา ผมเอา” แต่ควรชำเลืองดูอยู่เนืองๆ จนมั่นใจว่า Koilover ผู้พบปลาตัวนั้น กำลังสละสิทธิ์ในปลาตัวนั้นแล้วจึงค่อยนำมาพิจารณาในกระชังของเราน่าจะดีกว่า
ข้อ 8. อย่าวิจารณ์ปลาของผู้อื่นนอกจากได้รับการร้องขอ สำหรับข้อนี้เป็นความคิดเห็นส่วนของผมซึ่งบางท่านอาจไม่ซีเรียสกับเรื่องนี้มากก็ได้ ทั้งนี้เพราะผมเชื่อและเคารพในความนิยมชมชอบส่วนบุคคลเป็นอย่างยิ่ง ไม่จำเป็นเป็นที่ภาพเขียนของศิลปินชื่อก้องโลกจะเป็นที่ต้องตานักเสพย์งานศิลป์เสียทุกคนไป แน่นอนว่าปลาสวยทุกตัวก็ไม่จำเป็นต้องได้รับคำชื่นชมจากคนรักปลาทุกคนเช่นกัน นอกจากการวิจารณ์ปลาของผู้อื่นโดยไม่ได้รับการร้องขอ จะทำให้คนซื้อปลา ผู้นั้นเกิดความไม่มั่นใจหรือกระทั่งไม่สบอารมณ์แล้ว มีอีกบุคคลหนึ่งที่อาจแอบมองคุณอยู่อย่างไม่พอใจก็ได้นั่นคือ”เจ้าของฟาร์ม” ดังนั้น คิดให้ดีทุกครั้งก่อนที่จะวิจารณ์ของผู้อื่นที่เพิ่งตัดสินใจซื้อและยังไม่ได้เอากลับบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจะวิจารณ์ในแง่ลบ
ข้อ 9. อย่านำปลาป่วยกลับบ้านหรือเอาปลามาป่วยที่บ้าน ปลานำเข้ามักจะอ่อนเพลียจากการเดินทางไกลและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างกระทันหัน ตลอดจนความเครียดที่รุมเร้า จึงไม่แปลกเลยที่ว่าจะมีปลาบางตัวแสดงอาการไม่สบายหรืออาการแปลกๆ ตั้งแต่ถูกแกะออกจากถุง ผมแนะนำว่าถึงแม้ว่าปลาตัวนั้นจะสวยเลิศเลอสักเพียงใดขอเพียง แต่แสดงอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อย ผมไม่ขอแนะนำให้เอาปลาตัวนั้นกลับบ้านในคืนนั้น การจองปลาไว้และวางมัดจำไว้พอเป็นพิธีแล้วค่อยมารับหลังจากเวลาผ่านไปสักหนึ่งอาทิตย์ ถือเป็นกติกามารยาท ที่ถือปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ปลาที่แสดงอาการป่วยเท่านั้น แต่สำหรับปลาทุกตัวที่เพิ่งถูกนำเข้ามาใหม่ๆ ผมก็ขอแนะนำให้ Koilover ปฏิบัติเช่นนี้เหมือนกัน
ข้อ 10. คำนึงไว้เสมอว่า “การเพิ่มจำนวนปลาในบ่อนั้น ง่ายกว่าการลดจำนวนปลาในบ่อ” ข้อนี้เป็นสิ่งที่นักเลี้ยงปลาทุกคนมักจะลืมหรือลืมไปชั่วขณะ โดยเฉพาะตอนที่เดินดูปลาอยู่ในฟาร์ม ผมไม่ขัดข้องประการใดหรอก กับคำกล่าวที่ว่า “ปลาดีมีจำนวนน้อยแล้วเมื่อมีโอกาสนั้นมาถึงก็ไม่ควรพลาดการเป็นเจ้าของ” แต่สิ่งที่ทุกคนมักจะลืมไปว่า บ่อเลี้ยงที่บ้านของตนเองนั้น ย่อมมีพื้นที่เพียงพอสำหรับปลาจำนวนหนึ่งเท่านั้น มารู้สึกตัวอีกทีปลาก็แน่นบ่อเสียจนเลี้ยงปลาแบบเน้นคุณภาพไม่ได้แล้ว และปลาเล็กในวันนี้ ย่อมถูกหวังให้เติบโตเป็นปลาใหญ่ในอนาคต ดังนั้นหากอยากให้ปลาที่คุณบรรจงเลือกมาอย่างตั้งใจเติบโตได้อย่างมีคุณภาพแล้วล่ะก็อย่าลืมข้อนี้เป็นอันขาด นอกจากนี้ผมยังอยากจะย้ำเตือนว่า มากกว่า 80% ของ Koilover ตัดใจขายปลาหรือจำใจยกปลาตัวที่สวยน้อยที่สุดในบ่อออกไปด้วยความอาลัย หรือไม่ได้ค่าตัวปลาที่ดีนัก แต่ที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพราะไม่มีทางเลือกจริงๆ
สำหรับ 10 ข้อ ที่เรียบเรียงมาให้ได้อ่านกัน ไม่ทราบว่าคนรักปลาท่านใด เข้าข่ายข้อใดกันบ้าง แต่อย่างไรก็ตามนะครับ เรื่องที่ผมเขียนให้มาให้อ่านครั้งนี้ไม่ใช่วิชาการที่เคร่งเครียดแต่อย่างใด บางท่านอาจกำลังมีความสุขกับการทำอย่างที่ผมบอกก็เป็นได้ ก็อย่างว่าแหละครับ ทุกคนย่อมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ขอให้สนุกกับการหาปลาคาร์พสวยๆ เข้าบ่อนะครับ
Good Koikeeping
Kevin Koilover Group