น้ำมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ มีอุณหภูมิค่อนข้างสม่ำเสมอและมีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าอากาศ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในน้ำของปลา เครื่องห่อหุ้มร่างกายของปลามีโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ และเยื่อบุผิวจะมี Horny keratin สะสมอยู่เล็กน้อย เกล็ดเกิดจากชั้นเดมิสเป็นส่วนใหญ่ มีต่อมเมือกจำนวนมากสร้างเมือกครอบทั่วตัวเป็นการป้องกันตัวจากปาราสิตภายนอก ป้องกันการซึมเข้าออกของน้ำในตัวกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกินจำเป็น และลดการเสียดสีระหว่างผิวตัวกับน้ำ
ปลามีลักษณะลำตัวเป็นรูปกระสวย ( fusiform ) ทำให้เคลื่อนที่ไปในน้ำได้ดี โครงร่างไม่จำเป็นต้องแข็งแรงมากเท่ากับสัตว์มีกระดูกสันหลังบนพื้นดิน เนื่องจากมีแรงพยุงของน้ำช่วยพยุงตัว กล้ามเนื้อที่ลำตัวเป็นปล้องทำให้ลำตัวด้านล่างเคลื่อนไหวได้ดีในเวลาว่ายน้ำ เนื่องจากมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะทำให้ตัวปลาจมลง ปลาบางตัวจึงพักตัวอยู่ที่พื้นท้องน้ำ แต่ในเวลาว่ายน้ำหัวที่แบนรวมทั้งครีบอกที่แผ่ออกจะทำให้ส่วนหัวยกขึ้น หางแบบเฮทเทอโรเซอคัล ( heterocercal tail ) ที่โบกไปมาทั้งสองข้างตัวจะทะให้เกิดแรงผลักลงด้านล่าง และขณะเดียวกันจะมีแรงผลักไปด้านหน้าทำให้ส่วนหัวราบลงมา และรักษาระดับตัวไว้ ปลายุคใหม่จะมีการพัฒนาตัวของถุงลม ( swim bladder ) อยู่ทางด้านหลังของช่องตัวทำให้ความหนาแน่นของลำตัวใกล้เคียงกับน้ำ จึงลอยตัวได้โดยมีการทำงานของกล้ามเนื้อช่วยเพียงเล็กน้อย ลำตัวด้านหน้าไม่แบน หางพัฒนาเป็นแบบโฮโมเซอคัล ( homocercal tail ) ครีบกลางหลังและครีบคู่จะรักษาสภาพการลอยตัวให้ลอยอยู่อย่างมั่นคง และครีบคู่ยังใช้ในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่และการเปลี่ยนแปลงความลึก
อวัยวะรับความรู้สึกของปลาเป็นการปรับตัวเะพื่อรับการกระตุ้นในน้ำ ตาของปลาไม่มีหนังตาที่เคลื่อนไหวและไม่มีต่อมน้ำตา ตาปลาสะอาดเนื่องจากมีน้ำรอบตัวอาบอยู่ แสงจะหักเหผ่านเข้าเลนซ์ทรงกลม จมูกเป็นอวัยวะรับกลิ่น ( olfactory organ ) น้ำไม่ได้ผ่านจากรูจมูกไปยังฟาริงซ์ยกเว้นปลามีปอด
( long fish ) การดมกลิ่นเป็นสิ่งสำคัญของปลาในการหาอาหาร การจับคู่
สืบพันธุ์ และกิจกรรมอื่นๆ ปลาแซลมอนพยายามใช้จมูกตรวจสอบหาแหล่งน้ำที่เป็นต้นกำเนิดเพื่อจะกลับไปวางไข่ โพรงจมูก ( nasal sac ) แต่ละโพรงมักจะมีช่องเปิดออกไปที่ผิวตัว 2 ช่องเพื่อสะดวกแก่การหมุนเวียนน้ำผ่านเข้าไปในโพรงจมูก ปลามีเพียงหูตอนใน ไม่มีหูตอนนอกและหูตอนกลางดังเช่นสัตว์มีกระดูกสันหลังบนดิน แรงดันของคลื่นจึงผ่านจากหูตอนในไปตามเนื้อเยื่อได้ง่าย สำหรับเส้นข้างตัวจะใช้ตรวจสอบแรงสั่นสะเทือนที่มีความถี่ต่ำ เส้นข้างตัวเป็นระบบรับความรู้สึกในน้ำประกอบด้วยกลุ่มเซลล์รับความรู้สึกที่เรียกว่า นิวโรแมสท์ ( neuromasts ) ซึ่งมักจะฝั่งอยู่ในท่อของผิวหนัง ท่อเปิดออกที่ผิวตัวเป็นรูเล็ก เรียงตัวอยู่ การเคลื่อนไหลของน้ำทำให้แขนงของไซโทพลาสซึมที่ยื่นออกจากเซลล์รับความรู้สึกลู่ไปตามน้ำ ที่ให้ปลาตรวจสอบการไหลของน้ำและแรงดันของน้ำได้ ทำให้รับรู้สิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้หรือสิ่งต่างที่เคลื่อนเข้ามาหา และเป็นส่วนสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมของปลา
จากการที่น้ำมีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ ปลาจึงไม่ต้องผจญกลับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างที่สัตว์บนบกต้องผจญ ปลาซึ่งเป็นสัตว์ที่อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง ตามสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีความร้อนที่เกิดจากเมตาบอลึซึมแผ่ออกจากผิวตัวอย่างรวดเร็ว แต่การเกิดความร้อนเกิดได้ช้า ดังนั้น อุณหภูมิของร่างกายจึงเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมมากกว่าที่จะควบคุมโดยความร้อนภายใน สัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของร่างกายตามสภาพแวดล้อมเรียกว่า สัตว์เลือดเย็น ( poikilothermic ) ซึ่งเป็นความหมายที่พ้องกับ เอคโตเทอมิค ( ectothermic ) คือปลาที่มีอัตราของเมตาบอลึซึมต่ำนั่นเอง
ปลาแลกเปลี่ยนก๊าซโดยการแพร่ผ่านเหงือก น้ำผ่านจากปากเข้าสู่
ฟาริงซ์ แล้วผ่านเข้าไปในถุงเหงือก ( gill pouch ) หัวใจได้รับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ หัวใจบีบตัวไปยังเส้นเลือดฝอยที่เหงือก เลือดที่ฟอกแล้วจะกระจายจากเหงือกไปยังร่างกายโดยมีแรงดันต่ำ
ปลาไม่มีลิ้นที่เป็นกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวได้ แต่ปลาบางกลุ่มมีส่วนพื้นปากและฟาริงซ์ที่พัฒนามาช่วยในการจับและกลืนอาหาร ปลามีฟันอยู่บนขากรรไกรและมีปลาหลายชนิดที่มีฟันอยู่ที่เพดานปาก และตามแขนงเหงือก
( gill arch ) การหมุนเวียนน้ำเพื่อการหายใจจะช่วยในการนำอาหารลงไปใน
ฟาริงซ์
ของเสียจากเมตาบอลึซึม ( nitrogenous waste ) กำจัดโดยการแพร่ผ่านออกทางเหงือกและไต ไตมีหน้าที่สำคัญในการปรับสภาวะของน้ำและเกลือให้สมดุล ปลาทะเลได้รับเกลือมากจะกำจัดเกลือออกทางต่อมหรือกลุ่มเซลล์เฉพาะที่มี หน้าที่กำจัดเกลือ ( salt gland )
ปลาส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ ( oviparous ) ตัวเมียวางไข่แล้วตัวผู้ฉีดเสปิร์มใส่ไข่ที่วางไว้ เป็นการปฏิสนธิภายนอก
อวัยวะรับความรู้สึก

อวัยวะรับความรู้สึกที่พบทั่วไป คือ
1.อวัยวะรับความรู้สึกที่ผิวหนัง ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณริมฝีปาก ทำหน้าที่รับสัมผัส
ปลาบางชนิดใช้ตรวจสอบอาหาร
2.ถุงรับกลิ่น มีช่องเปิดออกภายนอกทางรูจมูก ( nostrill ) ซึ่งอยู่ด้านหน้าของตา
ถุงรับกลิ่นไม่ได้เปิดเข้าอุ้งปาก และไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ มีหน้าที่ดมกลิ่นอย่างเดียว
3.หู มีเพียง เยื่อลาไบรินท์ ( membranous labyrinth ) คลื่นเสียงถ่ายทอดไปทางกระดูกกะโหลก
ไปยังของเหลวใน labyrinth ซึ่งจะมีท่อครึ่งวงกลมอยู่ 3 ท่อ และภายในมีถุงก้อนหินปูนเรียกว่า โอโทลิต ( otoliths ) หูของปลาจึงมีหน้าที่รับเสียงและทรงตัว

4.ตา ปลาไม่มีหนังตา น้ำจะช่วยให้ตาชุ่มชื้น เยื่อแก้วตา ( pupil ) แบนและมีค่าดัชนีหักเหเท่ากับ
น้ำเลนส์เกือบจะเป็นทรงกลมม่านตามักจะใหญ่กว่าม่านตาของสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆเพื่อให้แสง
ผ่านเข้าได้มากซึ่งจำเป็นสำหรับความมืดสลัวในน้ำลึก เวลาพักตัวตาสามารถมองภาพชัดได้ไกลปะมาณ 40 ซม. แต่สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวได้ไกลกว่านั้น ปลาที่มี 4 ตา จะมีเลนส์คู่อยู่ในตา ทำให้มองขึ้นบนและมองลงล่างได้

5.เส้นข้างตัว( leteral line )ประกอบด้วยเซลล์รับความรู้สึกเพื่อตรวจสอบความสั่นสะเทือนในน้ำและ
แรงดันน้ำ