- พันธุ์ปลาที่นับวันจะหายาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
- ผู้เลี้ยงขาดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเพาะเลี้ยง
- สภาพสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะเลี้ยงปลา
รูปร่างลักษณะ
การแพร่กระจาย
ปลาบู่ทราย เป็นปลาที่เราสามารถพบได้ทั่วไปในน้ำจืดและน้ำกร่อยเล็กน้อย ในหลายประเทศโดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะมลายู ได้แก บอร์เนียว เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน ไทย สำหรับในประเทศไทยพบปลาบู่ขยายพันธุ์ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง และสาขาทั่วทุกภาคตามหนอง บึง และอ่างเก็บน้ำต่างๆแหล่งที่อยู่อาศัย
ปลาบู่ทราย เป็นปลากินเนื้อ ที่ชอบอยู่นิ่งๆตามดินอ่อน พื้นทรายและหลบซ่อนตามก้อนหิน ตอไม้ เสาไม้ รากหญ้าหนาๆ เพื่อรอให้เหยื่อผ่านมาแล้วเข้าโจมตีทันทีด้วยความรวดเร็ว ปลาบู่ทรายพบทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อยเล็กน้อย ลูกปลาบู่ทรายชอบซ่อนตัวบริเวณราก พืชพันธุ์ไม้น้ำพวกรากจอก รากผัก
การสืบพันธุ์
- ความแตกต่างลักษณะเพศ การสังเกตลักษณะความแตกต่างระหว่างปลาบู่เพศผู้และเมีย ดูได้จากอวัยวะเพศที่อยู่ใกล้รูทวาร ปลาเพศผู้มีอวัยวะเพศเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กสามเหลี่ยมปลายแหลม ส่วนตัวเมียมีอวัยวะเพศเป็นแผ่นเนื้อขนาดใหญ่และป้านตอนปลายไม่แหลมแต่เป็น รูขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายถ้วยน้ำชาขนาดเล็ก เมื่อพร้อมผสมพันธุ์ ปลายอวัยวะเพศทั้งตัวผู้และตัวเมียมีสีแดง บางครั้งเห็นเส้นเลือดฝอยสีแดงที่มาเลี้ยงอวัยวะเพศได้ชัดเจน
- การเจริญพันธุ์และฤดูการวางไข่ ปลาบู่โตเต็มวัยเมื่อมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตรขึ้นไป ปลาบู่ที่สามารถขยายพันธุ์ได้มีขนาดตั้งแต่ 8 เซนติเมตรขึ้นไป ปลาบู่สามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปียกเว้นในช่วงฤดูหนาว ตลอดฤดูกาลการวางไข่สามารถวางไข่ได้ประมาณ 3 ครั้งต่อปี
- พฤติกรรมการผสมพันธุ์และวางไข่ การผสมพันธุ์ปลาบู่ในธรรมชาติพบว่า ปลาบู่ตัวผู้จะหาสถานที่ในการวางไข่ ได้แก่ ตอไม้ เสาไม้ ทางมะพร้าว ฯลฯ แล้วทำความสะอาดวัสดุดังกล่าว หลังจากนั้นตัวผุจะเข้าเกี้ยวพาราสี พร้อมไล่ต้อนตัวเมียไปที่รังที่เตรียมไว้ การผสมพันธุ์เริ่มตั้งแต่ตอนหัวค่ำจนถึงเช้ามืด โดยผสมพันธุ์แบบภายนอกตัวปลา
การเพาะพันธุ์ปลาบู่
มี 2 วิธี คือ
- วิธีการฉีดฮอร์โมน
- วิธีการเลียนแบบธรรมชาติ
- การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ดีมีผลทำให้อัตราการฟักและอัตรารอดสูง และได้ลูกปลาที่แข็งแรง พ่อแม่พันธุ์ปลาบู่ที่ดีควรมีลักษณะ
- ควรเป็นปลาวัยเจริญพันธุ์ เพราะไข่ที่ได้มีอัตราการฟักและรอดสูง
- พ่อแม่พันธุ์ควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 300-500 กรัม แต่ไม่ควรเกิน 1 กิโลกรัม และไม่ควรเป็นปลาที่อ้วนหรือผอมเกินไป
- เมื่อจับพ่อแม่พันธุ์ขึ้นมาจากที่กักขังใหม่ๆ ควรรีบคัดปลาที่มีสีนวลดูปราดเปรียว และควรเป็นปลาที่ปรับสีสู่สภาพเดิมได้เร็วเมื่อหายตกใจ ไม่ควรคัดพ่อแม่พันธุ์ที่มีสีเหลืองซีดผิดปกติ
- เมื่อลูบตามตัวปลาจากหัวไปหางแล้วรู้สึกปลาลื่น แสดงว่าเป็นปลาที่มีคุณภาพดี
- บริเวณนัยน์ตาไม่ขุ่นขาว
- ไม่ใช่ปลาที่จับได้ โดยการใช้ไฟฟ้าชอร์ตเพราะเมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่งแล้ว ปลาจะตายมากหรือตายหมดทั้งกระชัง
- ไม่มีพยาธิภายนอกหรือเชื้อราเกาะตามลำตัว ถ้ามีปริมาณไม่มากควรกำจัด รักษา และป้องกันก่อนนำไปทำเป็นพ่อแม่พันธุ์
- บริเวณครีบอก ครีบหู ครีบหางและครีบท้องไม่ควรมีบาดแผลฉีกลึกถึงโคนครีบ
- ตามลำตัวไม่ควรมีบาดแผล ถึงแม้จะเป็นบาดแผลเล็กๆก็ตามเพราะจะทำให้ติดเชื้อโรคและลุกลามตายในที่สุด ถ้าจำเป็นควรรักษาให้หายก่อนนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์
- การเตรียมบ่อพ่อแม่พันธุ์ การเตรียมบ่อพ่อแม่พันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ ขนาดของบ่อเพาะพันธุ์ไม่ควรใหญ่หรือเล็กจนเกินไปเพื่อสะดวกต่อการดูแลและ จัดการกับพ่อแม่พันธุ์ สำหรับบ่อขนาด 800 ตารางเมตร ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 150 คู่ ให้ได้ผลผลิตดีที่สุด
- การเตรียมบ่อควรวิดให้แห้งพร้อม กำจัดศัตรูปลาออกให้หมด และที่สำคัญควรเก็บวัสดุปลาที่สามารถใช้เป็นที่วางไข่ได้ออกให้หมด เช่น พวกรากไม้ ตอไม้ หิน พืชน้ำ ทางมะพร้าว หรือวัสดุอื่น เนื่องจากปลาจะวางไข่ที่วัสดุที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ ซึ่งยุ่งยากต่อการรวบรวมรังไข่ปลาบู่และการฟักไข่อีกด้วยควรตากบ่อทิ้งไว้ 2-3 วัน แล้วใส่ปูนขาว ในอัตรา 50-100 กิโลกรัม ต่อไร่ จากนั้นเปิดน้ำเข้าบ่อและควรกรองน้ำด้วยตะแกรงตาถี่ เพื่อป้องกันไข่ปลาและลูกปลาชนิดอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูโดยตรงต่อไข่ปลาบู่ ถึงแม้ว่าพ่อแม่พันธุ์ปลาบู่จะคอยเฝ้าอยู่ก็ตาม อีกทั้งยังเป็นศัตรูทางอ้อม คือไปแย่งอาหารปลาบู่อีกด้วย
- สำหรับระดับน้ำในบ่อ ควรให้อยู่ในช่วง 1.00-1.10 เมตร แล้วทิ้งไว้ 2-3 วัน เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติขึ้นในบ่อและควรวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำก่อน ปล่อยปลา เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำนั้นมีความเหมาะสมแล้วจึงปล่อยพ่อแม่พันธุ์