สำหรับปลากัดที่ดีและพร้อมลงสนามจะต้องได้รับการฝึกให้
กัดเก่ง ด้วยการฝึกตั้งแต่ในบ่อเลี้ยงแล้วทำการคัดเลือกปลาที่กัดเก่ง
ออกมแล้วนำไปกัดกัดปลากัดในครอกอื่นๆ จนกระทั่งได้ปลาที่กัด
เก่งตามความต้องการ เดิมทีนั้นก่อนที่จะนำปลากัดออกกัดใน
สนามแข่งต่างๆคนเก่าแก่มักจะมีคาถาสำหรับเป่าเสกกำกับการกัด
ปลาในแต่ละครั้งซึ่งคาถาสำหรับการกัดปลาในแต่ละครั้งก็คือ
นะกัดตัง กะขะชนะ ตังข้ามีกำลังดังพระยาปลาใน
มหาสมุทรสุกุโย เกล็ดแก้วมณีหุ้มห่อตัวข้าดังเกาะเพชรพุตากะเก
เขี้ยวแก้วทั้งสี่ดุจตรีเพชรหนุมาน มะอะอุ ปลาใดมารอนราน วินาศ
สันติ
สำหรับปลาที่จะเลี้ยงเพื่อการแข่งขันหรือการกัดนั้นพออายุครบ 6-8 เดือน ให้เอาปลา
ขึ้นมาจากอ่างมาใส่ขวด เพื่อดูว่าปลาตัวไหนสมบูรณ์และลักษณะดีก็ให้คัดไว้ลงอ่างหมักที่ใช้ใบตอง
แห้งของกล้วยน้ำว้าหรือใบหูกวางแช่อ่างหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จึงนำเอาปลาขึ้นมา หากเป็นปลาที่
อ้วนเกินไปในระหว่างหมักก็ควรให้อดอาหารบ้าง โดยให้อาหารวันเว้นวัน เมื่อครบกำหนตามที่
หมักไว้จะได้ปลาที่มีรูปร่างสวยเกล็ดแน่น ผิวเป็นมันเรียบ ต่อจากนั้นให้นำปลามาใส่ในขวดและ
เริ่มฝึกได้
ในการฝึกปลาจะมีชื่อเรียกว่า”ลูกไล่” ให้หาขวดหลน้ำกลั่นมาตัดปากออก เพื่อความ
สะดวกเวลาตักปลาแล้วให้เอาปลาตัวเมียเล็กๆขนาดอายุได้ 3-4 เดือนประมาณ 5-6 ตัว ใส่ลงใน
โหลพอเช้าประมาณ 6-7 โมง ก็เป็นปลาที่เลี้ยงให้พองใส่กันประมาณ 1 นาที เมื่อเห็นว่าดุดีแล้วก็ตัก
ใส่โหลลูกใหม่ปลาก็จะไล่กัดลูกไล่ไปรอบๆ ให้มันไล่อยู่ประมาณ 30 นาที ก็ให้ตักปลาตัวผู้ขึ้น การ
ทำเช่นนี้จะทำให้ปลาว่ายน้ำแข็งแรงไม่ตก
นอกจากการฝึกลูกไล่แล้วก็ต้องฝึก”พานตัวเมีย” โดยเอาปลากัดตัวเมียที่มีขนาดใหญ่
หน่อยนึงลงหมักประมาณ 4-5 วันเพื่อให้ปลาดุแล้วนำมาใส่โหลจากนั้นให้เอาปลากัดตัวผู้ที่เลี้ยงใส่
ลงไปทั้งปลาตัวผู้และปลาตัวเมียจะพองเข้าหากัน คล้ายจะกัดกันมีการวิ่งล่อไปมา การพานตัวเมีย
นี้จะใช้เวลาประมาณ 3-5นาทีก็พอ และเวลาพานตัวเมียนั้นต้องคอยดูตลอดเวลา อย่าให้ปลาตัวผู้
กัดปลาตัวเมียได้ เพราะไม่เช่นนั้นปลาตัวเมียจะกลัว ไม่พองเข้าหาตัวผู้หรือลูกไล่ล่อกับปลาตัวผู้
การพานก็จะไม่มีประโยชน์ การพานนี้ควรทำในช่างบ่าย พอพานเสร็จแล้วก็ให้ตักเอาออกมาใส่ขวด
โหลพักไว้สักครู่หนึ่งจึงให้อาหารพอถึง6 โมงเย็นก็เอาลงอ่างนอนซึ่งเป็นอ่างที่มีลักษณะเดียวกันกับ
อ่างรัดตั้งไว้ในที่สงบ ไม่ให้สะเทือนทำเช่นนี้ติดต่อกันประมาณ 10-12 วัน ปลาที่เลี้ยงไว้ก็จะสมบูรณ์
กัดไม่แพ้คู่ต่อสู้ ซึ่งเซียนปลากัดมักกล่าวกันว่า”น้ำเลี้ยงดี” เช่นเดียวกับไก่ชน ปลากัดพวกนี้แม้ว่าจะ
มีความดุจริง แต่ถ้าถูกช้อนใส่ขวดใหม่หรือถูกแสงสว่างอย่างกะทันหันมันจะตื่นตกใจได้ง่ายๆ

เหมือนกันดังนั้นก็ต้องมีการฝึกโดยหมั่นเปลี่ยนขวดบ่อยๆไม่ให้ซ้ำลักษณะแบบเดียวกันเป็นการฝึก
ให้ปลาเคยชินกับสถานที่ใหม่ๆ ไม่จำเจ เมื่อถึงเวลานำไปกัดจริง มันก็จะไม่เกิดอาการตื่นเวที การ
ฝึกแบบนี้เรียกว่า”ปลอบ” เทคนิคการนำปลากัดเข้าแข่งขัน ว่ากันว่าปลากัดที่เหมาะแก่การนำเข้า
แข่งขันหรือเพื่อการกัดนั้นจะต้องเป็นปลาที่มีอายประมาณ1 ปีเต็ม เพราะปลากัดอายุ1เต็มจะเป็น
ปลาที่สมบูรณ์แข็งแรง และแกร่งพอที่จะเป็นปลานักสู้ได้อย่างเต็มความสามารถ แต่ความเป็นปลา
กัดเก่งใช่ว่าจะอยู่ที่อายุหรือขนาดของปลาก็หาไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับการฝึกหัดปลาด้วย รมถึงการหมัก
ปลากัดให้ไความแกร่ง เกล็ดหนาและปากคมแข็งแรง ซึ่งหลักการเหล่านี้บรรดาเซียนปลากัดแต่ละ
คนจะมีเทคนิคการทำให้ปลาเก่งแตกต่างกันดังจะเห็นได้จาก ป้ายหน้าร้านตามตลาดซันเดย์ว่าเป็น
ปลากัดเก่งจากฉะเชิงเทราบ้าง ราชบุรีบ้าง เพชรบุรีบ้าง นครปฐมบ้างหรือไม่ก็เป็นปลากัดเก่งจาก
ภาคใต้
ส่วนการเทียบคู่ปลาเพื่อการกัดกันนั้น จะอาศัยการวางขวดที่มีปลาพร้อมจะลงสู่สนามกัด
อยู่ในขวด โดยการวางขวดใกล้ๆกัดเพื่อจะได้สังเกตดูขนาดของตัวปลาว่ามีความเหมาะสมที่จะกัด
กันหรือไม่ เมื่อต่างฝ่ายต่างก็ดูว่าปลาของตนมีขนาดใกล้เคียงกันหรือไม่บางครั้งก็อาศัยความพอใจ
และการตกลงกันของทั้งสองฝ่ายด้วย โดยไม่จำเป็นว่าปลาจะมีขนาดเท่าหรือใกล้เคียงกันเพียงอย่าง
เดียวหลังจากที่ต่างฝ่ายต่างเทียบปลากันแล้วตกลงที่จะปล่อยปลากัด พวกเขาทั้งสองฝ่ายก็จะเทน้ำ
ออกจากขวดโหลที่ตนใส่ปลามาลงนาชนะที่เตรียมไว้เหลือน้ำในขวดโหลพียงเล็กน้อย จากนั้นจึงเท
ปลารวมกันเพื่อการแข่งขันกันต่อไป
อนึ่งในการที่บรรดาเซียนปลากัดทั้งหลายจะทำการคัดเลือกปลาของตนเองมาเพื่อการ
แข่งขันกันนี้ก็ต้องอาศัยมือน้ำเลี้ยงดังกล่าวโดยการคัดเลือกปลาที่มีลักษณะเด่นในการกัดเป็นปลา
กัดแม่น กัดรุนแรง กัดเฉพาะที่สำคัญเช่นบริเวณหู
บริเวณกระเพาะ และบริเวณหางหรือตามครีบต่างๆ
ของลำตัวปลา ว่ากันว่าปลากัดเก่งในแต่ละครอกจะมี
ความเก่งเหมือนกันแทบทุกตัว คือหากเป็นประหลาดีก็
จะดีทั้งครอก ตรงกันข้ามหากเสียก็จะเสียทั้งครอก
เช่นกัน “ถ้าขี้แพ้ก็แพ้เหมือนกันทั้งครอกชนะก็ชนะ
เหมือนกันทั้งครอก”
ข้อสำคัญเมื่อปลากัดที่กัดแข่งขันกันชนะแล้วจะ
ไม่สามารถนำปลานั้นมากัดได้อีกเป็นครั้งที่สอง
เนื่องจากว่าปลาจะบอบช้ำเกินไป ควรนำไปเลี้ยงเป็น
พ่อพันธุ์เท่านั้นและควรดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีในการ
พักฟื้นปลา เมื่อปลาพักฟื้นดีแล้วจึงนำไปผสมพันธุ์
ต่อไป ฉะนั้นเมื่อปลากัดผ่านการฝึกฝนที่ดีแล้วย่อมได้เปรียบใน การกัดกันเพื่อการแข่งขันทุกครั้ง
แต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของปลาในแต่ละแหล่งด้วยว่ามีความทนทานหนังเหนียวหรือกัดเก่ง
ดีหรือไม่ อย่างเช่นปลากัดที่ขึ้นชื่อคือปลากัดแดริ้ว ปลากัดเพชรบุรี และปลากัดมาเลเซียเป็นต้น.