แต่เดิมจะเรียกกันว่าปลากัดลูกทุ่ง แต่ระยะหลังได้ตัดคำว่าลูกออก เหลือแต่ปลากัดทุ่ง ซึ่ง
บางแห่งก็เรียกปลากัดป่า เป็นปลากัดที่มีลำตัวค่อนข้างบอบบาง มีสีน้ำตาล ขุ่นหรือแถบเขียวมี
ปากค่อนข้างแหลม มีฟันซี่เล็กแหลมคม ปลาชนิดนี้บรรดา นักเลงปลากัดหรือมืออาชีพเล่นปลากัด
ซึ่งเป็นชาวชนบทเป็นส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไว้เพื่อกัดแข่งขัน กัน เนื่องจากปลากัดทุ่งจะกัด ไม่ทน
เหมือนปลากัดหม้อ และลูกผสมหรือเรียกกันว่าลูกสังกะสีก็ตามแต่ก็มีการเลี้ยงปลากัดป่าไว้น้อย
เหมือน กันเพื่อเอาไว้กัดกับบปลากัดป่าด้วยกัน เมื่อตัวเก่งกัดชนะตัวอื่นๆก็เก็บเอาไว้เลี้ยง
เพาะพันธุ์เอาลูกไว้กัดต่อไปแต่ถ้าตัวไหนกัดแพ้ก็ไม่เก็บเอา ไว้ทำพันธุ์ต่อไปอีกแล้ว หันไปหาปลา
ตัวใหม่มาเลี้ยงแทน ซึ่งสามารถหา ได้ไม่ยากเลย การจะหาปลากัดทุ่งตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่านั้น
ไม่ยากเย็นเท่าไรนัก ถ้าอยู่ในช่วงที่มีฝนตกในท้องนา ของชาวชนบท ซึ่งมีน้ำขังอยู่ตามบึง คลอง
หนอง บ่อทั่วไป และในช่วงฤดูฝนปลากัดจะก่อหวอดเกาะตามพันธุ์ไม้น้ำตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่ไม่
ค่อยจะลึกนัก ซึ่งมัก จะเป็นบริเวณริมบึงริมหนองหรือแอ่งน้ำที่มีน้ำตื้น ๆ ซึ่งจะมองเห็นหวอด ที่
ปลากัดพ่นน้ำลายขึ้นมาเป็นฟอง รวมกันเป็นฟองใหญ่กว่าตัวปลากัดประมาณ 2 เท่าของ ความยาว
ของลำตัวปลาและลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำจนเห็นได้ชัดและความ เหนียวของ ฟองที่รวมกันจะอยู่ได้
นานมาก แม้จะถูกน้ำฝนตกลงมามากแต่หวอดปลากัดจะ ไม่ละลาย ดังนั้น เมื่อเราเดินไปตามริม
บ่อหรือริมหนองริมคลองบึง เมื่อเห็นหวอดปลากัดอยู่ตรง ไหนก็จงมองให้ดี ๆ จะเห็น ว่ามีตัวปลา
กัดว่ายวนเวียนอยู่ใต้หวอด ของมันเพื่อใช้เป็นสถานที่ดึงดูดให้ตัวเมียไปหาเพื่อจะผสมพันธุ์กัน จึง
เป็นการง่ายมาก ที่จะจับปลาตัวนั้น โดยใช้สวิงหรือเครื่องมืออื่น ๆ ช้อนจับปลาขึ้นมาไว้เลี้ยง ต่อไป
แต่ถ้าเป็นนักเลี้ยงมืออาชีพตามชนบทที่มีความ ชำนาญในการจับปลาก็จะใช้มือเปล่าจับปลาขึ้นมา
ได้อย่างง่าย ดาย แล้วใส่ภาชนะที่มีไว้นำกลับบ้าน หรือสถาน ที่เลี้ยงปลาต่อไป ด้วยภูมิปัญญาของ
คนโบราณได้แสดงออกถึงการคัดเลือกปลากัดทุ่งที่กัดเก่งไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อจะได้ปลากัดรุ่น
ใหม่ที่กัดได้เก่งและชนะ ซึ่งตาม คำกล่าวขานเล่าต่อกันมาว่าตามตำนานนั้นระบุว่าปลากัดลูกทุ่งที่
มีประวัติการกัดเก่งมากมีอยู่ 2 รูปลักษณะด้วยกัน คือ
1. ปลากัดทุ่งรูปปลาช่อน มีลักษณะของลำตัวปลาที่กลมยาว ครีบใหญ่ กระโดงใหญ่ ปลายหาง
รูปใบโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นปลาที่ประวัติการกัดเป็น เลิศในบรรดาปลากัดทุ่งด้วยกัน
2. ปลากัดทุ่งรูปปลาช่อน มีลักษณะรูปร่างเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ปลายหางกลม
ปลากัดทุ่งชนิดนี้กัดได้ รุนแรงมาก และมีประวัติการกัดเก่งพอใช้ได้เหมือนกันเนื่องจากปลากัดทุ่ง
กัดได้ไม่ค่อยจะทนนัก นักเล่นปลากัดจึงไม่ค่อยจะ นิยมเพาะพันธุ์ระหว่างปลากัดทุ่งด้วยกันนัก แต่
จะเอาไปผสมกับปลากัดพันธุ์อื่น ๆ ได้ลูกผสมในชื่อที่เรียกกันว่า ” ลูกสังกะสี ” ซึ่งนักเล่นปลากัด
เก่าแก่มักจะพูดกันว่าลูกปลาสังกะสีนั้นเป็นปลากัดที่กัดได้คล่องแคล่วและมีความอดทนเป็นที่สอง
รองจากปลา กัดหม้อหรือบางตัวอาจจะดีกว่าปลากัดหม้อด้วยซ้ำไป
ตามตำนานเก่าแก่ได้บันทึกไว้ว่าลูกสังกะสีบางครอก หรือบางตัวมีรูปร่างและสีสันคล้าย
ปลากัดทุ่งมากจนคนที่ตาไม่ถึงอาจจะมองว่าเป็นปลากัดทุ่งได้ จึงมีนัก เลี้ยงนักเล่นปลากัดบางคน
ถูกหลอกให้เอาปลากัดทุ่งไปกัดกับลูกสังกะสี ก็ย่อมแน่นอน ว่าปลากัดทุ่งตัวจริงจะต้องแพ้พนัน
เพราะปลากัดลูกสังกะสีกัดได้เก่งกว่า ย่อม จะชนะแน่นอน ยกเว้นแต่ปลากัดทุ่งตัวนั้นจะเป็น ปลา
กัดที่กัดได้เก่งจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกัดชนะลูกสังกะสีได้เหมือนกัน แต่ปลากัดทุ่งที่กัดชนะลูกสังกะสี
ได้นั้นมีน้อย ตัวเหลือเกิน หรือแทบจะ ไม่มีเลยก็ว่าได้ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในไทยจะไม่ค่อยนิยม
ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่งก็ตาม แต่ปลากัดป่ากลับไม่ได้รับความนิยมอย่าง ดีมากจาก คนเอเซีย
ด้วยกันที่ไปอาศัยอยู่ใน ต่างประเทศจะแสวงหาปลากัดซึ่งมีลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน และมี
การระบุแหล่ง ที่มาเพราะปลากัดป่ามีคุณลักษณะจำเพาะเช่น เดียวกับปลาอิมแบลิสจากเกาะสมุย
ไม่เหมือนกับปลาอิมแบลิสในมาเลเซีย และยัง มีข่าวว่าชาวเยอรมนีต้องการพื้นที่ประมาณ 100-200
ไร่ในประเทศเพื่อเพาะเลี้ยง ปลากัดป่าในประเทศไทยและในสิงคโปร์ด้วย ปลากัดป่ามามากใน
มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ และโดยเฉพาะใน อินโดนีเซีย มีปลากัดป่า หลายสายพันธุ์ ซึ่ง
มีความสามารถมาก และปลากัดไทยได้พัฒนามาจาก ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่งซึ่งมีสายพันธุ์ที่
เรียกว่า เบตต้า สะเพล็นเดน อิมเบลิส(Betta splendens Imbelis) มีเหงือกเขียว ตะเกียบดิ่งแดง เกล็ด
เข้มวาว และปลากัดทุ่ง ที่เพาะเลี้ยงกันในปัจจุบันได้มา จากจังหวัดเชียงราย เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ไม่
ถูกสายพันธุ์ปลากัดอื่นผสมข้ามพันธุ์แต่อย่างใด