ที่มา : ไทยวัฒนาพานิช. ปลาสวยงามเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2543. (อัดสำเนา)
ปลาทองมีสายพันธุ์ดั้งเดิมจากริมฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง เมื่อ 1500 ปี ล่วงมา
แล้วมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรป เมื่อศตวรรษที่ 17
และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกาในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธุ์
ปลาทองมานานแล้ว และได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลายหลากตั้งแต่สีแดง
สีทอง สีส้ม สีเงิน สีน้ำตาล สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัว
เดียวกัน
ปลาทองเป็นปลาน้ำจืด ลูกปลาทองที่ยังเล็กยังไม่มีสีสดใส ต่อเมื่อโตขึ้น
จึงกลายเป็นสีทอง บางครั้งก็เป็นสีขาวขุ่นและบางตัวก็ยังคงมีสีมอ ๆ เหมือนตอนยัง
เล็กอยู่ เป็นปลาที่รักสงบไม่กัดกันเองหรือรังแกปลาอื่น จึงเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกัน
แพร่หลายที่สุดในเมืองไทย เพราะราคาไม่แพงเกินไป เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว
ในขณะที่ปลาชนิดใหม่กำลังฟู่ฟ่า ราคาแพง แต่ปลาทองก็ยังคงจำหน่ายขายได้เรื่อย ๆ
แต่เมื่อปลาชนิดใหม่นั้นมีมากเข้าราคาตก แต่ปลาทองก็ยังราคาคงเดิมปลาเงินปลาทองมีมากกว่า 100 ชนิด ที่รู้จักกันแพร่หลายมี สิงห์วุ้น
เกล็ดแก้ว คาร์ลิโก ลักเร่ ลูกโป่ง หนวดแพะ ฮอลันดา ฯลฯ ปลาเงินปลาทองบางชนิด
เมื่อโตเต็มที่ตัวจะยาว 5-8 เซนติเมตร และบางชนิดตัวยาวกว่า 30 เซนติเมตร ก็มีปลาทองที่อยู่ตามธรรมชาติมีอายุยืนมาก เฉลี่ยแล้วอยู่ได้ถึง 50 ปี
แต่เมื่อนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม อย่างที่อายุยืนที่สุดเคยเลี้ยงกันได้อายุยืน 15 ปี
แต่ส่วนมากมักเลี้ยงได้แค่สี่หรือห้าปีเท่านั้นปลาก็ตาย
ปลาทองไม่ใช่ปลาเลี้ยงในตู้เป็นปลาที่ชอบอยู่บ่อมากกว่า ชอบน้ำเย็น
แต่ไม่ชอบน้ำอุ่น น้ำที่เหมาะสมกับปลาทองอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 18 องศาเซลเซียส
น้ำที่เลี้ยงปลาทองต้องสะอาด
ปลาทองที่เลี้ยงรวมกันเป็นฝูงเมื่อจะออกไข่ ท้องตัวเมียจะโตผิดสังเกต
และมักถูกตัวผู้ในฝูงว่ายไล่ ควรแยกตัวผู้และตัวเมียไว้ในอ่างเพาะพันธุ์ต่างหาก ในอ่าง
เพาะพันธุ์ควรใส่พรรณไม้น้ำเช่น สาหร่ายไว้ด้วย ตัวผู้จะว่ายเบียดตัวเมียไปติดขอบอ่าง
หรือติดต้นไม้น้ำ พอตัวเมียดิ้นหนีไข่ก็จะพุ่งออกจากท้องเกาะติดตามต้นไม้น้ำหรืออ่าง
เพาะพันธุ์ ไข่ปลาทองมีลักษณะเป็นเม็ดใส ๆ เมื่อไข่เสร็จก็จับเอาตัวผู้และตัวเมียออก
ปล่อยให้ไข่อยู่ตามลำพังประมาณ 3 วัน ไข่ก็จะกลายเป็นตัวอ่อน