1. โรคพริกกับเกลือ (Ichthyophthirius)
โรคพริกกับเกลือ หรือโรค Ichthyophthirius ซึ่งนักเลี้ยงปลาสวยงามมักนิยม
เรียกกันว่า โรค Ick โรคชนิดนี้จะมีอาการปรากฏให้เห็นเป็นจุดขาว ๆ ตามครีบก่อนแล้ว
ลุกลามมาตามตัว เมื่อเป็นมาก ๆ เข้า ในระยะแรก ๆ จะมองเห็นเพียงเล็กน้อย แต่ถ้า
ไม่รีบรักษาก็จะกำเริบเต็มไปตามครีบและตามตัว จนกระทั่งแลเห็นเป็นเสมือน “รา” ซึ่งถ้า
ปลามีอาการถึงขั้นนี้แล้ว โดยส่วนมากก็จะตาย
โรคนี้เกิดจากความหนาวเย็น หรือถูกเชื้อราบางชนิดที่เรียกกันว่า Parasite
ซึ่งเมื่อเกิดแก่ตัวใดตัวหนึ่งแล้ว ก็มักจะทำให้ปลาทั้งตู้พลอยติดโรคไปด้วย เพราะฉะนั้น
ความหนาวเย็นจึงนับเป็นอันตรายแก่ปลามาก เพราะทำให้กำลังต่อต้านของปลา
ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันโรคเชื้อราก็จะยิ่งทวีมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลงนั้น ข้อสังเกต
เมื่อปลามีอาการของโรคนี้ก็คือ มีจุดเล็ก ๆ เกิดขึ้นก่อน ซึ่งจะทำให้เชื้อราเจริญวัยอยู่ต่อไป

ได้ตามเมือก ๆ ที่ตัวปลานั้น และทำให้กลายเป็นหิด หรือ Itching ขึ้น อาการของหิดนี้
จะสังเกตได้ในระยะแรก ๆ คือปลาจะพยายามขูดหรือเกาตัวเองเพราะความคัน โดยอาศัย
ถูไปไถมากับวัตถุที่มีอยู่ภายในตู้ปลานั้น (แต่ข้อนี้ผู้เลี้ยงปลาต้องไม่เอาไปปะปนกับอาการ
ร่าเริงของปลา เวลาปลามีความสุขสดชื่น เช่น เวลาเอาน้ำใหม่ ๆ ใส่เข้าไปเปลี่ยนน้ำเก่า
บางทีปลาก็จะว่ายแฉลบตัวไปมากับพื้นตู้ เพราะอาการเช่นนี้แสดงว่าปลาสบายไม่ใช่ปลา
เป็นโรค) และภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน เมื่อเม็ดหิดนั้นโตขึ้นถึงขนาดประมาณ 1
มิลลิเมตร แล้วเม็ดหิดดังกล่าวก็จะหลุดร่วงออกจากตัวปลาลงไปจมอยู่ก้นตู้ และสร้าง
เกราะหุ้มตัวเรียกว่า Cyst ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมากระหว่าง
50–2,200 ตัว ภายในเกราะนั้น เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสมเกราะหุ้มตัวจะ
แตกออกและตัวอ่อนจะว่ายน้ำเข้าเกาะตามผิวหนังของปลาต่อไป ตัวอ่อนเหล่านี้ถึงแม้ว่า
อาจจะเกาะปลาตัวอื่น ๆ ได้ไม่หมดทุกตัว แต่กระนั้นก็มีจำนวนที่มากพอจะเกาะปลาและ
ทำลายปลาให้เสียได้ทั้งตู้ และอาจจะรวดเร็วประดุจไฟลามทุ่งก็เป็นได้

วิธีการรักษา
วิธีที่จะป้องกันหรือแก้ไขอาการโรคนี้อยู่ที่การสังเกตดูเสียแต่แรก ขณะที่ปลา
ยังว่ายอยู่ได้เป็นปกติ และเมื่อสังเกตเห็นแล้วให้เลือกปฏิบัติตามวิธีใดวิธีหนึ่งตามความ
เหมาะสมดังนี้
1.1 ใช้น้ำอุ่นประมาณ 29 องศาเซลเซียส ผสมกับ Mercurochrome ขนาด
2 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 9 หรือ 12 หยด ต่อน้ำทุก ๆ 10 ลิตร การทำเช่นนี้จะไม่เป็นอันตราย
แก่พรรณไม้น้ำในตู้ปลา แต่เสียเวลาในการคอยดูแลหรือระมัดระวังปลาเนิ่นนานออกไป
หลังจากที่ปลาหายแล้ว
1.2 ใช้น้ำ อุ่นประมาณ 29 องศาเซลเซียส ผสมกับ Methylene Blue
ขนาด 2 เปอร์เซ็นต์ ผสมโดยหยดลงไปสัก 5-7 หยดต่อน้ำทุก ๆ 10 ลิตร แล้วจะไม่ทำให้
ต้องเสียเวลาคอยดูแลกันอีกต่อไปแต่จะเป็นอันตรายแก่พรรณไม้น้ำในตู้ปลาหากจะใช้วิธีนี้
ก็ต้องเอาพรรณไม้น้ำออกเสียก่อนและเมื่อปลาหายดีแล้วก็ต้องเปลี่ยนน้ำเก่าทิ้งให้หมด

1.3 ใช้ผง Quinine Sulphate ผสมกับน้ำ 2–3 หยด ละลายในถ้วย โดยใช้
ปลายช้อนคนให้เข้ากันดี แล้วจึงค่อย ๆ เติมน้ำอุ่น ๆ ลงไปจนเต็มถ้วยนั้น คนต่อไปอีกชั่วครู่
จนแน่ใจได้ว่าละลายเข้ากันดีจริง ๆ แล้ว จึงเทลงไปในตู้ปลานั้น และพยายามทำให้น้ำยา
ที่ผสมนี้กระจายไปให้ทั่วตู้ปลานั้น วิธีนี้ต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังมากเพราะถ้าใช้ปริมาณ
มากเกินไป เช่น 15-20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร จะเป็นอันตรายแก่พรรณไม้น้ำในตู้ปลา
2. โรค Itch หรือหิดชนิดหนึ่ง
อาการของโรคนี้ต่างจากโรค Ick คือมองไม่เห็นเป็นจุดขาว ๆ ตามตัวปลา
โรคนี้เกิดจากจุลินทรีย์หลาย ๆ อย่างที่ก่อเกิดอยู่ตามก้นตู้ปลา รวมทั้งอาหารที่เหลือค้างอยู่
ในตู้ปลาด้วย
วิธีการรักษา
ใช้ Permanganate of potash ประมาณ 1-2 มิลลิกรัมต่อน้ำในตู้ปลา 1 ลิตร
ทิ้งไว้สัก 2 ชั่วโมง แล้วจึงค่อย ๆ ดูดอะไร ๆ ที่ก้นตู้ออก พร้อมทั้งดูดน้ำในตู้นั้นออกเสีย
ด้วยประมาณครึ่งตู้ แล้วเอาน้ำใหม่ที่ใสสนิทจริง ๆ เติมลงไป เพื่อให้ Permanganate ที่
ตกค้างอยู่ได้สลายตัวไปในที่สุด

3. โรค Dropsy หรือท้องมาน
โรคนี้หากไม่ได้ดูแลรักษาในที่สุดปลาก็จะตาย จึงต้องระวังและคอยสังเกต
ให้ดีเสียก่อน ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหอบ เกล็ดตั้งชันเหมือนคนเราเวลาขนลุก และ
บางทีก็มีตาถลนออกมา ปลาจะชอบอยู่โดดเดี่ยว ว่ายก็ไม่ค่อยว่าย กินก็ไม่ค่อยกิน
มักจะขึ้นมาลอยตัวอยู่ตามผิวน้ำ โรคชนิดนี้ไม่ใช่โรคระบาด จึงไม่น่าจะวิตกมากนัก
วิธีการรักษา
ให้แยกปลาที่เป็นโรคนี้ออกไปใส่ขวดไว้ต่างหาก ในที่ที่มีแสงสว่างมาก ๆ อาจ
จะทำให้อาการทุเลาลงได้ และบางตัวก็หายเป็นปกติ แต่ก็เป็นปลาที่ไม่สมบูรณ์สดสวย
อย่างปลาที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน

4. โรคเชื้อรา หรือโรค Fungus
โรคนี้เกิดจากเชื้อราโดยตรง เรียกว่า Fungus ลักษณะหรืออาการของโรค
ชนิดนี้ก็คือ เกิดเป็นเยื่อหุ้มบาง ๆ เป็นปุยขาว ๆ ปนเทาคล้ายสำลีปกคลุมที่ตัวปลาจนกลบ
สีที่ตัวปลาเกือบหมด โดยมากมักจะเป็นหลังจากที่ปลาเคยเป็นโรค Ichthyophthirius
มาก่อนแล้ว แต่บางทีก็อาจเกิดขึ้นได้เอง ซึ่งโดยมากมักจะมีสาเหตุมาจากแผลที่เกิดจาก
การถูกขูดคราด หรือถูกปลาอื่นกัดหรืออุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาเปลี่ยนแปลงไปอย่าง
กะทันหัน หรือให้อาหารปลามากเกินไป หรืออาจเกิดจากภาวะที่ไม่เหมาะสมอย่างอื่น
โดยทั่ว ๆ ไปก็เป็นได้
วิธีการรักษา
4.1 สำหรับปลาป่วยในโรงเพาะฟักให้ใช้มาลาไค้ท์กรีน จำนวน 0.1-0.15 กรัม
ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
4.2 กรณีของปลาป่วยในบ่อดินมักพบต้นเหตุที่ทำให้ปลาป่วยเป็นเชื้อรา
เนื่องมาจากคุณภาพของน้ำในบ่อไม่ดี ให้ปรับด้วยปูนขาวในอัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่
5. โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด
อาการของโรคนี้คือ ปลาจะมีแผลเปิดสีแดงเป็นจ้ำ ๆ ตามลำตัว โดยเฉพาะ
ที่ครีบและซอกเกล็ด มักพบในปลามีเกล็ดเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการ
เกล็ดหลุดตามมาด้วยบริเวณรอบ ๆ และด้านบนของแผลจะมีส่วนที่คล้ายสำลีสีน้ำตาล
ปนเหลืองติดอยู่ โรคนี้เกิดจากเชื้อปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก

วิธีการรักษา
5.1 ใช้เกลือเม็ด จำนวน 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชั่วโมง
5.2 ใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 25-40 C.C. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชั่วโมง
หลังจากแช่ยาแล้วถ้าปลายังมีอาการไม่ดีขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วันก่อน จากนั้น
ใส่ยาซ้ำได้อีก 1-2 ครั้ง ถ้ารักษาถูกโรคอาการของปลาควรจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน

6. โรคเมือกขุ่น
อาการของโรคนี้คือปลาจะมีเมือกสีขาวขุ่นปกคลุมลำตัวเป็นหย่อม ๆ หรือ
ขับเมือกออกมามากจนกระทั่งได้กลิ่นคาว ครีบหุบ ว่ายน้ำกระเสือกกระสน บางครั้ง
จะลอยอยู่ตามผิวน้ำ สาเหตุของโรคนี้คือการติดเชื้อปรสิตเซลล์เดียวจำพวกคอสเตีย
ชิโลโดเนลล่า และโบโดโมแนส
วิธีการรักษา
6.1 ใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 25-40 C.C.ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชั่วโมง
6.2 ด่างทับทิม จำนวน 1-3 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
6.3 เกลือเม็ด จำนวน 5-10 กิโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชั่วโมง
7. โรคผอมแห้ง
ลักษณะของปลาจะซูบผอม หมดสง่าราศี อาจเป็นวัณโรคปอด เบื่ออาหาร
รักษายาก ถ้าเป็นปลาราคาถูกๆ ก็เอาทิ้งไปเสีย เพราะจะทำให้ปลาตัวอื่นติดเชื้อไปด้วย
วิธีการรักษา
ใช้เกลือ 5-10 มิลลิกรัมผสมกับน้ำ 1 ลิตร ใส่ในอ่างตื้นๆ ใต้อ่างมีดินปนทราย
เตรียมเอาไว้ ให้อาหารโดยไส้เดือนหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือลูกไรวันละ 2 ครั้ง หรือใช้เหล้า 4
หยดผสมกับน้ำให้จืดกรอกปากปลาวันละ 2 ครั้ง

8. โรคเห็ดขาว
เริ่มเกิดขึ้นตามครีบและหาง แล้วลามไปจนถึงเหงือกถือว่าถึงขั้นโคม่า ยากที่
จะรักษา โรคนี้เมื่อเกิดขึ้นกับปลาตัวใดมันขยายพันธุ์เร็วมาก จนทำให้การหายใจของปลา
ติดขัด ปลาจะเริ่มผอมลงไม่ค่อยรื่นเริง ไม่ค่อยว่ายน้ำ ในไม่ช้าก็จะตาย เมื่อเห็นว่าปลา
เป็นโรคนี้ ให้แยกปลาออกจากปลาตัวอื่น มิฉะนั้นจะทำให้ปลาตัวอื่นพลอยตายไปด้วย

วิธีการรักษา
ใช้มีดกรีดตัดครีบตามลำตัวส่วนที่เน่าเปื่อยออก โดยการใช้ไม้รองตรงครีบ
แล้วใช้มีดคม ๆ กรีดครีบที่เน่าเปื่อยนั้นออก แล้วใช้ยา Romegramate 2-3 หยด ผสม
น้ำ 1 ถ้วย ทาตรงครีบเพื่อฆ่าเชื้อโรค และก่อนที่จะนำปลาไปปฐมพยาบาลนั้นให้เอา
ผ้าสะอาดชุบน้ำให้เปียกชุ่ม แล้วนำไปห่อหุ้มหัวและเหงือกปลาเอาไว้
9. โรคครีบเป็นสีเลือด
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำในตู้อย่างกระทันหัน หรือเกิดจากการ
ให้อาหารปลามากเกินไป ส่วนใหญ่มักเกิดกับปลาที่มีครีบยาวใหญ่และสวยงาม เพราะ
แรงต่อต้านเชื้อโรคบนครีบใหญ่บอบบาง อาการเริ่มขึ้นที่ครีบและหาง มีลักษณะเป็นสีแดง
พอนานไปครีบก็แตกออกเป็นฝอยๆ ด้านหางจะเห็นชัดเจนก่อน แล้วลุกลามไปทั่วตัว
ถ้าผู้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ในการรักษา อันตรายก็จะเกิดขึ้นกับปลา แล้วในไม่ช้าปลาสวยงาม
ก็จะได้รับเชื้อโรคนี้ทั่วกัน แล้วจะทำการรักษาก็สายเกินไป
วิธีการรักษา
นำเกลือป่นละลายน้ำในอัตราส่วน 3-5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แล้วใส่ผ้าสะอาด
ชุบน้ำเกลือให้เปียกเอามาห่อหุ้มหัวปลาและเหงือกไว้ เอาครีบทางที่เป็นโรคชุบในน้ำเกลือ
ประมาณครึ่งนาที แล้วนำปลาไปไว้ในอ่างปลาที่มีตะไคร่น้ำสีเขียว ทำอย่างนี้ทุกวัน วันละ
ครั้งจนกว่าปลาจะหาย หรือใช้ยา Pomegranate ปริมาณ 35 มิลลิกรัมผสมน้ำ 1 ลิตร
นำปลาที่ป่วยไปแช่ในน้ำยานี้ประมาณวันละ 1 ชั่วโมง วันละ 1 ครั้งจนกว่าจะหาย