ปูม้า (Blue Swimmming Crab) จัดอยู่ในครอบครัว Portunidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Portunus pelagicus (Linnaeus) ปูม้าเป็นปูที่มีขนาดใหญ่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูง  สามารถจำหน่ายในรูปของปูสดและแปรรุปส่งไป จำหน่ายยังต่างประเทศ ปัจจุบันปูม้าในธรรมชาติลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ปริมาณปูม้าที่เข้าสู่ตลาดไม่เพียงพอต่อการ บริโภคและการแปรรูปส่งออก ดังนั้นจึงต้องมีการดำเนินการเพาะพันธุ์ปูม้า เพื่อใช้ในการเลี้ยงปูม้าชดเชยผลผลิตปูม้าใน ธรรมชาติและเพื่อปล่อยปูม้าสู่แหล่งธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าให้คืนความสมบูรณ์สู่ทะเล

สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ ได้ดำเนินการเพาะพันธุ์ปม้าอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2543 ทั้งนี้เพื่อรองรับการขยาย การเลี้ยงปูม้าในเชิงพาณิชย์และเพื่อปล่อยปูม้าคืนสู่ทะเล โดยมีการเพาะอนุบาลทั้งโรงเพาะฟักและขยายลงสู่การอนุบาล ในบ่อดิน โดยขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปูม้าเริ่มจากการนำปูม้าไข่แก่นอกกระดองสีเขียวอมดำจากทะเลหรือจากบ่อเลี้ยงมา ฟักในถังขนาด 200-500 ลิตร แม่ปูม้าจะให้ไข่เฉลี่ย 713,000 ฟอง และวางไข่ได้สูงสุดถึงกว่า 2,000,000 ฟอง ปริมาณไข่ขึ้นกับขนาดของแม่ปูและความสมบูรณ์ของปู เมื่อปูม้าวางไข่หมดแล้วแยกแม่ปูม้าไปเลี้ยงต่อในบ่อดิน ปูม้าจะ สร้างไข่ชุดใหม่ในเวลา 2-3 สัปดาห์ หลังจากไข่ปู้าฟักเข้าสู่ระยะซูเอีย (Zoea) จะย้ายลูกปูระยะ Zoea ไปอนุบาลต่อใน บ่อซีเมนต์ขนาด 2-7 ตันในอัตราความหนาแน่น 40,000-70,000 ตัว/ตัน โดยใช้โรติเฟอร์ คีโตเซอรอส และคลอเรลลาเป็นอาหาร จนลกปูเข้าสู่ระยะ Zoea วันที่ 8 จะเริ่มให้อาหารอารืทีเมียหรือไรน้ำกร่อยเพิ่มเติม ลูกปูจะอยู่ในระยะ Zoea 9-12 วัน จึงเปลี่ยนรูปร่างโดยการลอกคราบเข้าสู่ระยะเมกาโลปา (Megalopa) ซึ่งเริมมีก้ามสำหรับจับอาหารและมีอัตราการกินกันเองสูง จึงต้องมีการย้ายลูกปูเพื่อลดอัตราความหนาแน่นโดยย้ายลงอนุบาลในอัตราปลาบด คีดตเซอรอสเป็นอาหาร ลูกปูอยู่ในระยะนี้ประมาณ 5-7 วัน จะลอกคราบเปลี่ยนรูปร่างสู่ระยะ First Crab ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนปูม้า ระยะนี้ลูกปูจะลงเกาะพื้นเก็บกินอาหารตามพื้นจึงให้อาหารพวกไรแดงและเนื้อปลาบด อนุบาลลูกปูต่อไป 10-15 วัน จะได้ลูกปูขนาดความกว้าง 0.8-1.2 เซนติเมตร สามารถนำไปเลี้ยงและปล่อยสู่ธรรมชาติได้ดี และระยะ First Crab ดังนั้นการนำลูกปูในระยะ Megalopa ย้ายลงอนุบาลในบ่อดินจะช่วยให้อัตราอยู่รอดของปูม้าสูงขึ้น สถานีฯ ดำเนินการโดยปล่อยลูกปูม้าในอัตรา 40,000-80,000 ตัว/บ่อขนาด 400 ตารางเมตร พบว่าเมื่ออนุบาลลูกปูม้าโดยใช้ปลาสดสับละเอียดเป็นอาหารนาน 15-20 วัน จะได้ลูกปูม้าขนาดความกว้าง 1.0-1.4 เซนติเมตร และมีอัตราการรอดตาย 40-60 %