อาการหงายท้องที่พบในปลา ในบางกรณีมีสาเหตุจากการผิดปกติของโครงสร้างภายในร่างกายที่มี
มาตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นเมื่อปลามีอายุมากขึ้น และอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่าง
ทันทีทันใด ทำให้ปลาปรับตัวไม่ทัน การเปลี่ยนถ่ายนํ้าที่ดีควรค่อย ๆ เปลี่ยน ประมาณ 10-20% ไม่ควรเปลี่ยน
ถ่ายน้ำจนหมดตู้หรือบ่อในครั้งเดียว อาการหงายท้องนี้ พบมากในตระกูลปลาทองและปลาหมอสีที่มีอายุมาก
และมีขนาด การรีบแก้ไขเมื่อสังเกตเห็นปลาเริ่มมีอาการใหม่ ๆ โดยใช้เกลือแกง 0.3 -0.5 เปอร์เซ็นต์ (เกลือ 3-
5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) เมื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ใส่เกลือซ้ำในอัตราเดิมควรมีเครื่องช่วยพยุงในขณะอยู่ในน้ำ จะช่วย
ให้อาการทุเลาลงจนหายไปได้ ใหญ่ กรณีที่ไม่สามารถรักษาใหห้ ายได้ ถ้าปลายังกินอาหาร จะมีชีวิตอยู่ได้
นาน นักวิจัยชาวญี่ปุ่น (Tanaka et al., 1998) พบอาการผิดปกติในลักษณะนี้มากในปลาทอง เนื่องจากปลา
ทองมีรูปร่างกลม สั้น โดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิน้ำลดลงมากทันที หรือในช่วงฤดูหนาว ทำให้ตำแหน่งที่ตั้ง
ของถุงลมผิดปกติ เช่น ตั้งเอียงมาทางด้านใด ด้านหนึ่งของลำตัว หรือ มีขนาดใหญ่กว่าปกติ มีผลให้การทรง
ตัวและว่ายน้ำผิดปกติ แบ่งเป็น 5 ลักษณะ คือ
ลักษณะที่ 1 ลอยตัวใกล้ผิวน้ำ ในลักษณะหงายท้อง
ลักษณะที่ 2 ลอยตัวใกล้ผิวน้ำ ในลักษณะเอียงด้านข้าง ด้านใดด้านหนึ่ง
ลักษณะที่ 3 ลอยตัวไปมากลางน้ำ
ลักษณะที่ 4 นอนนิ่ง ๆ ที่พื้นบ่อ หรือตู้
ลักษณะที่ 5 ว่ายน้ำกลับหัวไปมาบริเวณพื้นบ่อ