ชื่อวิทยาศาสตร์ Scleropages formosus ( Muller and Schlegel, 1844 )
ลักษณะ : เป็นปลาน้ำจืดโบราณชนิดหนึ่ง ที่มีลำตัวเพรียวยาวและแบน ท้องมีลักษณะ
เป็นสันแหลม เกล็ดมีขนาดใหญ่และหนา ที่ตอนปลายขากรรไกรล่างมีหนวดขนาดใหญ่ 1 คู่ ปาก
มีขนาดใหญ่มาก มีหลากสีสรร เช่น ทอง แดง เขียว เป็นต้น
อุปนิสัย : กินแมลงเป็นอาหารหลัก เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็ก เช่น กบ
เขียด วางไข่โดยตัวเมียอมไข่ในปาก ไข่มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ใช้
เวลาเป็นเดือนจึงฟักเป็นตัว และเลี้ยงตัวอ่อนในปากประมาณ 2-3 เดือน
ที่อยู่อาศัย : พบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลเอื่อย ๆ ในบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรีและ
ตราด และแม่น้ำลำคลองหลายสายในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและสตูล มักเป็นลำธารที่มีน้ำค่อนข้าง
ขุ่นมีลักษณะเป็นกรดเล็กน้อย และท้องน้ำเป็นหินปนทราย
เขตแพร่กระจาย : พบตั้งแต่พม่าตอนล่าง ภาคใต้ของไทยตั้งแต่แม่น้ำตาปี ถึงสุมาตรา
และบอร์เนียว และพบในภาคตะวันออกตั้งแต่ จ.ตราด ถึงแม่น้ำในชายฝั่งของกัมพูชา และปาก
แม่น้ำโขงในเวียดนาม พบขนาดใหญ่สุด 60 เซนติเมตร
สถานภาพ : ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ในประเทศไทย (สำนักงานนโยบายและแผน
สิ่งแวดล้อม, 2540) และถูกคุกคาม (Vulnerable) ในประเทศอื่น ๆ สูญพันธุ์แล้วจากภาคตะวันออก
ของไทย
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : สาเหตุการคุกคามคือการจับมากเกินขนาด และการ
สูญเสียถิ่นอาศัยที่เป็นลำธารในป่าดงดิบราบต่ำ
รูปแบบการใช้ประโยชน์และการค้า : ใช้ประโยชน์ในรูปของปลามีชีวิต เพื่อเป็นปลาสวยงามที่
มีราคาสูง และมีความนิยมมาก ลักษณะปลามีสีเหลืองทอง สีแดง หรือสีเขียว มากกว่าปลาที่มีสีน้ำ
เงิน ประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศหนึ่งที่สามารถเพาะพันธุ์ได้สำเร็จสามารถส่งออกจำหน่ายได้โดย
ฟาร์มที่ผ่านการรับรองจาก CITES ซึ่งสามารถส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ได้เช่น ไทย
สิงคโปร์ ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนในยุโรป และอเมริกามีความนิยมน้อย
สำหรับประเทศไทยกรมประมงประสบผลสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาตะพัดเขียว ในปี 2531
ส่วนฟาร์มเอกชนยังไม่ปรากฏรายงานอย่างเป็นทางการว่าสามารถเพาะพันธุ์ได้ ปัจจุบันในประเทศ
ไทย มีฟาร์มที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
กฎหมายคุ้มครอง
เป็นปลาที่อยู่ใน บัญชี 1 ของอนุสัญญา CITES และ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ ตาม
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการโดยมิได้รับ
อนุญาต ดังนี้
1. ห้ามเก็บ กัก ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใด
2. ห้ามเพาะพันธุ์
3. ห้ามครอบครอง
4. ห้ามค้า
5. ห้ามนำเข้า ส่งออก หรือ นำผ่าน
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปีปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ