การแพร่กระจายและแหล่งที่อยู่อาศัย
ปลากดเหลือง พบแพร่กระจายในแหล่งนํ้าจืดทั่วไปของทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียตะวันตก ได้แก่
อินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังคลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย สาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศไทย พบแพร่
กระจายในแหลง่ น้ำ ธรรมชาตแิ ละอา่ งเกบ็ น้ำ ทุกภาคของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ พบในลำ น้าํ กก ปิง
วัง ยม น่าน กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตติ์ และเขื่อนกิ่วลม ภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ พบในแม่นํ้ามูล แม่นํ้าโขงและสาขา ในเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำ ปาว เขื่อนลำ ตะคอง อ่างเก็บนํ้าพุง
เป็นต้น ภาคกลางพบในแม่นํ้าเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ป่าสัก เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิรา
ลงกรณ์ และแก่งกระจาน ภาคใต้พบในแม่นํ้าปากพนัง ตาปี ปัตตานี สายบุรี บางนรา โกลก และสาขา
ตลอดจนบริเวณปากแม่นํ้าย่านนํ้ากร่อยบริเวณชายฝั่งก็พบปลากดเหลืองได้ นอกจากนี้พบในทะเลน้อย
ทะเลสาบสงขลา และพรุต่าง ๆ เช่น พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส พรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปลากดเหลืองสามารถเจริญเติบโต และอาศัยอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เป็นปลาที่
ชอบอาศยั อยตู่ ามพนื้ ทอ้ งน้ำ ทเี่ ปน็ แอง่ หนิ หรอื เปน็ พนื้ ดนิ แขง็ น้าํ คอ่ นขา้ งใส และมีกระแสน้ำ ไหลเชี่ยวไม่
แรงนกั พบอยใู่ นระดบั ความลกึ ตงั้ แต่ 2-40 เมตร อกี ทงั้ ชอบอาศยั หาอาหารบรเิ วณทนี่ ้ำ จากตน้ น้ำ
เหนือเขื่อนหรืออ่างเก็บนํ้าไหลมาบรรจบกับบริเวณแนวนํ้านิ่ง โดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า ซึ่งมีนํ้าจืด
ไหลปะทะกับแนวนํ้าเค็มมีกุ้ง ปลา ปู หอย ค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวประมงจะจับปลากดเหลืองได้มากใน
บริเวณนี้
ลักษณะรูปร่าง
ปลากดเหลือง เป็นปลานํ้าจืดที่ไม่มีเกล็ด ลำ ตัวกลม ยาว หัวค่อนข้างแบน กระดูกท้ายทอยยาว
ถึงโคนครีบหลัง มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังเป็นครีบเดี่ยว มีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน และก้านครีบอ่อน
7 ก้าน มีเงี่ยงแข็งและแหลมคม 1 คู่ มีก้านครีบอ่อนข้างละ 9 ก้าน ครีบหางเว้าลึกแฉกบนยาวกว่าแฉก
ล่าง ลักษณะสีของลำ ตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และแหล่งที่อยู่อาศัย ปลากดเหลืองที่มีขนาดโตเต็ม
วยั ลา ํ ตวั บรเิ วณสว่ นหลงั มสี นี ้ำ ตาลเขม้ ปนดำ บรเิ วณดา้ นขา้ งลำ ตวั มสี นี ้ำ ตาลปนเหลอื ง และบริเวณส่วน
ท้องมีสีขาว ปลากดเหลืองเป็นปลาที่มีขนาดปานกลาง ขนาดใหญ่ที่สุดยาวกว่า 50 ซม. ส่วนใหญ่ที่พบมี
ขนาดประมาณ 30 ซม. หรือเล็กกว่า
ลักษณะปลาเพศผู้
1. ลำ ตัวเรียวยาว
2. ท้องไม่อูม
3. ลักษณะเพศเป็นติ่ง เรียวยาวและปลายแหลมยื่นออกมาประมาณ 1 ซม.
ลักษณะของปลาเพศเมีย
1. ลำ ตัวอ้วนป้อม ช่องท้องขยายกว้าง
2. ลักษณะท้องอูมเป่งชัดเจน
3. ลักษณะเพศเป็นรูกลม สีชมพูเรื่อ ๆ
ขนาดสมบูรณ์เพศและฤดูกาลวางไข่
ปลากดเหลืองเพศเมียมีไข่แก่และสามารถวางไข่สืบพันธุ์ได้มีขนาดตั้งแต่ 26.0 ซม. ขึ้นไป
ลักษณะไข่และความดกไข่
ปลากดเหลืองมีไข่ 2 พู ปริมาณความดกของไข่ แม่ปลาที่มีขนาดความยาว 15-35 ซม.
นํ้าหนัก 28-370 กรัม มีปริมาณไข่เฉลี่ย 35,000 ฟอง ไข่ปลากดเหลืองเป็นไข่จมและติดกับวัสดุ
ใต้นํ้า เมื่อสัมผัสกับนํ้ามีสารเมือกเหนียวที่รอบเปลือกไข่ ทำ ให้ไข่ปลาติดกับวัสดุ หรือไข่ติดกันเป็น
กล่มุ กอ้ น ไขม่ ขี นาดเสน้ ผา่ ศนู ยก์ ลางประมาณ 1 มม. เมอื่ ถกู น้ำ จะพองออกเลก็ นอ้ ย
การผสมเทียมปลากดเหลือง
ปลากดเหลืองที่นำ มาเป็นพ่อแม่พันธุ์ ต้องมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป นํ้าหนักไม่ตํ่ากว่า 200 กรัม
ขึ้นไป มาฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ (Suprefect) ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ (Motilium) บริเวณที่ฉีดฮอร์โมน คือ
ทางช่องท้องหรือกล้ามเนื้อบริเวณส่วนหลังเหนือเส้นข้างตัว
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมจะต้องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลากดเหลืองที่มีความสมบูรณ์เพศมาฉีด
ฮอร์โมนสังเคราะห์และยาเสริมฤทธิ์ ในปลาเพศเมีย เข็มที่ 1 ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ ในปริมาณ
7 ไมโครกรัม + และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อแม่ปลา 1 กิโลกรัม และเว้นระยะ 6 ชั่วโมง ก็ทำ การฉีด
เข็มที่ 2 ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ในปริมาณ 25 ไมโครกรัม + และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อนํ้าหนักแม่
ปลา 1 กิโลกรัม พร้อมทั้งทำ การฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ปลาเพศผู้ในปริมาณ 5 ไมโครกรัม+และยาเสริม
ฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อนํ้าหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม เว้นระยะประมาณ 8 ชั่วโมง ก็ทำ การรีดไข่ผสมกับนํ้า
เชื้อ และล้างไข่ด้วยนํ้าสะอาดหลาย ๆ ครั้ง นำ ไข่ไปโรยบนแผงฟักไข่เพื่อให้ไข่ฟักเป็นตัว ไข่ที่
ได้รับการผสมจะมีลักษณะกลมสีเหลืองสดใส ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวขุ่นหรือบิดเบี้ยว ไข่
ปลากดเหลืองจะฟักเป็นตัวภายในเวลา 30 ชม. ในอุณหภูมินํ้า 26-28O C
การอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน
หลังจากลูกปลาฟักเป็นตัวได้ 3 วัน มีความยาวลำ ตัว ประมาณ 3 มม. ระยะนี้ลูกปลาจะเริ่มว่าย
นํ้าหาอาหาร ลูกปลาจะมีลักษณะลำ ตัวขาวใส อาหารที่ให้จะเป็นไรแดง หรืออาร์ทีเมีย จนลูกปลามีอายุ
ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มให้อาหารผงของปลาดุกเล็ก (Powder feed) หรือปลาสดสับละเอียด วัน
ละ 4 ครั้ง (8.00 น., 11.00 น., 15.00 น., และ 18.00 น.) หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ ลูกปลาเริ่มมี
ขนาดแตกต่างกัน จะต้องหมั่นคัดขนาดลูกปลา จะช่วยลดการกินกันเอง และลูกปลาจะมีขนาด
1.5-2.0 นิ้ว ในระยะเวลา ประมาณ 45 วัน
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดิน
การเตรียมบ่อ
1. การสูบนํ้าออกจากบ่อ โดยตั้งเครื่องสูบตรงจุดที่สามารถวิดนํ้าได้หมด เพื่อทุ่นค่าใช้จ่าย
และการทำ งาน การสูบนํ้าควรสูบให้แห้งเพื่อกำ จัดศัตรูปลาและทำ การหว่านปูนขาวทันทีใน
ขณะดินเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่
2. การกำ จัดศัตรูปลาและการป้องกัน ควรทำ การกำ จัดศัตรูปลา ได้แก่ ปลาชนิดต่าง ๆ กบ
เขียด ปู นกชนิดต่าง ๆ การกำ จัด อาจใช้ปูนขาว โล่ติ๊น กากชา หรือสารเคมี เช่น คลอรีนผง อัตรา 5 พีพีเอ็ม ละลายนํ้าแล้วสาดให้ทั่วบ่อสำ หรับการป้องกันศัตรูปลา จัดทำ โดยใช้เฝือก
อวนไนล่อน หรือปลูกตะไคร้ล้อมรอบคันบ่อ
3. การกำ จัดพันธุ์ไม้นํ้าและวัชพืช พันธุ์ไม้นํ้าและวัชพืชอื่น ๆ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนของศัตรู
ปลาและส่วนที่ตายจะเน่าเสียมีผลต่อคุณภาพนํ้า ทำ อันตรายต่อปลาที่เลี้ยงได้และวัชพืชต่าง
ๆ จะเป็นอุปสรรคต่อการจับปลาและทำ ให้การเลี้ยงได้ผลผลิตไม่แน่นอน จึงต้อง
ทำ การกำ จัดพันธุ์ไม้นํ้าและวัชพืชที่มีอยู่ภายในบ่อเลี้ยงให้หมด
4. การตากบ่อ นอกจากจะทำ เพื่อเป็นการกำ จัดศัตรูปลาแล้ว ยังเป็นการช่วยให้แก๊สพิษ
บางชนิดที่ฝังก้นบ่อ มีโอกาสระเหยและถูกทำ ลายโดยแสงแดดและความร้อน ทั้งยังเป็นการ
ฆา่ เชอื้ โรคทอี่ ยบู่ รเิ วณกน้ บอ่ ใหต้ ายลง เปน็ การทำ ใหห้ นา้ ดนิ ในบอ่ มคี ณุ ภาพดขี นึ้ ในกรณที ี่
บ่อมีเลนก้นบ่อหนา ควรทำ การปาดเลนทิ้งก่อนหรือทำ การไถพรวน แล้วทำ การหว่าน
ปูนขาวและตากบ่อต่อไป กรณีที่บ่อเป็นดิน ดินเปรี้ยวจัด ไม่ควรปาดเลนทิ้ง เพราะจะทำ ให้
นํ้าที่สูบเข้ามาใหม่เป็นกรดจัดขึ้น
5. การปรับสภาพดิน การปรับสภาพดินขึ้นอยู่กับความเป็นกรด-ด่างของดินเป็นหลัก การ
ตรวจสอบสภาพดินที่เป็นกรดควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ประมงก่อนในสภาพดินที่เป็นกรด
สังเกตพบหญ้าแห้วทรงกระเทียมหรือกระจูดหนูกกและเสม็ด นํ้าในบ่อมีสีใส
แบบตาตั๊กแตน หรืออาจทดสอบโดยใช้กระดาษวัดความเป็นกรด-ด่าง หรืออาจชิมนํ้า
บรเิ วณใกลบ้ อ่ เลยี้ งจะมรี สเฝอื่ น ๆ และอีกวิธีหนึ่ง คอื ใชน้ ้ำ หมากบว้ นลงในแหลง่ น้ำ ถา้ น้ำ
หมากเปลี่ยนจากสีแดงอิฐเป็นสีแดงเข้มแสดงว่าเป็นกรดจัด การปรับสภาพดินที่เป็นกรด
อาจใช้ปูนขาว ตั้งแต่ 100-200 กก./ไร่ กรณีที่เป็นบ่อเก่า ผ่านการใช้งานมา 2-3 ปี อาจ
ดำ เนินการไถพรวนดินก้นบ่อ พร้อมสูบนํ้าทิ้ง เพื่อลดปริมาณสารอินทรีย์ในดินที่มีผลต่อ
การเน่าเสียของก้นบ่อ แล้วหว่านปูนขาวในอัตรา 200 กก./ไร่ พร้อมการไถพรวนดิน
ไดย้ งิ่ ดี คณุ สมบตั ขิ องปนู ขาว ช่วยฆ่าเชื้อโรค และทำ ให้ตะกอนทแี่ ขวนลอยในน้ำ ตกตะกอน
เร็วขึ้นและทำ การตากบ่อให้แห้งสนิท เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ จึงเปิดนํ้าเข้าบ่อ
อย่างน้อย 3-5 วัน จึงปล่อยปลาลงเลี้ยงได้
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินขนาด 1 ไร่ จำ นวน 5 บ่อ ของเกษตรกรอำ เภอปากพนัง
และอำ เภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในอัตราการปล่อย 5 ตัว/ตารางเมตร หรือปล่อยบ่อละ
7,700 ตัว ขนาดเริ่มปล่อยความยาว ประมาณ 5 ซม. ให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษในระยะเวลา2
เดือนแรก อาหารเม็ดสูตรปลาดุกเล็ก ในระยะเวลา 2 เดือนถัดมา และอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่อีก
2 เดือน เป็นระยะเวลาการเลี้ยง 6 เดือน สามารถจับปลาเพื่อจำ หน่ายได้จำ นวนทั้งหมด
637 กิโลกรัม/ไร่ ขนาดปลาที่จับได้ 5-8 ตัว/กิโลกรัม อัตรารอดตาย 73.5% และอัตราแลกเนื้อ
(FCR) เท่ากับ 1.72
การเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง
การเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง อาจใช้ตาข่ายพลาสติกขนาด 3x4x1.8 เมตร หรือกระชังอวน
โพลี ปักหลักไม้อยู่กับที่ หรือกระชังมีทุ่นลอยขนาด 3x4x2 เมตร จากการปล่อยปลาขนาด 200-250
กรัม อัตราปล่อย 1,000 ตัว/กระชัง ให้ปลาสดสับและส่วนผสมพวกหัวอาหารปลาสำ เร็จรูปเป็นอาหาร
วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ระยะเวลา 4 เดือน ผลปรากฎว่าปลาเจริญเติบโตมีนํ้าหนักเฉลี่ย 540 กรัม/ตัว
อัตรารอดตาย 82.0 % ผลผลิตประมาณ 460 กิโลกรัม/กระชัง
การป้องกันรักษาโรคและพยาธิ
ในธุรกิจการเลี้ยงปลากดเหลือง ปัญหาที่ผู้เลี้ยงปลาประสบอยู่บ่อย ๆ คือ เรื่องการเกิดโรคปลา
โดยโรคที่พบมักเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อพยาธินอก, การติดเชื้อพยาธิภายใน, การ
ติดเชื้อแบคทีเรีย, การติดเชื้อราและนํ้าที่เลี้ยงเป็นพิษ เป็นต้น การดำ เนินการป้องกันรักษาจึงควร
พิจารณาจากสาเหตุของโรคซึ่งสามารถวินิจฉัยเบื้องต้นได้ด้วยตนเองดังต่อไปนี้
โรคพยาธิจากภายนอก
1. โรคจุดขาว (Ichthyophthirius : “Ich”) ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็ม
หมุดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วลำ ตัวและครีบ สาเหตุของโรคนี้ คือ โปรโตซัวชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็น
อาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกมาจากตัวปลา โดยจมตัวลงสู่บริเวณก้นบ่อปลา และสร้างเกราะหุ้มตัว
ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำ นวนมากภายในเกราะนั้น เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอก
เหมาะสมเกราะหุ้มตัวจะแตกออกและตัวอ่อนของพยาธิจะว่ายนํ้าเข้าเกาะตามผิวหนังของปลาต่อไป
การป้องกันและรักษา ยังไม่มีวิธีกำ จัดปรสิตที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังที่ได้ผลเต็มที่ แต่วิธีการที่ควรทำ คือ
การทำ ลายตัวอ่อนในนํ้า หรือทำ ลายตัวแก่ขณะว่ายนํ้าอิสระ โดยการใช้สารเคมีดังต่อไปนี้
1. ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี. ต่อนํ้า 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง สำ หรับปลาขนาดใหญ่
2. มาลาไคท์กรีน 1.0-1.25 กรัม ต่อนํ้า 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 24 ชั่วโมง สำ หรับปลา
ขนาดใหญ่ หรือ 0.15 กรัม ต่อนํ้า 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง หรือ เมทธิลีนบลู 1-2
กรัม ต่อนํ้า 1,000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน
3. มาลาไคท์กรีนและฟอร์มาลิน ในอัตราส่วน 0.15 กรัม และ 25 ซีซี. ต่อนํ้า 1,000 ลิตร
นาน 24 ชั่วโมง แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน ควรเปลี่ยนนํ้าใหม่ทุกวัน และทำ การแช่ยาวัน
เว้นวันจนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น วิธีนี้จะไดผ้ ลดมี ากเมอื่ น้ำ มอี ณุ หภมู ิ 28-30 องศา
เซลเซียส
2. โรคพยาธิและปลิงใส (Gyrodactylus) ปลาที่มีพยาธิปลิงใสเกาะ จะมีอาการว่ายนํ้า
ทุรนทุรายลอยตัวตามผิวนํ้า ผอม กระพุ้งแก้มเปิดปิดเร็วกว่าปกติ อาจมีแผลขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุด
กระจายอยู่ทั่วตัว ถ้าเป็นการติดโรคในขั้นรุนแรง อาจมองเห็นเหมือนกับว่า ปลามีขนสั้น ๆ สีขาว
กระจายอยู่ตามลำ ตัว ซึ่งอาจทำ ให้ปลาตายได้ โดยเฉพาะลูกปลาที่เริ่มปล่อยลงบ่อดินใหม่ ๆ ควร
ระมัดระวังโรคนี้ให้มาก
การป้องกันและรักษา
1. ใชฟ้ อรม์ าลนิ จำ นวน 25-40 มล. ตอ่ น้ำ 1,000 ลติ ร แช่นาน 24 ชั่วโมง
2. ใช้ดิพเทอร์เร็กซ์ จำ นวน 0.25-0.5 กรัม ต่อนํ้า 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน
1. โรคพยาธิใบไม้ (Pleurogenoides)
พยาธิใบไม้ที่ทำ ให้เกิดโรคในปลานั้นพบทั้งขณะที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วและตัวอ่อนเต็มวัยของพยาธิ
ใบไม้พบได้ในทางเดินอาหารภายในช่องท้อง ไม่ค่อยทำ อันตรายต่อปลาเท่าใดนัก ต่างกับตัวอ่อนซึ่งพบ
ฝงั ตวั อยบู่ รเิ วณเหงอื กและอวยั วะภายในตา่ ง ๆ ทาํ ใหเ้ กดิ ความเสยี หายกบั เนอื้ เยอื่ ของเหงอื กเปน็ อยา่ ง
มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการกระพุ้งแก้มเปิดอ้าอยู่ตลอดเวลา ว่ายนํ้าทุรนทุราย
ลอยตัวที่ผิวนํ้า ผอม เหงือกบวมอาจมองเห็นจุดขาว ๆ คล้ายเม็ดสาคูขนาดเล็กเป็นไตแข็งบริเวณเหงือก
ได้ และปลาจะทยอยตายเรื่อย ๆ ปลาหลายชนิดในแหล่งนํ้าธรรมชาติอาจพบพยาธิใบไม้เต็มวัยได้
การป้องกันและรักษา
1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก เพราะอาจมีไข่ของพยาธิใบไม้ติดมา ถ้าหากจำ เป็นต้องใช้ปุ๋ย
คอก ควรตากให้แห้งเป็นอย่างดีก่อนใช้และควรกำ จัดหอย ซึ่งจะเป็นตัวช่วยเสริมในการ
ระบาดของพยาธิชนิดนี้ครบวงจร โดยการตากบ่อให้แห้งและโรยปูนขาวให้ทั่วในอัตรา
30-50 กก./ไร่ หลังจากจับปลาขึ้นแล้วทุกครั้ง
2. ยังไม่มีวิธีรักษาหรือกำ จัดตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ที่เกาะบนตัวปลา
โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
1. โรคตัวด่าง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Columnaris ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีแผลด่างขาวตามตัว และ
เมอื่ ระยะเวลานาน แผลดา่ งขาวนจี้ ะกลายเปน็ แผลลกึ ได้ โรคนมี้ กั เกดิ กบั ปลาหลงั การลำ เลียง เนอื่ งจาก
อุณหภูมิของอากาศที่สูงทำ ให้ปลามีความต้านทานลดลง เชื้อแบคทีเรียนี้จะเจริญเติบโตได้ดีและ
ทา ํ อนั ตรายตอ่ ปลา ปลาทตี่ ดิ โรคนจี้ ะตายเปน็ จำ นวนมากอยา่ งรวดเรว็
การป้องกันและรักษา
1. แช่ยาเหลืองในอัตราส่วน 2 มิลลิกรัมต่อนํ้า 5 ลิตร นานประมาณครึ่งชั่วโมง
2. ในขณะขนส่งลำ เลียงปลาควรใส่เกลือเม็ดลงในนํ้าที่ใช้สำ หรับการขนปลาในปริมาณ
1 ช้อนชา ต่อนํ้า 1 ลิตร
3. ใช้ด่างทับทิมเข้มข้น 2 พีพีเอ็ม แช่ตลอดไป
4. ใช้ฟอร์มาลิน จำ นวน 40-50 พีพีเอ็ม แช่นาน 24 ชั่วโมง
5. ในกรณีที่เชื้ออยู่ในกระแสเลือดใช้ เทอร์รามัยซิน 5 กรัม ต่อนํ้าหนักปลา 100 กก. ต่อวัน
ติดต่อกันเป็นเวลา 10-12 วัน
2. โรคแผลตามตัว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas และ Pseudomonas ปลาจะมีลักษณะ
ผิวหนังบวมแดงและเป็นแผลลึกไปจนเห็นกล้ามเนื้อ ส่วนในปลาขนาดเล็ก มักจะทำ ให้เกิดอาการครีบ
กร่อน ทั้งครีบตามลำ ตัวและครีบหาง
การป้องกันและรักษา
1. ใชย้ าปฏิชีวนะจำ พวกไนโตรฟรู าโซนในอตั ราสว่ น 1-2 มลิ ลกิ รมั ตอ่ น้ำ 1 ลติ ร แช่ปลา
นานประมาณ 2-3 วัน
2. แช่ปลาที่เป็นโรคในสารละลายออกซีเตตร้าไซคลินหรือเตตร้าไซคลิน ในอัตราส่วน
10-20 มิลลิกรัมต่อนํ้า 1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
3. ถ้าปลาเริ่มมีอาการของโรค อาจผสมยาปฏิชีวนะตามข้อ 1 หรือ 2 ในอัตราส่วน 60-70
มิลลิกรัมต่อนํ้าหนักปลา 1 กก. หรือ 2-3 กรัม ต่ออาหาร 1 กก. นานติดต่อกัน 3-5 วัน
3. โรคท้องบวม อาการของโรคจะเห็นส่วนท้องบวมมาก และอีกแบบหนึ่งนั้นผิวหนังจะเป็นรอย
ชํ้า ตกเลือด
การป้องกันและรักษา
1. แช่ปลาในยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าไซคลิน ในอัตราส่วน 10-20 พีพีเอ็ม
2. การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลา ควรใช้ปูนขาวในอัตราส่วน 50-60 กก./ไร่
โรคที่เกิดจากปัจจัยอื่น
การเกิดโรคของปลากดเปลือง นอกจากจะมีสาเหตุมาจากเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ แล้ว สภาพ
แวดล้อมของที่อยู่อาศัยของปลา ทั้งทางด้านกายภาพหรือองค์ประกอบด้านเคมี จะเป็นปัจจัยสำ คัญอีก
ประการหนึ่งที่จะเป็นจุดเริ่มต้น ทำ ให้ปลาอ่อนแอและส่งผลถึงการติดเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ปัจจัยเหล่านี้
ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนในนํ้า ความเป็นกรดด่างของนํ้า สารพิษในนํ้า ปริมาณคลอรีน หรือโลหะหนัก
ในนํ้า รวมถึงสภาพอุณหภูมิของนํ้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน ดังนั้น การเลี้ยงปลากดเหลืองผู้เลี้ยง
จึงควรที่จะศึกษาวิธีการป้องกันและแก้ไขหัวข้อดังกล่าว ให้อยู่ในภาวะเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของปลา
หลีกเลี่ยงสาเหตุที่มีผลทำ ให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างกระทันหันข้างต้น