อมรชัย สมเจตน์เลิศเจริญ
มาตรการป้องกันและแก้ไขสารตกค้างในสินค้ากุ้งตามมติคณะรัฐมนตรี
มาตรการระยะสั้น
1. เรียกสินค้ากุ้งที่อยู่ระหว่างเดินทางและไม่มีความมั่นใจในเรื่องสารตกค้างให้นำกลับมาตรวจสอบใหม่
2. ตรวจสอบสินค้ากุ้งที่ส่งออกไปต่างประเทศ 100%
3. ให้บริการตรวจสอบสารตกค้างแก่เกษตรกรในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ตามศูนย์/สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
4. กรมประมงจัดทำหนังสือไปยังประเทศผู้ส่งออกวัตถุดิบกุ้งเข้ามาในประเทศไทย โดยผ่านทางสถานทูต ได้แก่ประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ มาเลเซีย และพม่า เพื่อให้ผู้ส่งออกของประเทศเหล่านั้นจัดทำใบปลอดโรค (Health Certificate) จากประเทศต้นทางมาแสดงพร้อมกับ สินค้าที่นำเข้ามาในประเทศไทย พร้อมทั้งประสานกับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา ในการตรวจสอบใบปลอดโรคอีกทางหนึ่งด้วย
5. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลเสียของสารตกค้างในสินค้ากุ้ง และแนวทางในการผลิตกุ้งปลอดสารตกค้างผ่านสื่อต่าง ๆ
6. รณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลเสียของสารตกค้าง ผ่านบริษัทค้าอาหารสัตว์น้ำ/เคมีภัณฑ์ โดยจัดทำฉลากติดถุงอาหาร
มาตรการระยะยาว
1. ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งระบบชีวภาพ ตามแนวทาง Code of Conduct เพื่อให้ได้กุ้งคุณภาพปลอดจากสารตกค้าง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. กรมประมงมีแผนการควบคุมและตรวจสอบยาปฏิชีวนะที่ห้ามใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งจะควบคุมทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่ฟาร์มถึงโรงงาน และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดเวลา โดยดำเนินการดังนี้– ตรวจสอบในระดับฟาร์มและจัดทำหนังสือกำกับการซื้อ-ขายกุ้งกุลาดำ (Movement Document) ทุกครั้งที่มีการซื้อขาย
– ปรับปรุงทะเบียนผู้เลี้ยงกุ้งทะเลให้เป็นปัจจุบันเพื่อประโยชน์ในการจัดทำ Movement Document และการตรวจสอบ
– สร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกุ้ง เรื่องความสำคัญของการผลิตกุ้งปลอดสารตกค้าง3.ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการเร่งรัดและลดขั้นตอนในการ จดทะเบียนยาสัตว์น้ำเพื่อเกษตรกรมียาสัตว์น้ำที่ได้มาตรฐานให้เลือกใช้มาก ขึ้น
4.ศึกษาและวิจัยหาตัวยาชนิดใหม่พื่อใช้ในการรักษาโรคสัตว์น้ำแทนยาสัตว์น้ำ ปัจจุบันที่ประสบปัญหาการดื้อยาของเชื้อและศึกษาวิจัยหาทาง และศึกษาวิจัยหาทางเลือกอื่นในการป้องกันโรคเพื่อทดแทนการใช้ยาในการรักษา โรคสัตว์น้ำ อาทิเช่น การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาการ ป้องกันโรค การใช้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน การใช้โปรไบโอติก การจัดการระบบการเลี้ยง ที่จะทำให้กุ้งแข็งแรง ไม่เป็นโรคได้ง่าย เป็นต้น
5. ให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำถึงการใช้ยาสัตว์น้ำที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
6. มีโครงการเฝ้าระวังในเรื่องชนิดของยาที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และพัฒนาการของการดื้อยาของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในเรื่องของการควบคุมยา ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการตกค้างของยาคลอแรมฟินิคอลและยาไนโตรฟูแรนในเนื้อสัตว์หรือ ผลิตผลที่ได้จากสัตว์ อาจทำให้เกิดอันตรายหรือความเป็นพิษต่อผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์นั้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งกระทรวงที่ 578/2531 เพิกถอนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่มีคลอแรมฟินิคอล อนุพันธ์และเกลือของยาชนิดนี้ รวมทั้งเกลือของอนุพันธ์ผสมอยู่ ที่นำมาใช้ในสัตว์ที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 16 ลงวันที่ 31 มกราคม 2532) และได้ประกาศให้คลอแรมฟินิคอลเป็นยาควบคุมพิเศษ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 119 ตอนพิเศษ 50ง ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2545) สำหรับยาไนโตรฟูแรนมีคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 451/2545 เพิกถอนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาทุกตำรับที่มีตัวยาไนโตรฟูราโซน (หรือเกลือของไนโตรฟูราโซน) และยาฟูราโซลิโดน (หรือเกลือของฟูราโซลิโดน)