ปลาซิวแคระชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า : Tyttocharax madeirae Fowler, 1913
ชื่อสามัญว่า : Mini blue Tetra, Blackedge Tetra
การ ที่มันได้ชื่อดังกล่าวมาจากลักษณะบนลำตัวของมันเอง ซึ่งเมื่อเกล็ดของปลาซิวชนิดนี้สะท้อนกับแสงไฟจะปรากฏเป็นสีเหลือบประกายฟ้า สวยงามมากส่วนขอบของครีบทุกครีบจะมีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำส่วนหางของมันก็ มีลักษณะเด่นอีกด้วย คือ ปลายหางทั้งสองแฉกถึงแม้จะมีขอบสีดำแต่เมื่อสะท้อนกับแสงไฟแล้วจะมีสีเหลือบ น้ำตาลส้ม ดูแล้วแปลกตาและทำให้เจ้าปลาซิวแคระชนิดนี้ดูเด่นมากยิ่งขึ้น
เมื่อ ได้รู้ชื่อเสียงเรียงนามกันแล้วครับ มาดูถิ่นกำเนิดของมันบ้างว่าเจ้าปลาซิวแคระชนิดนี้มาจากไหน ปลาซิวแคระชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาใต้ทางทิศตะวันตกของประเทศบลาซิ ลเอ๊ะ! พูดถึงประเทศบราซิลหลายคนคงรู้จักกันดีเพราะประเทศที่มีทีมฟุตบอลที่ยอด เยี่ยมมากได้แชมป์ฟุตบอลโลกมากที่สุดและนักฟุตบอลก็ล้วนแต่มีความสามารถใน การเล่นฟุตบอลทั้งนั้น เอ๊ะ! จะเริ่มนอกเรื่องแล้วซิครับกลับมาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่านะครับ ปลาซิวแคระมีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิลบริเวณแม่น้ำมาเดียราห์ ซึ่งถือว่าเป็นแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญมากเพราะเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่หล่อเลี้ยงหลายชีวิตและยังเป็นแม่น้ำสายเดียวที่เชื่อมต่อไปจนถึงประเทศ โบลิเวียจึงไม่น่าแปลกใจว่ามีรายงานพบปลาชนิดนี้ทางตอนเหนือของประเทศ โบลิเวียอีกด้วย
เนื่องจากปลาซิวแคระเป็นปลาที่มีขนาดเล็กมากนิสัย ของพวกมันจะชอบว่ายน้ำอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ร้อยกว่าตัวไปจนถึงหลายร้อย ตัว ปลาซิวแคระมักจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีพืชน้ำขึ้นอย่างหนาแน่น เพื่อไว้เป็นที่หาอาหารและหลบซ่อนศัตรูอีกด้วย และนิสัยอีกอย่างหนึ่งของเจ้าตัวจิ๋วนี้เป็นปลาที่ตื่นตัวและว่ายน้ำอยู่ ตลอดเวลาและชอบน้ำที่เย็นและมีกระแสน้ำไหลปานกลาง หากท่านมาเลี้ยงในตู้ควรมีระบบกรองที่ดีและควรนำพืชน้ำที่มีลักษณะเป็นกอ แน่นแต่ไม่ทึบจนเกินไปอย่างเช่น ต้นเทปต่างๆโดยเฉพาะเทปใบแคบ เป็นต้น นอกจากนี้น้ำที่นำมาเลี้ยงควรจะเป็นน้ำอ่อนและในตู้ควรจะประดับตกแต่งด้วย ดินภูเขาไฟในการจัดตู้เพราะดินภูเขาไฟมีส่วนช่วยในการรักษาคุณภาพน้ำให้มี สภาพเป็นอ่อนและมี PH ที่เหมาะสมค่า PH ของน้ำในตู้เลี้ยงปลาซิวแคระจะอยู่ในช่วง 6.2 – 6.5 ส่วนอุณหภูมิในตู้เลี้ยงควรอยู่ที่ 24 –26 องศาเซลเซียส และการเปลี่ยนน้ำควรจะเปลี่ยนครั้งละประมาณ 30% ทุกสัปดาห์ เพื่อให้น้ำที่เลี้ยงคุณภาพดีอยู่เสมอ
หากท่านเลี้ยงปลาในตู้สิ่ง สำคัญคือ ปลาต้องมีสุขภาพแข็งแรงและมีสีสันที่สวยงาม ถ้าหากต้องการปลาที่มีสีสันสวยงามควรจะคัดแยกเพศของปลาก่อนนำมาเลี้ยงเพราะ ปลาเพศผู้จะสวยงามมากกว่าปลาเพศเมีย ลักษณะการดูเพศของปลาซิวชนิดนี้นั้นทำได้ไม่ยากโดยปลาตัวผู้จะมีครีบเครื่อง และสีสันที่จัดจ้านสวยงามกว่าปลาตัวเมีย ปลาตัวผู้เมื่อมีความสมบูรณ์และมีสุขภาพดีจะว่ายน้ำพองครีบขู่กันแต่ไม่ถึง ขั้นทะเลาะกันรุนแรง ส่วนปลาตัวเมียจะมีครีบเครื่องที่สั้นและเล็กกว่าสีสันของปลาตัวเมียก็ไม่ จัดจ้านเท่าปลาตัวผู้
อาหารที่ปลาซิวกินจะพบมากในแหล่งน้ำที่มัน อาศัยอยู่ เช่น แมลงขนาดเล็กและตัวอ่อนของสัตว์จำพวกปูและกุ้งซึ่งมีมากมายมหาศาลในบริเวณดง ไม้น้ำที่พวกมันอาศัยอยู่ ปลาซิวแคระเมื่อนำมาเลี้ยงในตู้พบว่าสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้เป็น อย่างดีแต่ต้องทำอาหารสำเร็จรูปให้มีขนาดเล็กหรือทำให้เป็นผงหยาบๆเสียก่อน ส่วนอาหารสมควรให้ครั้งละไม่มากเพราะปลาซิวเป็นปลาที่กินจุให้เท่าไรก็กิน หมดหากให้ครั้งละมาก ๆ อาจทำให้ปลาท้องอืดได้ อาหารสดที่ควรให้ปลาซิวกินนั้นควรจะใช้ลูกไรแดงแช่แข็ง เป็นต้น
โรค ของปลาซิวชนิดนี้โรคที่พบบ่อย คือ โรคเปื่อย ซึ่งเป็นโรคประจำสำหรับปลาในกลุ่ม Tetra เมื่อมีโรคเกิดขึ้นกับปลาขนาดเล็กมากเช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่ยากและละเอียด อ่อนในการรักษารวมทั้งยังเป็นการเสี่ยงที่จะใช้สารเคมีกับพวกมันอีกด้วย แต่สิ่งที่ควรระวังในการเลี้ยงปลาชนิดนี้ คือ เรื่องคุณภาพน้ำ ระบบกรองควรมีประสิทธิภาพและควรหมั่นเปลี่ยนน้ำทำความสะอาดอยู่เสมอและควร ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่เพื่อป้องกันโรคต่างๆ หากเราไม่ดูแลรักษาทำความสะอาดระบบกรองเศษอาหารที่ตกค้างอยู่จะเข้าไป หมักหมมในระบบกรอง ทำให้คุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงเสียไปและเพื่อป้องกันโรคอีกด้วย
สิ่งมี ชีวิตขนาดเล็กคนส่วนใหญ่แทบไม่ให้ความสำคัญกับมันเลยเพราะนึกไม่ถึงว่าพวก มันจะมีประโยชน์และมีความสวยงามซ่อนอยู่ในตัวของมันเองเช่นดังอัญมณีที่มอง ผิวเผินก้อนกรวดก้อนหินชิ้นเล็กๆมากมายบนพื้นแต่เมื่อนำมาเจียระไนกลับมี ความสวยงามอย่างไม่น่าเชื่อนี้แหละครับทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ที่มีขนาด เล็กเราไม่ควรมองข้ามมันไปนะครับ หากเรารู้จักใช้คุณค่าของมันสิ่งที่เล็ก ๆ นั้นอาจจะมีค่ามหาศาลก็เป็นได้ครับ ท้ายนี้สิ่งที่ผมกล่าวมาข้างต้นทั้งหมด คงจะเป็นสิ่งที่รับประกันความงามและชวนให้หลงใหลของเจ้าปลาซิวแคระได้เป็น อย่างดีหรือหากผู้อ่านท่านใดสนใจนำมาเลี้ยงในบ้านของท่านผมคิดว่าคงจะไม่ผิด หวังหรอกครับ!
เอกสารอ้างอิง
นิรนาม. Tyttocharax madeirae เจ้าตัวจิ๋วแห่งลุ่มน้ำมาเดียราห์.The Fish Max.หน้า 117-119.