การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามในอนาคต
วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยมีความผูกพันธ์อย่างลึกซึ้งและแน่นแฟ้นกับ แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง คลองบึง จนถึงทะเล และมหาสมุทร วัฒนธรรมเหล่านี้ได้สร้างแบบแผนให้แก่ชีวิตของคนไทยเรื่อยมาจนมีคำกล่าวที่ คุ้นเคยว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในอดีตเพียงแค่มีอุปกรณ์ที่จะใช้ในการจับปลา ออกไปจับปลาในแหล่งน้ำใกล้บ้านก็ได้ปลามาเป็นอาหาร เมื่อจับปลาได้มามากก็มักจะขังไว้ในคอกเพื่อใช้เป็นอาหารในวันต่อไปความ สัมพันธ์เหล่านี้ต่อๆมาได้เปลี่ยนแปลงไปมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการให้ชีวิต สัตว์เป็นทาน ดังนั้นในวันพระ หรือวันที่สำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด ก็มักที่จะนิยมปล่อยปลาเพื่อให้ชีวิตเป็นทาน ไม่เบียดเบียนชีวิตซึ่งกันและกันก่อให้เกิดชีวิตี่ยาวนานแก่ผู้นั้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลให้วิถีชีวิตของคนเรา เปลี่ยนแปลงไปอย่างยิ่งภาวะที่เครียดกับการปฏิบัติภาระกิจเพื่อปากท้อง
ของ คนในประเทศมีผลทำให้คนส่วนใหญ่ต้องการเพื่อน ปลาสวยงามจึงเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาแทรกช่องว่างตรงนี้ได้อย่างพอดี ในบรรดาสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมวหรือ นกจะเห็นว่าปลาเป็นเพื่อนที่ไม่ก่อความวุ่นวายให้แก่ผู้เลี้ยง ความใกล้ชิด ความผูกพันธ์จากการที่ได้มีโอกาสเลี้ยง เห็นการเจริญเติบโตของเขาทำให้เกิดความรัก ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จากประเด็นนี้นี่เองทำให้มีอัตราการขยายตัวของปลาสวยงาม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตรา 5-10% อย่างสม่ำเสมอเรื่อยมา
นอกจากนั้นเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจปลาสวยงามอย่าง มากมายในช่วงระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ ดังจะเห็นได้จากตลาดซื้อขายปลาสวยงามซึ่งมีประมาณ 5 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร และอีก 3 แห่งในจังหวัดราชบุรี ถ้ามองตามแผงหนังสือ จะพบว่า มีนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสวยงามอย่างมากมาย หรือถ้าจะค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตพบเช่นเดียวกันว่า มีอย่างมากมายเช่นกัน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้เป็นการยืนยันได้อย่างหนักแน่นว่า ทิศทางการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามในอนาคตมีการขยายตัวอย่างแน่นอน
แหล่งเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม
ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร การประกอบธุรกิจปลาสวยงามจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการลงทุนต่ำให้ผลตอบแทนระยะเวลาสั้น จากการสอบถามผู้ประกอบการส่งออกปลาสวยงาม พบว่า การทำธุรกิจปลาสวยงามในประเทศเริ่มมาประมาณ 50 ปี โดยจะเป็นการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ใช้แรงงานในครอบครัว ใช้สถานที่ไม่มาก ลงทุนน้อย ได้มีการพัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงแตกต่างกันออกมาหลายรูปแบบตามชนิด
ของ ปลา กลุ่มปลาปอมปาดัวร์ การลงทุนค่อนข้างสูงเนื่องจาก ปลาที่เลี้ยงในตู้กระจก ใช้น้ำสะอาด และสายพันธุ์ค่อนข้างมีราคาแพงมีการว่าจ้างแรงงานเสริมในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ปลาและให้อาหารปลา ธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์ส่วนใหญ่จะเพาะเลี้ยงในกรุงเทพฯและเขต ปริมณฑล
นอกจากนั้นมีกลุ่มเพาะเลี้ยงปลาไทยที่เน้นในเรื่องของปริมาณ ราคาต่ำ แหล่งเพาะเลี้ยงปลาส่วนใหญ่บริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำและเขตชลประทาน ได้แก่ อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปลาส่วนใหญ่ที่นิยมเลี้ยง กาแดง ทรงเครื่อง หางไหม้ กาเผือก น้ำผึ้ง เทวดา สำหรับแหล่งที่เพาะเลี้ยงปลากัดใหญ่ที่สุดในประเทศที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันมีการกระจายการเพาะเลี้ยงที่ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี และนครสวรรค์ เนื่องจากความต้องการสูงประมาณ 200,000 ตัวต่อสัปดาห์ นอกจากนั้นมีปลาที่เป็นปลากินและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่น สวาย แรด และชะโด พบว่ามีการเลี้ยงมากจังหวัด นครสวรรค์ สุพรรณบุรี อุทัยธานี และปทุมธานี
ชนิดปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง
ปลาสวยงามที่มีการส่งออกมีประมาณ 200 ชนิด ในขณะที่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 1,500 ชนิด มีการจัดกลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มปลากัด แบ่งตามลักษณะต่างๆ ดังนี้
– ครีบหาง เช่น หางสั้น หางยาว หางมงกุฎ สองหาง หรือ หางฮาฟมูน
– สี เช่น แดง เขียว ฟ้า ฯลฯ
– เพศ เช่น เพศเมีย เพศผู้
2. กลุ่มปลาไทย ได้แก่ ปลากาแดง, ปลาทรงเครื่อง, ปลาหางไหม้, ปลาสวาย, ปลาน้ำผึ้ง
3. กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว จำแนกตามลักษณะ สี ลวดลาย บนลำตัวและครีบหาง แบ่งตามชนิดปลา ได้แก่
– หางนกยูง แบ่งออกตามชนิดของสีที่ลำตัว เช่น แดง ฟ้า เขียว สีเงิน ดำ ลวดลายของสีบนครีบหาง เช่น โมเซด ทักซิโด คิงคอบร้า กราซ
– มอลลี่ รวมทั้ง เซลฟิน และ บอลลูน แบ่งตามลักษณะของสี เช่นเดียวกับ แพลทตี้ และ สอด
4. กลุ่มปลากระดี่ แบ่งตามชนิดปลา ได้แก่ แรด แรดเผือก กระดี่นาง กระดี่นางฟ้า สลิด หมอตาล กระดี่ไฟ กระดี่ปากหนา กระดี่มุก กระดี่แคระ พาราไดซ์
5. กลุ่มปลาทอง ได้แก่ ออรันดา สิงห์ญี่ปุ่น สิงห์ตามิด ลักเล่ห์ เกล็ดแก้ว ริ้วกิ้น ตาลูกโปร่ง โคเมท
6. กลุ่มปลาปอมปาดัวร์ แบ่งตามลวดลายและสีของลำตัว
– Brown discus ได้แก่ 5สีแดง, 5สีน้ำตาล, 5สีเหลือง
– Red turquoise ได้แก่ 7สีแดง, 7สีเขียว, 7สีบลู
– Green and blue ได้แก่ บลูเยอรมัน, บลูไดมอน
– Snake skin ได้แก่ ลายงู, ฝุ่นลายงู
– Solid pigeon blood ได้แก่ ฝุ่นทอง ฝุ่นมุก ฝุ่นแดง
– Spotted discus ได้แก่ ลายจุด
7. กลุ่มปลาเทวดา แบ่งตามลวดลายของลำตัว ได้แก่ ม้าลาย หินอ่อน มุก ดำ ครึ่งชาติ ทอง
8. กลุ่มปลาออสการ์ แบ่งตามสีที่ปรากฏที่ลำตัว ได้แก่ ดำ ทอง เผือก ลายเสือ มีทั้งหางสั้นและหางยาว
9. กลุ่มปลาบาร์บ ได้แก่ เสือสุมาตรา, ทีบาร์บ, โรซี่บาร์บ
10. กลุ่มปลาหมอสี ได้แก่ มาลาวี, ไตรทอง, ฟลาวเวอร์ฮอร์น
11. กลุ่มปลาอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มปลาสองน้ำ, กลุ่มปลาเตทตร้า
ในจำนวนนี้มีกลุ่มของปลาที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก ได้แก่ หมูอารีย์, ปลาติดหิน (ปลาค้างคาว), ปลาตะพัด, ปลาเสือตอ ซึ่งอยู่ในพ.ร.บ.คุ้มครอง และอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ในบัญชีไซเตรส ได้แก่ ปล
ในจำนวนนี้มีกลุ่มของ ปลาที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก ได้แก่ หมูอารีย์, ปลาติดหิน (ปลาค้างคาว), ปลาตะพัด, ปลาเสือตอ ซึ่งอยู่ในพ.ร.บ.คุ้มครอง และอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ในบัญชีไซเตรส ได้แก่ ปลาช่อนยักษ์, ปลายี่สกไทย, ปลาตะพัด และปลาบึก
กลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงาม
การทำธุรกิจเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาสวยงามนั้น เป็นธุรกิจที่ไม่ยุ่งยาก ขอเพียงว่ามีจิตใจเมตตา มีความอดทน เอาใจใส่ หมั่นสังเกต ในเรื่องของการลงทุนก็เป็นการลงทุนน้อย ให้ผลตอบแทนระยะสั้น และสม่ำเสมอ จะต้องมีความรู้ทางวิชาการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องบางเพื่อให้ประสบความ สำเร็จยิ่งขึ้น ถ้าจะเริ่มต้นเลี้ยงปลาสวยงาม นอกจากเตรียมความพร้อมในเรื่องของจิตใจแล้ว จากนั้นมาพิจารณาในแง่ของความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสวยงาม โดยพิจารณาประการแรกในส่วนที่เกี่ยวกับธรรมชาติของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงาม เพื่อเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงปลาสวยงาม แบ่งได้ดังนี้
+ กลุ่มผู้นิยมเลี้ยงปลาเริ่มต้น มีส่วนแบ่งตลาดสูง แต่มีราคาต่ำ
กลุ่ม นี้จะนิยมซื้อปลาที่มีราคาถูก ประมาณตัวละ 5-25 บาท ได้แก่ กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว เช่น หางนกยูง สอด แพลทตี้ มอลลี่ ออสการ์ ปล้องอ้อย เล็บมือนาง เสือสุมาตรา กระดี่ เทวดา คาร์พซัคเกอร์ ซิวข้างขวาน และปลาไทย เช่น กาแดง ทรงเครื่อง หางไหม้ สวาย
+ กลุ่มที่ต้องการปลาหลากหลายชนิด มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ ราคาต่ำ แต่ต้องการขายเพื่อให้มีความหลากหลายของสินค้า ได้แก่ ปลากราย, ปลาสลาด, ปลาเทโพ
+ กลุ่มผู้นิยมปลาที่มีความชำนาญพิเศษ มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ แต่มีราคาสูง
ผู้ เลี้ยงในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นผู้ที่มีความรัก และผูกพันธ์ ความชอบเฉพาะ และมักจะนิยมปลาที่มีสีทอง ส้ม มุก มีความเชื่อในเรื่องของการนำสิ่งดีๆในแก่ชีวิตและธุรกิจ ราคาปลาที่นิยมซื้อมาเลี้ยง ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป ได้แก่ กลุ่มปลาทอง ปลาตะพัด ปลาหมอสี ปลาปอมปาดัวร์
นอกจากนั้นเป็นผู้ที่มีความสนใจ และชอบปลาที่มีความแปลก หายาก ราคาของปลาส่วนใหญ่จะเป็นไปตามความชอบของผู้เลี้ยง เมื่อเลี้ยงปลาไประยะเวลาหนึ่ง จะพัฒนาจาการเลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรกเปลี่ยนแปลงไปสู่การเลี้ยงปลาเพื่อเป็น ธุรกิจ
ตลาดปลาสวยงาม
ตลาดขายส่งปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ตลาดนัดซันเดย์ จตุจักร ตลาดจะเริ่มมีการเคลื่อนไหวกันตั้งแต่ตอนเช้ามืดของวันอังคารและสิ้นสุดวัน พุธตอนเย็นทุกสัปดาห์ เกษตรกรจะนำปลามาจากฟาร์มโดยตรง หรืออาจจะมีผู้รวบรวมมาจากเกษตรกรนำปลามาขาย ปลาที่นำมาขายเป็นปลาที่มีอายุ 2-3 เดือนหรือขนาด 2 นิ้วขึ้นไป ผู้ขายปลีกปลาสวยงามจากทั่วประเทศมาซื้อปลาไปจำหน่ายอีกต่อหนึ่งรวมถึงบุคคล ทั่วไปที่นิยมเลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรก นอกจากนั้นมีชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลาง ประมาณการขายส่งปลาสวยงามประมาณ 150,000-200,000 ตัวต่อสัปดาห์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านบาทต่อปี
+ ตลาดในประเทศ
1. เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง
2. ผู้จับปลาจากธรรมชาติ
3. ผู้รวบรวมปลาจากธรรมชาติ
4. ผู้นำเข้าปลา
5. ผู้ค้าส่ง
6. ผู้ค้าปลีก
7. ผู้เลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรก
+ ตลาดส่งออก
1. ผู้รวบรวมปลาจากธรรมชาติ
2. ผู้รวบรวมปลาจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง
3. ผู้ส่งออก
ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องการส่งออกปลาสวยงาม
การส่งออกปลาสวยงามประสบความสำเร็จนั้น ผู้ส่งออกควรที่จะพิจารณาปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ได้แก่
– ความหลากหลายของสายพันธุ์ มีผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงามหลายรายที่ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงและมีแนว โน้มที่จะพัฒนาเพื่อนำสินค้าที่เพาะเลี้ยงได้เพื่อการส่ง
ออก จำเป็นที่จะต้องเข้าใจธุรกิจส่งออกปลาสวยงามนี้ว่า การส่งออกให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นที่จะต้องมีความหลากหลายของสายพันธุ์อยู่ในสต็อก เพื่อไม่ให้ลูกค้าผิดหวัง
– การจัดการด้านคุณภาพปลาสวยงาม ควรที่จะนำเทคโนโลยี่ในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ปลาสวยงามให้มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า ปัจจุบันนี้ ผู้ส่งออกบางรายใช้จุดขายเรื่องของคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญ โดยเอาแนวความคิดเรื่อง การจัดการด้านคุณภาพโดยควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่การคัด เลือกพ่อแม่พันธุ์ของปลาสวยงาม การเพาะเลี้ยง การควบคุมคุณภาพอาหารและน้ำที่ใช้ในการเลี้ยง การตรวจสอบคุณภาพปลาสวยงาม ตลอดจนถึงการบรรจุภัณฑ์ และการขนส่งสินค้าจนถึงลูกค้า โดยบริษัทจะดำเนินการขอใบรับรองกระบวนการผลิตและใบรับรองคุณภาพสินค้าจาก องก์กรตรวจสอบคุณภาพต่างๆ เช่น International Standard Organization (ISO)
– ควรตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ตรงเวลาที่กำหนด และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าระยะยาว ความต้องการของลูกค้าต่างประเทศแตกต่างกันตามความชอบของแต่ละประเทศ
– การบริหารเงินสดหมุนเวียนที่ดี เนื่องจากการซื้อขายระบบเงินสด แผนกการเงินจะนำเอกสารใบสั่งซื้อมาจัดทำเอกสารวางบิลเพื่อเรียกเก็บเงินตาม เงื่อนไขที่กำหนด และบันทึกบัญชีขาย โดยให้ลูกค้าโอนเงินมาเข้าบัญชีของบริษัทเพื่อชำระค่าสินค้าและออกใบเสร็จ รับเงินให้กับลูกค้าและบันทึกบัญชีรับเงิน
การเตรียมความพร้อมเพื่อการส่งออก
– จัดเตรียมสินค้า และแหล่งที่รับซื้อสินค้าปลาสวยงามให้พร้อม ควรเป็นไปตามหลักวิชาการ ในแง่คุณภาพ ควรจะผ่านการกักกันโรคก่อนส่งออก ชื่อของปลาแต่ละชนิดควรที่จะให้ถูกต้องทั้งชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อทางการค้า
– ศึกษากฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการส่งออก ตามรายละเอียดแนบท้าย
– ประชาสัมพันธ์ โดยลงโฆษณาในนิตยสารเกี่ยวกับปลาสวยงามในประเทศ ได้แก่ PET-MAG, FISH ZONE, เป็นต้น นิตยสารระหว่างประเทศ Pet International Magazine หรือ โฆษณาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและควรจะโต้ตอบข้อซักถามอย่างสม่ำเสมอด้วย
– ออกแสดงสินค้าเพื่อสร้าง Brand Awareness และความพร้อมของผู้ส่งออก นอกจากนั้น การส่งปลาเข้าประกวดในงานประกวดปลาในประเทศและนานาชาติเป็นการหาลูกค้าอีก ทางหนึ่ง
– ควรจะมีการกระตุ้นการขายสินค้าโดยการจัดโปรโมชั่นเกี่ยวกับการส่วนลดของสินค้า เพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้าให้ทดลองสินค้า
– การซื้อขายปลาสวยงามนี้เป็นการซื้อขายแบบระบบเงินสดการสั่งซื้อไม่มีการเปิด L/C (Letter of Credit) ดังนั้น ควรจะมีการโอนเงินมาก่อนอย่างน้อย 50 % ในกรณีที่ต้องการเปิดเครดิตเพื่อสามารถแข่งขันกับผู้ส่งออกรายเก่า ควรจะเลือกเฉพาะลูกค้าที่ไว้ใจได้เท่านั้น
ตลาดต่างประเทศที่นำเข้าสินค้าปลาสวยงาม
+ สหรัฐอเมริกา
เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีมูลค่าการนำเข้าจากประเทศ ไทยมากที่สุด โดยมีมูลค่าประมาณ 40.8 ล้านเหรียญสหรัฐโดยปลาสวยงามที่
อเมริกา นิยมนำเข้าส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก คุณภาพไม่สูงมากนัก ราคาต่ำ ปริมาณมาก เช่น ปลากัด ปลาคาร์พ ขนาดเล็ก 3-4 นิ้ว ปลาหางนกยูง ปลาทอง ปลากัด ปลาแพลทตี้ ปลาหมู ปลาออสการ์ ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ เป็นต้น การสั่งซื้อจะเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล โดยฤดูหนาวจะมียอดนำเข้ามากในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม เพราะเป็นช่วงที่คนมักจะอยู่กับบ้านจึงนิยมเลี้ยงปลาไว้ดูเล่น
+ กลุ่มประเทศยุโรป
เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการนำเข้าปลาสวยงามทั้งสิ้นปีละ 82 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีประเทศที่นำเข้าปลาสวยงามห้าอันดับแรก คือ เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ปลาสวยงามที่นำเข้าในกลุ่มประเทศยุโรปจะค่อนข้างใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา คือ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ราคาต่ำ และในช่วงการสั่งปลาจะเป็นฤดูกาลเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา
+ ญี่ปุ่น
เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามเป็นอันดับสามของโลก โดยมีมูลค่ากานำเข้าประมาณ 39 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลาสวยงามที่นำเข้านั้นส่วนใหญ่จะเป็นปลาสวยงามที่มีคุณภาพสูงราคาสูง เช่น หางนกยูงที่สวยและมีคุณภาพสูงโดยจะซื้อปลาที่โตเต็มที่แล้วเนื่องจากไม่ต้อง เสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาเพื่อให้มีขนาดโตพอที่จะสามารถโชว์ได้ นอกจากนั้น นิยมปลาแปลก ปลาที่หายาก รวมถึงพรรณไม้น้ำ มีการนำเข้าค่อนข้างมาก
การแข่งขันทางการค้า
ในการดำเนินธุรกิจการส่งออกปลาสวยงามจะมีคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญๆ คือ ผู้ส่งออกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพราะมีปลาสวยงามที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาสวยงามของไทย และสิงคโปร์ยังนำเข้าปลาในประเทศใกล้เคียงแล้วส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่ว โลกโดยมีราคาต่ำกว่าคู่แข่ง ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เหมือนๆกัน นอกจากนี้สิงคโปร์ยังส่งเสริมธุรกิจปลาสวยงามโดยให้มีการรวมกลุ่มของผู้ เลี้ยงปลาสวยงามและผู้ส่งออกเพื่อปรับปรุงคุณภาพปลาสวยงามให้ดียิ่งขึ้น มีการตรวจ
คุณภาพก่อนการบรรจุหีบห่อและทำการขนส่ง จึงทำให้ปลาสวยงามของประเทศสิงคโปร์เป็นที่ยอมรับของลูกค้าต่างประเทศ ส่วน อินโดนีเซียและมาเลเซียนิยมส่งออกปลาสวยงามที่มีราคาแพง แต่ในปัจจุบันได้มีการเพาะปลาขนาดเล็กจำนวนมากเพื่อป้อนเข้าสู่สิงคโปร์ ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ปลาสวยงามส่วนใหญ่ได้แก่ปลาทะเลที่ได้จากการจับจาก ธรรมชาติ ปัจจุบันก็มีคู่แข่งที่มีแนวโน้มที่จะมาแย่งตลาดปลาสวยงามมากขึ้น เช่น ศรีลังกา ฮาวาย และจาไมก้า เป็นต้น แต่เนื่องจากมีความต้องการปลาสวยงามอย่างต่อเนื่องจึงยังไม่มีปัญหาเรื่อง การตลาด ดังนั้นการที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ ประกอบธุรกิจเป็นหลักการแข่งขันในตลาดปลาสวยงามนั้นสามารถแบ่งได้เป็นการ แข่งขันทางตรงและการแข่งขันทางอ้อมโดยมีรายละเอียดดังนี้
การแข่งขันทางตรง
จะเป็นการแข่งขันภายในตลาดของปลาสวยงามที่มีลักษณะและชนิดของปลาสวยงามใกล้ เคียงหรือเป็นชนิดเดียวกัน คู่แข่งส่วนใหญ่จะอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดปลาสวย งามมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศทางอเมริกาใต้ ศรีลังกา สาธารณรัฐเชก ซึ่งได้เปรียบคือ มีรัฐบาลที่สนับสนุนธุรกิจการเลี้ยงปลาสวยงามอย่างจริงจัง จึงทำให้ประเทศเหล่านี้เป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย
ประเทศคู่แข่งการส่งออกปลาสวยงาม
+ สิงคโปร์
เป็นประเทศผู้ส่งออกปลาสวยงามที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในโลกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดโลก โดยในปี 2000 สิงคโปร์สามารถส่งออกปลาสวยงามได้สูงถึง 43.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นผู้รับซื้อปลาสวยงามจากประเทศในแถบเอซียตะวันออกเฉียง ใต้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาที่ถูกส่งมาจากมาเลเซียแล้วนำมาส่งต่อไปยัง ประเทศต่างๆ เพราะสิงคโปร์ขาดศักยภาพในการเลี้ยงปลาสวยงามเองเนื่องจากขาดพื้นที่และน้ำ จืดที่ใช้ในการเลี้ยง นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเพาะเลี้ยงปลาสวยงามที่มีราคาแพงเองเพื่อให้ได้คุณภาพ ที่ดีตามต้องการซึ่งปลาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดี คือ ปลาอโรวาน่า ดังนั้นจึงทำให้สิงคโปร์มีต้นทุนการเลี้ยงปลาสวยงามต่ำและมีความหลากหลายของ ชนิดปลาสวยงามสูง ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งปลาสวยงามไปยังประเทศคู่ค้าต่ำกว่าประเทศไทย มาก
+ มาเลเซีย
ส่งออกปลาสวยงามคิดเป็นมูลค่าประมาณ 28 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์เป็นหลัก มาเลเซียเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตปลาสวยงามได้สูงเนื่องจากมี ทรัพยากรธรรมชาติมาก ทั้งทางด้านดิน น้ำ และแรงงาน ปลาสวยงามที่ผลิตได้มีประมาณ 550 ชนิด จากทั้งหมดทั่วโลกประมาณ 1,500 ชนิด ปลาที่สร้างชื่อเสียงให้มาเลเซียมากที่สุด คือ ปลาอโรวาน่า เนื่องจากมาเลเซียเป็นต้นกำเนิดของปลาชนิดนี้ และสามารถทำการขยายพันธุ์และส่งออกมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีปลาปอมปาดัวร์ที่มาเลเซียสามารถส่งออกได้มากด้วย มาเลเซียจัดเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย เนื่องจากมีศักยภาพดีกว่าและรัฐบาลยังให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลา สวยงามเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง นอกจากนี้ผู้ส่งออกของมาเลเซียยังมีพื้นฐานทางด้านภาษาดีกว่าผู้ส่งออกของ ไทยด้วย
+ อินโดนีเซีย
เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในการเพาะขยายพันธุ์ปลาที่ดี แต่มีระบบการจัดการไม่ดีเท่ามาเลเซีย และรัฐบาลยังให้การสนับสนุนไม่เต็มที่ เนื่องจากมักจะมีปัญหาเรื่องการเมืองตลอดเวลา ปลาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางได้แก่ปลาอโรวาน่า เพราะสามารถจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้มากเนื่องจากยังมีความอุดมสมบรูณ์ของ รัพยากรธรรมชาติสูง
+ ฮ่องกง
การทำธุรกิจส่งออกของฮ่องกงจะคล้ายกับสิงคโปร์ คือรับปลาสวยงามจากประเทศอื่นแล้วนำมาส่งต่อไปยังประเทศลูกค้า ไม่ทำการเพาะพันธุ์เอง เนื่องจากขาดศักยภาพทางด้านต่างๆ แต่เนื่องจากฮ่องกงมีความได้เปรียบทางด้านความสามารถในการขายสูงจึงเป็นคู่ แข่งที่น่ากลัวอีกประเทศหนึ่งของไทย
การทำธุรกิจส่งออกปลาสวยงามนั้น ปัจจุบันยังมีแนวโน้มที่เติบโตตลอด โดยมีหลักการที่สำคัญจำเป็นที่จะต้องเตรียมปลาให้มีคุณภาพ มีความสม่ำเสมอของสินค้า สร้างความหลากหลายของสินค้า ดังที่ได้รับทราบจากผู้ส่งออกที่กล่าวกันว่า การที่จะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพปลาสวยงามนี้เพียงแค่ให้มีลูกค้า ประจำเพียง 5 ราย ก็เพียงพอแล้ว หรือถ้าเกษตรกรรายใดสามารถที่จะมีผู้รวบรวมซื้อปลามาซื้อปลาจากฟาร์มเป็น ประจำ ก็สามารถที่จะประกอบอาชีพนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ
——————————————————————————–
หลักการบรรจุหีบห่อสำหรับสินค้า
ประเภทที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ
กรณีบรรจุโดย กล่องโฟม (Polystyrene หรือ Styrofoam) มาตรฐานของกลุ่มโฟมและถุงพลาสติก (Polyethylene)
กล่องโฟมสำหรับบรรจุสินค้า มีขนาดและความหนาดังนี้
– ขนาด 60x45x30 ซ.ม.
– น้ำหนักสินค้าต่ำกว่า 10 กก. ผนังกล่องโฟมหนาไม่น้อยกว่า 20มม.
– น้ำหนักสินค้า 10-20 กก. ผนังกล่องโฟมหนาไม่น้อยกว่า 26 มม.
– การขยายตัวของเม็ดพลาสติก Polystyrene ในการผลิตกล่องโฟมไม่เกินสัดส่วน 40% ต่อ 1 หรือน้ำหนักเม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตอยู่ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 30 กรัมต่อโฟม 1000 ลบ.ซม.
สำหรับสินค้าที่บรรจุกล่องละ 1 ถุง ให้ใช้ถุงพลาสติกที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 0.1 มล. ซ้อนกันจำนวน 4 ชั้น
ขั้นตอนในการบรรจุ
1. ถุงพลาสติก (Polyethylene) ชั้นในสุด ไม่ควรบรรจุน้ำเกิน 1 ใน 3 ของถุง
2. นำปลาที่คัดขนาดและนับจำนวนเรียบร้อยแล้วใส่ถุงออกซิเจนในถุงให้มีปริมาตร ไม่เกิน 60-70% ให้ถุงนั้นมีความนุ่มพอสมควร ไม่แข็ง ตึง (เนื่องจากความกดอากาศ
ในขณะบินจะทำให้ถุงแตก หากมีออกซิเจนมากเกินไป) มัดปากถุงให้แน่นและเช็ดภายนอกถุงให้แห้งสนิท
3. นำถุงในข้อ 2 ใส่ในถุง 2 ใบซ้อนกันเป็น 3 ชั้น มัดปากถุง แยกแต่ละถุงนำไปใส่ในกล่องโฟมที่เตรียมไว้ปิดฝากล่องโฟมและผนึกด้วยเทป
4. หุ้มกล่องโฟมนี้ด้วยพลาสติก (Polethylene) ขนาดใหญ่อีกชั้นหนึ่งแล้วใช้เทปผนึกถุงพลาสติกส่วนที่เกินออกมาให้สนิทกับตัวกล่อง
หมายเหตุ
– ภายนอกกล่องโฟมจะต้องติดป้าย “ตั้งตามลูกศร” และป้าย “สัตว์มีวิต/AVI” “อุณหภูมิ 75 องศา F” ให้สามารถมองเห็นได้ชัด
– กรณีใชถุงน้ำแข็งเพื่อรักษาอุณหภูมิให้ใช้น้ำแข็งที่ไม่มีความแหลมคมที่จะทำ ให้ถุงพลาสติกฉีกขาดได้และให้บรรจุถุงน้ำแข็งระหว่างถุงพลาสติก ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 เท่านั้น
ขอขอบคุณ
กองอนุรักษ์ทรัพยากรประมง โทรศัพท์ 0-2558-0187
สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ โทรศัพท์ 0-2579-4122,0-2579-6803
บริษัทณัฐสุ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โทรศัพท์ 0-281-1941-3
——————————————————————————–
วิธีการส่งออก
ผู้ส่งออกรับซื้อปลาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง ผู้รวบรวม หรือพ่อค้าคนกลาง นำมาปรับให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ คัดขนาดและดูปลาให้สมบูรณ์ปราศจากโรคพร้อมที่จะส่งออก งดให้อาหารปลาก่อนส่งออกประมาณ 2 วัน และเตรียมการภาชนะที่บรรจุประกอบด้วยถุงพลาสติก กล่องโฟมและกล่องกระดาษ
ติดต่อบริษัทตัวแทนส่งออก เพื่อให้ดำเนินการสำรองระวางบรรทุกกับสายการบินและเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการ ส่งออก หลังจากสายการบิน ยืนยันเรื่องระวางรรทุกแล้ว ผู้ส่งออกจัดเตรียมบรรจุปลาสวยงามลงในกล่องโฟม โดยคัดขนาดปลาใส่ถุงตามความหนาแน่นที่เหมาะสมเตรียมไว้เพื่อส่งออก ก่อนทำการส่งออก 1 วันนำปลาที่เตรียมไว้มาเปลี่ยนน้ำและเปลี่ยนถุงใส่ใหม่ให้ได้ขนาดพอดีที่จะ บรรจุในกล่องโฟม (ประมาณ 2-4 ถุง/กล่อง) เมื่อบรรจุปลาลงในกล่องโฟมเรียบร้อยแล้ว ปิดฝา นำกล่องโฟมบรรจุลงในกล่องกระดาษอีกชั้นหนึ่ง (ดูขั้นตอนในการบรรจุ)
ขนถ่ายกล่องกระดาษที่บรรจุเสร็จแล้วขึ้นรถ เพื่อส่งไปยังสนามบินและรถที่รับขนส่งควรเป็นรถตู้ทึบปรับอากาศ เพื่อควบคุมอุณหภูมิระหว่างการขนส่งและเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิด ขึ้นในกรณีที่เกิดฝนตกหรืออากาศร้อนเกินไป เมื่อสินค้าถึงสนามบินเรียบร้อยแล้ว ผู้ส่งออกติดต่อบริษัทตัวแทนผู้ส่งออก เพื่อให้จัดการติดต่อกับทางคลังสินค้าและสายการบินให้ทำการชั่งสินค้า และดำเนินการเกี่ยวกับการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรกับกรมศุลกากร หลังจาก
ดำเนินพิธีการส่งออกเรียบร้อยแล้ว บริษัทตัวแทนผู้ส่งออกจะติดต่อกับทางสายการบินเพื่อให้ดำเนินการบรรทุกของไปยังประเทศผู้ซื้อปลายทาง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ
โทรศัพท์ 0-2516-1165, 0-2516-9124-5