ปลาสวยงามทั้งหลายจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ

ชนิดออกลูกเป็นตัว ได้แก่
1) ปลาหางนกยูง (Guppy)
ที่มา : ไทยวัฒนาพานิช. ปลาสวยงามเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2543. (อัดสำเนา)

ลาหางนกยูงเป็นปลาออกลูกเป็นตัวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 80 ปี
มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Guppy และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata
Peters,1859 มีแหล่งกำเนิดและแหล่งอาศัยในลำธารน้ำจืดและน้ำกร่อยในประเทศ
บราซิล กัวน่า เวเนซูเอล่า หมู่เกาะบาบาโดสและทรินิแดด ปลาหางนกยูงชอบอาศัย
อยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิ 20-26.5 องศาเซลเชียส มีความกระด้างปานกลาง ความเป็น
กรดเป็นด่าง 6.0 – 7.0
เคยมีนักเลี้ยงปลาสวยงามได้ทดลองเลี้ยงปลาหางนกยูงคู่หนึ่งด้วยการเลี้ยง
อย่างดีและถูกวิธีตามธรรมชาติอย่างที่สุด ปรากฏว่าในระยะเวลาสองปีปลาหางนกยูง
ที่เลี้ยงไว้แต่เดิมคู่เดียวนั้นออกลูกออกหลานแพร่พันธุ์ได้ถึงสามล้านตัว ทั้งนี้เพราะปลา
หางนกยูงมีอัตราการแพร่พันธุ์สูงมาก แต่แม่ปลาและพ่อปลามักจะกินลูกอ่อนหรือ
มิเช่นนั้นปลาตัวเล็กก็มักจะตกเป็นเหยื่อของปลาตัวใหญ่กว่า นอกจากนี้ยังพบว่า
สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิ อาหาร ก็มีผลต่อการตายเช่นกัน

ปลาหางนกยูงตัวผู้จะมีครีบหางยาว สีสดสวยกว่าตัวเมียแต่ตัวจะเล็กกว่า
ตัวหนึ่ง ๆ จะมีสีไม่ซ้ำกัน เมื่อว่ายอยู่ในน้ำหางจะโบกไปมาเหมือนแพรสีสด จึงนิยม
เลี้ยงปลาชนิดนี้รวมกันไว้เป็นฝูงและบางคนก็เรียกปลาชนิดนี้ว่า ปลาสายรุ้ง
ปลาหางนกยูงตัวผู้เมื่อพบตัวเมียจะว่ายไล่พร้อมกับกางครีบออกโบกสะบัด
ไปมา เพื่อให้ตัวเมียเห็นสีที่สวยงามของมัน ปลาหางนกยูงตัวเมียสีคล้ายคลึงกัน คือสี
ไม่สดเท่าตัวผู้ ตามปกติตัวเมียจะมีสีจาง ๆ เป็นสีเงินแกมเขียว ลำตัวจะหนาและยาว
กว่าตัวผู้ ตัวเมียที่โตเต็มที่จะยาวประมาณหนึ่งนิ้ว
โดยเฉลี่ยแล้วปลาหางนกยูงตัวหนึ่ง ๆ จะออกลูก 10 – 15 ครอก แต่ตัวที่ทำ
สถิติยอดเยี่ยมเท่าที่เคยจดบันทึกกันไว้ ชั่วชีวิตของมันสามารถออกลูกได้ถึง 126 ครอก
ลูกปลาหางนกยูงพอมีอายุได้ 8 เดือน ก็จะโตเต็มที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้ การสังเกต
ว่าปลาท้องแก่หรือไม่ให้ดูที่ท้องของปลาตัวเมีย ถ้ามีปานดำปรากฏขึ้นที่ท้องและปานนี้
นับวันยิ่งดำขึ้นทุกทีก็แสดงว่าปลาท้องแก่ นอกจากนี้เมื่อปลาท้องแก่แม่ปลาจะว่ายน้ำ
ช้ากว่าปกติด้วย ถ้าอยู่รวมกันเป็นฝูงจะถูกปลาตัวอื่นรุมทำร้ายเพื่อกินลูกในท้อง

จึงจำเป็นต้องแยกแม่ปลาที่ท้องแก่ออกจากฝูง และเมื่อแม่ปลาออกลูกหมดท้องแล้วก็
ต้องรีบแยกตัวแม่ออกจากลูก เพื่อป้องกันมิให้แม่ปลากินลูก
แม่ปลาที่เพิ่งออกลูกเสร็จใหม่ ๆ ยังไม่ควรปล่อยลงรวมอยู่ในฝูงกับปลาตัวอื่น
ควรเก็บแม่ปลาไว้ในที่เฉพาะตามลำพังทั้งนี้เพื่อให้แม่ปลาได้มีการพักฟื้นนั่นเอง
เมื่อเห็นว่าแข็งแรงดีแล้วจึงค่อยปล่อยกลับลงฝูงตามเดิม แม่ปลาที่ออกลูกเสร็จใหม่ ๆ
ถ้าปล่อยลงฝูงเดิม ก็จะถูกปลาตัวผู้ไล่ แม่ปลาที่อ่อนเพลียมาจากการออกลูกแล้ว
เมื่อมาโดนรบกวนเข้าอีกก็จะเหนื่อยและตายได้
ปลาหางนกยูงเมื่อออกจากท้องแม่ก็หาอาหารกินเองได้ แต่อาหารของ
ลูกปลาจะเป็นอาหารที่ละเอียดกว่าปลาตัวใหญ่ อาหารที่เหมาะกับลูกปลาก็คือ ไรน้ำ
ปลาหางนกยูงจะเจริญเติบโตได้ดีในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 18-33 องศาเซลเซียส
แต่ถ้าเลี้ยงในน้ำ ที่มีอุณ หภูมิ 24 องศาเซลเซียส ปลาหางนกยูงจะให้ลูก
อย่างสม่ำเสมอ

ปลาหางนกยูงมีหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์จะมีข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดคือ
รูปทรงของหาง บางชนิดมีหางสามแฉก บางชนิดหางจะกลมเป็นรูปพัดหรือรูปสี่เหลี่ยม
ในปัจจุบันพบว่าปลาหางนกยูงมีความหลากหลายของสายพันธุ์มาก โดยทั่วไปชื่อของ
สายพันธุ์จะถูกตั้งชื่อมาจากลักษณะสีและลวดลายของลำตัว ตลอดจนรูปร่างของ
ครีบหางเป็นส่วนมาก ซึ่งมีผู้เพาะเลี้ยงในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้มีการพัฒนา
สายพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย จำแนกได้ดังนี้
(1) สายพันธุ์พื้นเมือง(Wild type) เป็นสายพันธุ์ของปลาหางนกยูง
ที่พบทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลาหางนกยูงในกลุ่มนี้ จะมีขนาดเล็กกว่า
ปลาหางนกยูงในกลุ่ม Fancy type
(2) สายพันธุ์แฟนซี (Fancy type) เป็นสายพันธุ์ที่ได้มีการพัฒนา
มาจากพันธุ์พื้นเมือง
ปลาหางนกยูงที่ดีจะต้องมีลำตัวและครีบได้สัดส่วนกัน หรือมีรูปร่างที่ได้
มาตรฐาน คือมีขนาดลำตัวจากปากจรดปลายสุดของครีบหาง ควรมีความยาว
ประมาณ 6 เซนติเมตร ลำตัวสวยงามไม่คดงอ ความยาวจากปากถึงฐานของครีบหลัง

(Dorsal fin) ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนหลังไม่หนามากเกินไปและเรียบได้สัดส่วน
ส่วนหัวและลำ ตัวจากปากถึงคอดหาง (Caudal peduncle) ยาวประมาณ 3.5
เซนติเมตร หัวไม่ใหญ่และหนาจนทำให้ปลาว่ายน้ำเสียการทรงตัว ส่วนท้องต้องสมดุล
กับครีบหลังและครีบหาง ครีบหลังควรมีความยาวประมาณ 2.0 เซนติเมตร ส่วนใหญ่
ปลายครีบหลังจะยาวถึงโคนครีบหางหรือยาวเลยไปเล็กน้อย ครีบหางจะมีความยาว
จากฐานถึงปลายครีบหางประมาณ 2.5 เซนติเมตร