- 1.ปลาทองเป็นปลาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน
- 2. ปลาทองถูกนำไปเลี้ยงยังต่างประเทศ ประเทศแรกที่นำไปเลี้ยงคือญี่ปุ่น
- 3. การฟักตัวของไข่ปลาทองจะขึ้รอยู่กับอุณหภูมิของน้ำและสภาพของไข่ ในอุณหภูมิ 15-19 ํc
- 4. ญี่ปุ่นคือประเทศแรกที่พัฒนาปรับปรุงพันธ์ปลาทองให้มีความสวยงาม แม้จะเลี้ยงหลังประเทศจีนก็ตาม
- 5. ปลาทองสามารถอดอาหารได้นานนับเดือน จากสถิติพบว่าบางตัวอดอาหารได้เกือบ 9 เดือนเต็ม
- 6. ช่วงอุณหภูมิที่ปลาทองสามารถปรับอยู่ไดจะอยู่ระหว่าง 0-35 ํc และช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุดคือ 20-25 ํc
- 7. ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาของการฟักไข่ปลาทองกับอุณหภูมิของน้ำ
- 8. ในการเลือกซื้อปลาทอง ควรเลือกปลาตัวที่ไม่เก็บครีบแนบกับลำตัวเพราะถือเป็นปลาที่มีลักษณะด้อย
- 9. สังเกตที่สีสันของปลา เลือกปลาที่มีสีสันสดที่สุด หลีกเลี่ยงปลาตัวที่มีหม่นหมองหรือสีจาง ๆ
- 10. สังเกตดูลักษณะการว่ายน้ำไปในสายน้ำ เลือกปลาตัวที่ว่ายน้ำไปได้อย่างปราดเปรียวและคล่องแคล่วที่สุด
- 11. สังเกตดูในขณะที่ปลาว่ายอยู่ในตู้ ครีบบนหลังตั้งชู แม้ว่าจะพลิ้วไปในสายน้ำ แต่ไม่ควรจะมีลักษณะงองุ้มหรือหักเข้าข้างลำตัว ปลาที่มีครีบตั้งขึ้นแสลงว่าเป็นปลาที่คุณภาพดีมาก
- 12. อย่าเลือกซื้อปลาตัวที่เคลื่อนไหวอยู่กับกรวดทรายก้นตู้ปลา หรือไม่ว่ายน้ำแต่นิ่งซึมอยู๋มุมใดมุมหนึ่งก้นตู้ เพราะนั่นเป็นสัญญานแสดงให้เห็นว่าปลาสุขภาพไม่ดีหรืออาจตายได้ง่าย
- 13. พยายามหาจุดสีขาวบนตัวปลา โดยอาจจะเป็นจุดเล็ก ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นจุดธรรมชาติของปลา หากปลาทองมีจุดฝ้าสีขาวอยู่บนลำตัวนั่นคือปลาที่เจ็บป่วย
- 14. น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาทองหากเป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลต้องมีการพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้สารพิาต่างๆ ที่ปนอยู่ได้คลายตัวไปบ้าง เช่น คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์
- 15. ปลาทองที่วางไข่ครั้งแรกแล้วจะสามารถวางไข่ติดต่อกันไปอีกเป็นเวลาประมาณ 6-7 ปี
- 16. ปลาทองเป็นปลาที่วางไข่ตลอดทั้งปีแต่จะชุกมากในเดือนเมษายน-ตุลาคม หรือช่วงที่อากาศไม่เย็นจนเกินไป
- 17. การเร่งหรือยืดเวลาในการฟักไข่ของปลาทองโดยการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำไม่มีผลให้ลูกปลามีสภาพดีขึ้นแต่กลับเกิดผลเสียมากกว่า
- 18. การย้ายแม่ปลาทองที่ออกไข่จะต้องย้ายทันทีเมื่อปลาทองวางไข่เพราะมันจะเริ่มกินไข่ของตัวเองทันทีในวันต่อมา
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
– ป.ปลาทอง